Page 65 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 65
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-55
จากทก่ี ลา่ วขา้ งตนั หลกั สตู รองิ มาตรฐานตอ้ งมลี กั ษณะบรู ณาการ และมลี กั ษณะเปน็ หนว่ ยการเรยี นรู้
ที่เป็นแนวคิดหรือหัวข้อเรื่อง (Thematic units) ท่ีมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความสนใจและความ
ต้องการของผู้เรียน ตลอดจนสัมพันธ์กับสภาพและปัญหาของสังคมปัจจุบัน
การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องน�ำพาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานที่ระบุในหน่วย
การเรียนรู้นั้น ๆ ว่าผู้เรียนรู้จริงท�ำได้จริงและอยู่ในระดับใดสิ่งที่ผู้สอนจ�ำเป็นต้องท�ำความเข้าใจและให้ความ
ส�ำคัญเมื่อเข้าสู่ข้ันตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ นอกเหนือจาก
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดแล้วน้ัน จ�ำเป็นต้องผนวก ความสามารถและทักษะส�ำคัญท่ีผู้เรียน
ทุกคนพึงมี เพื่อเป็นพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้าน
วิทยาการ สังคม และส่ิงแวดล้อมอีกท้ังมีการส่ือสารสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างกว้างขวาง
ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2551) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
ต้องน�ำพาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานท่ีระบุในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ การวัดและประเมินผลช้ินงาน/ภาระงาน
ที่ก�ำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ควรเป็นการประเมินการปฏิบัติหรือการแสดงความสามารถของผู้เรียน ช้ินงาน
หรอื ภาระงานทกี่ �ำหนดใหผ้ เู้ รยี นปฏบิ ตั ิ ควรเชอื่ มโยงมาตรฐาน 2-3 มาตรฐาน มคี วามยดื หยนุ่ ในกระบวนการ
และข้ันตอนการจดั ท�ำหน่วยการเรยี นรู้อาจเร่มิ ต้นจากการวเิ คราะหม์ าตรฐานการเรยี นรูห้ รอื อาจเริ่มจากความ
สนใจของผู้เรียนหรือสภาพปัญหาของชุมชนก็ได้
ดังน้ันในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนควรมีความรู้ ความเข้าใจในเร่ืองดังต่อไปน้ี
1. ผสู้ อนควรทำ� ความเขา้ ใจกบั หลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พ.ศ. 2551 จดุ เนน้ คณุ ภาพ
ผู้เรียน สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของเขตพื้นท่ีการศึกษา (ถ้ามี) หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้
ท่ีรับผิดชอบ และองค์ประกอบที่ส�ำคัญของหน่วยการเรียนรู้
2. ควรรู้ว่าในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ท่ีจัดการเรียนรู้นั้นประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้/
ตัวชี้วัดจ�ำนวนเท่าไร สาระการเรียนรู้ท่ีได้จากค�ำอธิบายรายวิชา สมรรถนะส�ำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอัน
พึงประสงค์ตามหลักสูตร และธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ควรรู้วิธีออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดท�ำได้หลายลักษณะแต่ต้องยึดมาตรฐานการ
เรียนรู้/ตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายส�ำคัญในการพัฒนาผู้เรียน
จากเอกสารของมหาวทิ ยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ (2553) กลา่ ววา่ การเรยี นรู้
จากการปฏิบัติ ของดิวอ้ี (Dewey, 1922) การเรียนรู้เก่ียวกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
(Theory of cognitive development) ของเปียเจต์ (Piaget, 1958) ทฤษฎีเก่ียวกับการเรียนรู้ด้วยการ
ค้นพบ (Discovery learning) ของบรูนเนอร์ (Bruner, 1961) ทฤษฎีเก่ียวกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ของออซูเบล (Ausubel, 1969) และหลักการเรียนรู้ของกาจ์เย (Gagne, 1970) จะช่วยท�ำให้ผู้สอนสามารถ
จัดกระบวนการเรียนรู้และสภาพการณ์ต่าง ๆ ส�ำหรับผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
อันเป็นพฤติกรรมท่ีต้องการให้เกิดในตัวผู้เรียนได้อย่างถาวร