Page 19 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 19

ความเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 15-9

       กล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้น�ำทางวิชาการในด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องเป็นผู้ที่มีสามัตถิยะ
ส่ือสารและสามัตถิยะระหว่างวัฒนธรรมอย่างดีเพ่ือให้สามารถรับและเข้าใจข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ ได้
ถูกต้อง เพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ผู้ร่วมงาน และผู้เก่ียวข้องอ่ืน ๆ ได้อย่าง
ถูกต้องชัดเจนและเหมาะสม

2.	ความรเู้ รอ่ื งทฤษฎี (theory) แนวการสอน (approach) และวธิ กี ารสอน (method) ภาษาองั กฤษ
  ในแบบต่าง ๆ

       การเปน็ ผนู้ ำ� ทางวชิ าการในการเรยี นการสอนภาษาองั กฤษนนั้ ผสู้ อนภาษาองั กฤษนอกจากจะมคี วาม
สามารถในสิ่งที่ตนเองสอน (Knowing what) แล้วยังต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งท่ีตัวเองสอน
(Knowing how)ได้อย่างดีด้วย ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีความรู้เรื่องทฤษฎี แนวการสอน วิธีการสอน และ
มีทักษะในการสอน รวมท้ังสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างประสบความส�ำเร็จโดยประยุกต์ใช้วิธีการ
สอนท่ีเหมาะกับผู้เรียนและสภาพการณ์ต่าง ๆ

       ลาร์ซัน ฟรีแมน และแอนเดอร์สัน (Larsen-Freeman & Anderson, 2011) ได้รวบรวมแนวการ
สอนและวิธีการสอนภาษาต้ังแต่อดีตถึงปัจจุบันไว้ดังนี้

       1) 	วิธีการสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล (Grammar-Translation Method) เป็นการสอน
โดยการแปลประโยคจากภาษาที่เรียน (target language) เป็นภาษาท่ีหน่ึง (first language) หรือจากภาษา
ท่ีหนึ่งเป็นภาษาที่เรียน โดยเน้นไวยากรณ์และค�ำศัพท์ ซึ่งวิธีการสอนไวยากรณ์เป็นแบบนิรนัย (Deductive
teaching) และสอนศัพท์โดยให้จ�ำความหมายเป็นภาษาท่ีหนึ่ง และจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท่ีหนึ่ง
เป็นหลัก วิธีการน้ีไม่เน้นการใช้ภาษาเพื่อการส่ือสาร

       2) 	วธิ สี อนแบบตรง (Direct Method) ให้ความส�ำคัญกับการสื่อสารด้วยภาษาท่ีเรียน โดยไม่มีการ
ใช้ภาษาที่หนึ่งในการเรียนการสอนภาษา ผู้เรียนจะเรียนภาษาโดยเน้นการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ที่
ธนาคาร ท่ีไปรษณีย์ หรือพูดเก่ียวกับหัวข้อต่าง ๆ เช่น อากาศ อาหาร สุขภาพ เป็นต้น

       3) 	วิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio-lingual Method) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรม
นิยม (Behaviorism) ที่เชื่อว่าพฤติกรรมต่าง ๆ เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) เน้น
การให้รางวัล (reward) และลงโทษ (punishment) และการท�ำพฤติกรรมซ้ําจนเป็นนิสัย (reinforcement)
วิธีสอนแบบฟัง-พูด เน้นการฟังและการพูดภาษาท่ีเรียน ซึ่งมักจะสอนโดยการให้ผู้เรียนฟังบทสนทนา และ
พูดตามซํ้า ๆ จนข้ึนใจ และจะไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาท่ีหน่ึงในการเรียนภาษาท่ีสอง รวมท้ังไม่ยอมให้ผู้เรียน
ใช้ภาษาผิดเพราะจะท�ำให้ติดเป็นนิสัย

       4) 	การสอนแบบเงียบ (Silent Way) มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดย
ไม่ต้องพ่ึงผู้สอน โดยสอนด้วยการให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเสียง (sounds) กับแท่งไม้ (building blocks
หรือ cuisinaire rods) และสี (colors) ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านและสะกดค�ำต่าง ๆ ได้ หลังจากน้ัน
จะสอนโครงสร้างภาษาผ่านสถานการณ์ (situations) ที่ผู้สอนจัดข้ึน ผู้ท่ีใช้วิธีการสอนแบบเงียบ จะมีสถานะ
เหมือนผู้ท่ีช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เองได้อย่างถูกต้อง โดยผู้สอนพยายามพูดให้น้อยท่ีสุด
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24