Page 42 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 42
3-32 ไทยในเศรษฐกจิ โลก
ราคาถูกเม่ือเปรียบเทียบกับราคาสินค้าจากประเทศอ่ืนๆ ซ่ึงจะช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจมหภาคของ
สหรัฐอเมริกาลง
ผลของขอ้ ตกลงพลาซา่ ไมเ่ พยี งแตท่ ำ� ใหค้ า่ เงนิ ของประเทศอนื่ ๆ โดยเฉพาะเงนิ เยนของญป่ี นุ่ แขง็ คา่ ขน้ึ
ท�ำให้การผลิตในญ่ีปุ่นมีต้นทุนสูงขึ้นจึงไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอ่ืนๆ ได้ ทางออกที่มีก็คือ กลุ่มทุน
ของญปี่ นุ่ ตอ้ งยา้ ยฐานการผลติ ภาคอตุ สาหกรรมไปยงั ประเทศอน่ื ๆ ทมี่ คี า่ เงนิ ออ่ นกวา่ และมคี วามไดเ้ ปรยี บ
โดยเปรยี บเทยี บดา้ นทต่ี งั้ คา่ แรง และวตั ถดุ บิ ราคาถกู เชน่ ประเทศในภมู ภิ าคเอเชยี อาคเนยท์ ม่ี คี วามพรอ้ ม
ทางเศรษฐกจิ คอื มคี วามสามารถในการบรหิ ารจดั การเศรษฐกจิ มหภาคและมคี วามพรอ้ มในการประกอบการ
ผลที่ตามมาจากข้อตกลงพลาซ่าจึงไม่เพียงแต่ท�ำให้เกิดการขยายตัวในภาคเศรษฐกิจจริงผ่านการลงทุน
โดยตรง แต่ยังกระตุ้นให้ภาคการเงินอันประกอบด้วยตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศเหล่านี้ขยายตัว
ตามไปดว้ ยเนอ่ื งมาจากการเคลอ่ื นยา้ ยทุนระหว่างประเทศ10
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของตลาดเงินและทุนระหว่างประเทศดังกล่าวน้ีมีลักษณะทวิลักษณะ
กลา่ วคอื การขยายตวั ของภาคการเงินผา่ นตลาดทนุ และตลาดเงินท่ีเปิดกว้างและเชื่อมโยงกนั มากย่งิ ข้นึ น้ี
ท�ำให้เงินทุนต่างประเทศสามาถไหลเวียนเข้าสู่ตลาดเงินตลาดทุนของประเทศต่างๆ ได้อย่างสะดวกและ
รวดเรว็ มบี ทบาทจดั สรรเงนิ ทนุ แกผ่ ปู้ ระกอบการและรฐั บาลของประเทศตา่ งๆ แตใ่ นอกี ดา้ นหนงึ่ การเคลอ่ื นยา้ ย
ของเงินทุนอย่างอิสระไปสู่แหล่งท่ีให้ผลตอบแทนสูงกว่าผ่านการเก็งก�ำไรกลับส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจแบบ
ฟองสบทู่ ม่ี ผี ลกระทบตอ่ ภาคการผลติ จรงิ และกอ่ ใหเ้ กดิ ภาวะไรเ้ สถยี รภาพทางเศรษฐกจิ อนั เปน็ ปรากฏการณ์
ของเศรษฐกิจการเมืองระหวา่ งประเทศในยคุ หลงั สงครามเย็นดงั ทจี่ ะไดก้ ล่าวถงึ ต่อไป
กิจกรรม 3.2.1
จงอธบิ ายถงึ บรบิ ทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศในชว่ งหลงั สงครามโลกคร้งั ท่ี 2
แนวตอบกิจกรรม 3.2.1
บริบทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 เป็นการต่อสู้ทาง
อุดมการณ์ระหวา่ งคา่ ยเสรนี ยิ มและสังคมนิยม ในขณะทีส่ หรัฐอเมรกิ าเป็นมหาอำ� นาจในค่ายเสรีนิยมและ
สหภาพโซเวยี ตเปน็ มหาอำ� นาจในคา่ ยสงั คมนยิ ม โดยประเทศในคา่ ยเสรนี ยิ มไดท้ ำ� การวางแผนจดั ตงั้ องคก์ าร
ระหวา่ งประเทศโดยมฐี านอยู่บนเศรษฐกิจเสรีนยิ มแบบฝังรากในรูปแบบของระบบเบรตตัน วดู ส์
10 ภายหลงั ข้อตกลงพลาซ่า ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1989-1995 มูลคา่ การซื้อขายเงนิ ตราตา่ งประเทศของโลกไดเ้ พิ่มข้นึ จาก
620,000 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั ตอ่ วนั เปน็ 1.26 ลา้ นลา้ นดอลลารส์ หรฐั ตอ่ วัน โดยมศี นู ยก์ ลางอยทู่ สี่ หรัฐอเมรกิ า อังกฤษ ญป่ี นุ่ ส�ำหรับ
การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศน้ัน ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990-1996 มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาวสุทธิของภาคเอกชนไปสู่
ประเทศกำ� ลงั พฒั นาเพม่ิ ขน้ึ จาก 44,400 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั เปน็ 243,800 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั โดยภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกและแปซฟิ กิ
ใตเ้ ปน็ ภมู ภิ าคทร่ี องรบั เงนิ ทนุ เคลอ่ื นยา้ ยดงั กลา่ วมากทส่ี ดุ ดรู ายละเอยี ดเพม่ิ เตมิ ใน สมภพ มานะรงั สรรค.์ (2546). พลวตั ของระบบ
การเงนิ โลกกับผลกระทบต่อไทย.