Page 43 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 43

ประเทศไทยกบั เศรษฐกจิ การเมอื งระหว่างประเทศ 3-33

เร่ืองที่ 3.2.2
ประเทศไทยในเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศหลังสงครามโลก
ครั้งท่ี 2

       ประเทศไทยได้ด�ำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศแบบ
เสรีนิยมโดยมีส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือท่ีรู้จักกันดีในนาม
“สภาพฒั น”์ เปน็ แกนหลกั ในการวางแนวนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ แนวคดิ การพฒั นาหรือ
ยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาประเทศไทยตั้งแตห่ ลงั สงครามโลกครัง้ ที่ 2 นบั ตัง้ แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแหง่ ชาติ
ฉบบั ที่ 1 ซง่ึ ไดป้ ระกาศใชใ้ น พ.ศ. 2504 จนถงึ แผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 7 ไดใ้ หค้ วามสำ� คญั กบั การเตบิ โตทาง
เศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเชื่อว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงจะน�ำมาซ่ึงความมั่งค่ังและในที่สุด
ความมงั่ คั่งเหล่านี้จะกระจายลงไปสปู่ ระชาชนกลุ่มต่างๆ ในประเทศ แบบที่เรยี กว่า trickle down

       แนวทางดังกล่าวเริ่มจากการสนับสนุนให้รัฐเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานของประเทศใน
แผนพฒั นาฯ ฉบบั แรกๆ เพอ่ื กระตนุ้ ใหเ้ กดิ การลงทนุ ในประเทศจากทงั้ ทนุ ภายในและการดงึ ดดู การลงทนุ
จากต่างประเทศโดยเร่ิมต้นจากยุทธศาสตร์การผลิตเพ่ือทดแทนการน�ำเข้า (Import substitution
strategy)11 และเปล่ียนไปสูย่ ทุ ธศาสตรก์ ารผลติ เพือ่ การสง่ ออก (Export oriented strategy) โดยอาศยั
ความไดเ้ ปรยี บจากแรงงานราคาถูกและทรพั ยากรธรรมชาตทิ ี่มีอยู่ของประเทศเป็นฐานในการพฒั นา

       ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ. 2504-2509) ท่มี รี ะยะเวลาท้งั หมด 6 ปี แนวทางการพัฒนา
ประเทศมีจุดเน้นอยู่ที่การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งสร้างโครงสร้างพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจด้วย
การสรา้ งถนน ไฟฟา้ ประปา เขอ่ื น ตอ่ มาจงึ ไดห้ นั มาเนน้ การพฒั นาสงั คมควบคไู่ ปกบั การพฒั นาเศรษฐกจิ
นบั ตงั้ แตแ่ ผนพฒั นา ฉบบั ท่ี 2 มาถงึ ฉบบั ปจั จบุ นั ชอ่ื เตม็ ของแผนพฒั นา จงึ เตมิ คำ� วา่ แผนพฒั นาเศรษฐกจิ
และสงั คมแหง่ ชาติ โดยในแตล่ ะแผนนับต้ังแตแ่ ผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) จะมรี ะยะเวลา
ของแผนๆ ละ 5 ปี

       ถึงแมว้ ่า แผนพัฒนาฯ ฉบบั ที่ 2 และฉบบั ต่อๆ มาจะมกี ารผนวกเอามิตทิ างสังคมเขา้ ไปในแผน
พฒั นาเพอื่ เนน้ สรา้ งความเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ กบั การพฒั นาสงั คม แตแ่ นวทางในการพฒั นาประเทศ
กย็ งั คงเนน้ สรา้ งความเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ เชน่ เดยี วกบั แผนพฒั นาฯ ฉบบั ท่ี 1 ดว้ ยเหตนุ ้ี การพฒั นา
ตามแนวทางดังกล่าวจึงส่งผลท่ีส�ำคัญคือ ท�ำให้เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้ของคนในภาคส่วน
ตา่ งๆ เช่น ความไมเ่ ท่าเทยี มกันระหวา่ งเมืองกับชนทบท ความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ระหวา่ งภาคอุตสาหกรรม
กบั ภาคเกษตรกรรม รวมถงึ ความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ระหวา่ งภมู ภิ าคตา่ งๆ และผลกระทบตอ่ ธรรมชาตเิ นอื่ งจาก

         11 ยทุ ธศาสตรก์ ารผลติ เพอื่ ทดแทนการนำ� เขา้ เปน็ ยทุ ธศาสตรท์ ปี่ ระเทศกำ� ลงั พฒั นาใชเ้ พอ่ื แขง่ ขนั กบั ประเทศทพ่ี ฒั นาแลว้
โดยใชก้ ารคมุ้ ครองอตุ สาหกรรมภายในดว้ ยการตง้ั กำ� แพงภาษหี รอื ใชม้ าตรการอนื่ ๆ กดี กนั การนำ� เขา้ สนิ คา้ อตุ สาหกรรมจากภายนอก
เนอ่ื งจากตอ้ งการใหป้ ระเทศสามารถพฒั นาอตุ สาหกรรมภายในใหเ้ ขม้ แขง็ กอ่ นเพอ่ื ใหส้ ามารถเปน็ ฐานในการแขง่ ขนั กบั ประเทศอน่ื ๆ
ได้ในอนาคต
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48