Page 21 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 21
ความเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 15-11
หลังจากนั้น จะให้ผู้เรียนช่วยกันท�ำชิ้นงานโดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้ค�ำปรึกษาเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา ซึ่งในขั้นตอน
น้ี ผู้เรียนต้องใช้ภาษาที่เก่ียวกับการท�ำชิ้นงานนั้น และในตอนท้าย ผู้เรียนต้องใช้ภาษาในการน�ำเสนอผลท่ีได้
จากชิ้นงานนั้น
11) การฝกึ กลยทุ ธก์ ารเรยี นรู้ (Learning Strategy Training) เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักใช้กลยุทธ์
ในการเรียนเพื่อช่วยพัฒนาการเรียนให้ดีข้ึน โดยครูจะช่วยแนะน�ำและฝึกกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
ภาษา โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนสามารถน�ำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ของการเรียนภาษา เพื่อน�ำไปสู่ความ
ส�ำเร็จในการเรียน
12) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน
ในการท�ำงานกลุ่มท่ีได้รับมอบหมายให้ส�ำเร็จ ซ่ึงเป็นการสนับสนุนศักยภาพของผู้เรียนท่ีมีความแตกต่างกัน
ท�ำให้รู้จักการท�ำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน เรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาความคิดของตนเอง และพัฒนา
ความฉลาดทางอารมณ์
13) ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence Theory) เป็นทฤษฎีท่ีให้ความส�ำคัญกับความ
แตกต่างของผู้เรียนท้ังในด้านปัญญา (Intelligence) และวิธีการเรียนรู้ (Learning styles) ซ่ึงมีที่มาจาก
ความคิดของ การ์ดเนอร์ (Gardner 1983, 1993) ว่าแต่ละบุคคลมีปัญญา 8 ด้านซึ่งสามารถพัฒนาได้ ได้แก่
ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ (Logical/mathematical) ด้านการมองเห็น/มิติสัมพันธ์ (Visual/spatial)
ด้านการเคลื่อนไหวทางกาย (Body/kinesthetic) ด้านดนตรี/จังหวะ (Musical/rhythmic) ด้าน
มนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal) ด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal) ด้านค�ำพูด/ภาษา (Verbal/
linguistic) และด้านการเป็นนักธรรมชาติ (Naturalist) ซึ่งในการสอนภาษาอังกฤษ ผู้สอนต้องพยายาม
ส่งเสริมปัญญาด้านภาษาไปพร้อมกับการพัฒนาปัญญาทุก ๆ ด้าน เพราะผู้เรียนมีความโดดเด่นทางปัญญา
ไม่เหมือนกัน
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ยังมีแนวคิดทางด้านการเรียนการสอนภาษาอีกมาก เช่น การเรียนโดยใช้
โครงงาน (Project-based Learning) ซึ่งเน้นการเรียนรู้ภาษาผ่านการท�ำโครงงาน การเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง
(Brain-based Learning) ซึ่งใช้วิธีการสอนภาษาโดยอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง และการเรียนรู้โดย
การค้นพบ (Discovery Learning) ซึ่งผู้เรียนต้องเป็นผู้สังเกต พิจารณา วิเคราะห์ ไตร่ตรอง และค้นพบ
ความรู้ได้ด้วยตนเองโดยอาศัยตัวอย่างหรือบางส่วนของสิ่งท่ีผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า เช่นเดียวกับความรู้ในสาขาต่าง ๆ ทฤษฎีและแนวคิดในด้านการเรียนการสอนภาษามี
การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ก็ไม่ได้น�ำไปสู่แนวการสอนหรือวิธีการสอนที่ใหม่
ทงั้ หมดหรอื มปี ระสทิ ธภิ าพกวา่ เดมิ ในทกุ ดา้ น เปน็ ทท่ี ราบกนั วา่ ไมม่ วี ธิ กี ารสอนภาษาวธิ ใี ดทไี่ ดร้ บั การยอมรบั
เป็นเอกฉันท์ว่าดีที่สุด สามารถน�ำไปใช้กับการเรียนการสอนภาษาในทุกระดับ ทุกสถานการณ์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพท่ีสุด นั่นเป็นเพราะ บริบทในการสอนภาษาอังกฤษมีความหลากหลายมาก ท้ังผู้เรียน สถานท่ี
ชุมชน สังคม ค่านิยม นโยบาย โดยเฉพาะอย่างย่ิง ผู้เรียนซ่ึงมีความแตกต่างทางด้านระดับความรู้ ความ
สนใจ เจตคติ แรงจูงใจ บุคลิกภาพ และวิธีการเรียนรู้ ดังนั้น ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษา
อังกฤษต้องมีความรู้ความเข้าใจเร่ืองทฤษฎี แนวการสอน และวิธีการสอนภาษาในแบบต่าง ๆ ทั้งแนวการ