Page 23 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 23
ความเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 15-13
(higher order thinking skills) เชน่ การนำ� ไปใช้ การวเิ คราะห์ การประเมนิ คา่ และการสรา้ งสรรค์ นอกจากน้ี
ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องรู้จักใช้วิธีการวัดผลแบบต่าง ๆ นอกเหนือจาก
แบบทดสอบ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ บทบาทสมมติ การท�ำแฟ้มสะสมงาน การท�ำโครงงาน เป็นต้น
โดยเลือกวิธีที่สามารถวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษท่ีต้องการวัดได้อย่างเที่ยงตรงท่ีสุด และสอดคล้อง
กับวิธีการวัดผลตามสภาพจริง (Authentic assessment) เช่น ใช้การสัมภาษณ์ในการวัดความสามารถทาง
ด้านการพูดภาษาอังกฤษแทนท่ีจะใช้แบบทดสอบประเภทเลือกตอบ (multiple choice) ซ่ึงการใช้วิธีการ
วัดผลหลากหลายรูปแบบยังเอ้ือต่อผู้เรียนทุกคน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน บางคน
อาจไม่มีความเชี่ยวชาญในการท�ำแบบทดสอบ ท�ำให้ผลของการวัดผลจากแบบทดสอบอย่างเดียว
ไม่สามารถบอกความสามารถท่ีแท้จริงของผู้เรียนคนน้ันได้
ความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่สะท้อนจากการวัดผลที่มีคุณภาพ ท�ำให้ผู้น�ำทางวิชาการในการ
เรียนการสอนภาษาอังกฤษตระหนักถึงประสิทธิภาพของการสอนและประสิทธิผลทางการเรียนของผู้เรียน
หากการสอนหรือการเรียนรู้มีปัญหา ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะได้คิดหาแนวทาง
ในการแก้ไขปัญหาเพ่ือพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น นอกเหนือจากน้ัน ความรู้ด้านการวัด
และประเมินผลภาษาอังกฤษยังเป็นประโยชน์แก่ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการ
เลือกและสร้างเคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัยด้วย
4. ความรู้และทักษะทางดา้ นเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์
ปจั จบุ นั น้ี สอื่ เทคโนโลยคี อมพวิ เตอรแ์ ละอนิ เทอรเ์ นต็ มบี ทบาทสำ� คญั อยา่ งมากในการเรยี นการสอน
ภาษาองั กฤษ เชน่ มเี วบ็ ไซตม์ ากมายใหเ้ ขา้ ไปศกึ ษาภาษาองั กฤษดว้ ยตนเอง มกี ารใชบ้ ทเรยี นและสอื่ ออนไลน์
ประกอบการสอน มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอนผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือเฟซบุ๊กเพื่อ
ความสะดวกและรวดเร็ว และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (วิเชียร สุนิธรรม, 2555) เป็นต้น
ดังนั้น ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ควรมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพ่ือ
สามารถพัฒนาตนเองโดยศึกษาหาความรู้จากเว็บไซต์ท่ีเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ใช้ประโยชน์
จากบทเรียนและสื่อออนไลน์ รวมท้ัง ติดต่อให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน
นอกจากน้ี ผนู้ ำ� ทางวชิ าการในการเรยี นการสอนภาษาองั กฤษสามารถใชท้ กั ษะทางดา้ นเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์
ในการสร้างบทเรียนออนไลน์หรือนวัตกรรมที่เหมาะกับผู้เรียน และเผยแพร่เป็นประโยชน์กับบุคคลท่ัวไปได้
ด้วย
นอกจากนโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยที่ส่งเสริมให้มีการใช้ส่ือเทคโนโลยี
สารสนเทศเพ่ือการสื่อสารเป็นเคร่ืองมือส�ำคัญในการช่วยพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียน
แล้ว ในปี พ.ศ. 2554 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNES-
CO) ได้เสนอนโยบายว่าด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนท่ี (Policy Guidelines
for Mobile Learning) เพ่ือยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร
(ICT) ดังน้ัน ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควรต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสอนเพื่อ