Page 61 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 61
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-51
4. กระบวนการออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้ภาษาองั กฤษทอ่ี ิงมาตรฐานการเรียนรู้
กระบวนการจัดท�ำหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐานมีความยืดหยุ่น ไม่จ�ำเป็นต้องท�ำตามข้ันตอน
ข้ึนอยู่กับสถานการณ์และบริบทของสถานศึกษาและห้องเรียน เริ่มจากจุดใดก่อน-หลังได้ตามความ
เหมาะสม
รุ่งนภา นุตราวงศ์ (2552) อธิบายว่าการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อาจท�ำได้ 4 วิธี คือ
1. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนที่มีอยู่แล้ว
2. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้จากความสนใจ ค�ำถามหรือข้อสงสัยของผู้เรียน
3. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้จากมาตรฐานการเรียนรู้หรือกรอบหลักสูตรของเขตพ้ืนที่การศึกษา
4. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้จากประเด็นค�ำถาม เหตุการณ์ส�ำคัญ
รุ่งนภา นุตราวงศ์ (2552) กล่าวอีกว่า การออกแบบแต่ละวิธีดังกล่าวมีท้ังข้อดีและข้อจ�ำกัด คือการ
เริ่มจากหนว่ ยการเรียนรู้ที่มอี ย่แู ล้วในหนังสือเรยี นหรือสือ่ ตา่ ง ๆ มีข้อดีคือชว่ ยอำ� นวยความสะดวกแก่ผูส้ อน
เพราะผู้สอนสามารถออกแบบหลักสูตรและการประเมินผลจากส่ือท่ีตนมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ข้อจ�ำกัดคือ
ค่อนข้างยุ่งยากท่ีจะก�ำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือวิธีประเมินผล การออกแบบจากประเด็นค�ำถามมี
ข้อดีคือดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ข้อจ�ำกัดคือไม่สอดคล้องกับสาระของหลักสูตรท้องถ่ินหรือหลักสูตร
สถานศึกษา และผู้เรียนมีความรู้ไม่เพียงพอท่ีจะตั้งประเด็นค�ำถามท่ีส�ำคัญ การเร่ิมต้นสร้างหน่วยการเรียน
จากตวั มาตรฐานเองมขี อ้ ดคี อื เกดิ การพฒั นาการกจิ กรรมการเรยี นการสอนและการประเมนิ ผล และเปน็ หลกั
ประกันการจัดการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ข้อจ�ำกัดคือ ผู้สอนอาจเห็นว่าเป็นการเพ่ิมภาระที่ต้องสร้าง
หน่วยการเรียนขึ้นเองและอาจไม่สอดคล้องกับค�ำถามหรือข้อสงสัยของผู้เรียน
5. การออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้แบบย้อนกลบั (Backward Design)
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแนะน�ำให้ผู้สอน
พิจารณาน�ำไปใช้เรียกว่า การออกแบบแบบย้อนกลับ (Backward Design) ออกแบบโดย วิกกินส์ และ
แมคไทฮ์ (Wiggins และ McTighe) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับเน้นการจัดการเรียนรู้ท่ี
ท�ำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่คงทน (Enduring understanding) โดยมุ่งความส�ำคัญไปที่เป้าหมาย
การเรียนรู้หรือจุดหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ แล้วจึงเร่ิมคิดหากิจกรรมหรือช้ินงานท่ีสามารถเป็น
ร่องรอยของการได้เรียนรู้ หรือการได้ไปสู่เป้าหมายของผู้เรียน จากน้ันออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
ในการพัฒนาความเข้าใจท่ีคงทนและสามารถน�ำไปใช้ได้จริง โดยสรุปเป็นขั้นตอนสาคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้
ข้ันตอนท่ี 1 ก�ำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
ขั้นตอนท่ี 2 ก�ำหนดหลักฐานการเรียนรู้
ข้ันตอนท่ี 3 ออกแบบการเรียนรู้