Page 22 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 22
15-12 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
สอนในอดีตจนถึงปัจจุบัน และสามารถน�ำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนและสภาพ
การณ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากท่ีสุด ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขต
มหาสารคาม เม่ือวันที่ 27 พฤศจิกายน 2517 ว่า
“... การท�ำงานด้านการศึกษาน้ัน ปัจจุบันนี้มีแนวความคิดและทฤษฎีทั้งเก่าและใหม่ส�ำหรับให้เลือก
ปฏิบัติอยู่มากมาย นักการศึกษาจ�ำเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์ วิจัยทฤษฎีเหล่านั้นอย่างละเอียดสุขุมและมี
เหตุผล ให้เห็นส่วนที่เป็นประโยชน์และส่วนที่มิใช่ประโยชน์เพื่อเลือกเอาส่วนที่ถูกต้องน�ำมาประกอบกันใช้
การให้ได้ผลอันสมบูรณ์ที่พึงประสงค์... ”
3. ความรู้ ความสามารถในการวดั และประเมนิ ผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
จุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลไม่ใช่เพียงแค่เพ่ือให้ผู้สอนมีผลการเรียนเพื่อรายงานแก่
ผู้ปกครองและผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น แต่การวัดและประเมินผลมีความส�ำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
ต่อการเรียนการสอน ดังที่โคเฮน (Cohen, 1994 ) ได้กล่าวไว้ เช่น
1) ช่วยให้ผู้เรียนทราบระดับความสามารถรวมท้ังข้อบกพร่องของตนเอง และช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน
สนใจในการเรียนมากขึ้น เพราะถ้าไม่มีการวัดผล ผู้เรียนก็อาจจะคิดว่าไม่มีความจ�ำเป็นในการใส่ใจหรือ
ทบทวนส่ิงท่ีเรียน
2) ช่วยให้ผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนมากขึ้นท�ำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับผู้เรียนมากข้ึน
3) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนการเรียนการสอนท่ีเอื้อต่อผู้เรียน และช่วยในการ ตัดสินใจ
เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้
ทั้งน้ี ประโยชน์ของการวัดและประเมินผลดังกล่าว ไม่สามารถจะบรรลุได้หากผู้สอนไม่มีความรู้
ความสามารถในการวัดและประเมินผล เพราะแม้ว่าผู้สอนจะมีความรู้ทางด้านภาษาเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่
สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถวัดและประเมินผลได้อย่างถูกต้อง เท่ียงตรง เป็นธรรม และเหมาะสม
สะท้อนความสามารถของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง เพราะ อาจจะวัดผลโดยการใช้แบบทดสอบเพียงอย่างเดียว
หรือใช้แบบทดสอบประเภทเดียวซึ่งไม่เหมาะกับส่ิงที่ต้องการวัด หรืออาจสร้างแบบทดสอบท่ีขาดความ
เท่ียงตรง (validity) ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ท่ีต้ังไว้ หรืออาจสร้างแบบทดสอบที่ขาดความเชื่อมั่น
(reliability) เช่น ข้อสอบท่ีใม่มีค�ำตอบท่ีถูกต้องหรือมีค�ำตอบมากกว่าหนึ่งข้อ ข้อสอบท่ีผู้สอบสามารถเดา
คำ� ตอบไดโ้ ดยไมต่ อ้ งอาศยั ความรู้ ท�ำใหไ้ มส่ ามารถน�ำผลของการทดสอบไปใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชนไ์ ดโ้ ดยสมบรู ณ์
ดังน้ัน ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการ
วัดและประเมินผลภาษาอังกฤษ เมื่อใช้แบบทดสอบในการวัดผล ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษา
อังกฤษต้องรู้คุณลักษณะของแบบทดสอบที่ดี และสามารถสร้างแบบทดสอบท่ีมีคุณภาพได้ รวมท้ังสามารถ
พิจารณาเลือกแบบทดสอบประเภทต่าง ๆ เพ่ือให้ตรงและเหมาะกับวัตถุประสงค์ได้ เช่น ใช้แบบทดสอบ
ปรนัย (objective test) เมื่อต้องการวัดทักษะความคิดระดับทั่วไป (lower order thinking skills) ได้แก่
ความจ�ำ ความเข้าใจ และใช้แบบทดสอบอัตนัย (subjective test) เมื่อต้องการวัดทักษะความคิดระดับสูง