Page 37 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 37
กระบวนการเรียนรู้และการใช้หลกั ฐานทางประวัตศิ าสตรไ์ ทย 1-27
ผลงานของบรรพบรุ ษุ นอกจากนผี้ เู้ ขยี นประวตั ศิ าสตรย์ งั อาจตคี วามหลกั ฐานตามความรู้ ความคดิ อารมณ์
ความรสู้ ึก หรือความเขา้ ใจของตน ส่ิงเหลา่ น้ลี ้วนแตท่ ำ� ใหห้ ลักฐานทางประวตั ศิ าสตรเ์ ปน็ เพียงข้อเท็จจรงิ
ดังน้ัน เหตกุ ารณห์ รอื เรอื่ งราวทางประวัติศาสตรจ์ ึงเปลี่ยนแปลงได้ ท้ังน้ีขน้ึ อยู่กับการค้นพบหลักฐานใหม่
และความน่าเชื่อถือของหลักฐานท่ีค้นพบ ด้วยเหตุนี้ถ้าพบหลักฐานใหม่เพ่ิมข้ึนและน่าเช่ือถือ เนื้อหา
ประวตั ิศาสตรใ์ นเรอ่ื งนน้ั กต็ ้องเปล่ยี นไป
2. ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถจ�ำแนกได้ตาม
ประเภทต่างๆ ดงั น้ี
2.1 หลักฐานที่จ�ำแนกตามความส�ำคัญของหลักฐาน แบง่ ได้ 2 ประเภท คือ
2.1.1 หลกั ฐานชน้ั ตน้ (Primary Source) หมายถงึ บนั ทกึ หรอื คำ� บอกเลา่ ของผพู้ บเหน็
เหตกุ ารณห์ รอื ผทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ งกบั เหตกุ ารณโ์ ดยตรง เชน่ จารกึ จดหมายเหตุ บนั ทกึ การเดนิ ทพั เอกสารการ
ปกครอง รวมท้ังหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ หลักฐานประเภทน้ีมักได้รับ
ความเชอื่ ถอื เพราะเปน็ ขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ากผทู้ ร่ี ว่ มอยใู่ นเหตกุ ารณห์ รอื อยใู่ กลช้ ดิ กบั ขอ้ เทจ็ จรงิ หลกั ฐานชนั้ ตน้
ไม่ได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักฐานเดิม (Original Source) ท่ีเป็นต้นฉบับของผู้เขียนเท่าน้ัน แต่รวมถึง
ส�ำเนาทีค่ ัดลอกตอ่ กันมาหรอื น�ำมาตีพิมพ์แลว้
2.1.2 หลักฐานช้ันรอง (Secondary Sources) หมายถึง ผลงานทางประวัติศาสตร์ที่
เขยี นขึน้ หรือเรียบเรยี งขึน้ ภายหลังจากการเกดิ เหตุการณ์น้ันแลว้ โดยอาศยั จากคำ� บอกเลา่ ของผอู้ ่นื หรือ
จากหลกั ฐานช้ันต้นต่างๆ อาทิ ต�ำรา หนงั สือ สารนพิ นธ์ และวทิ ยานิพนธ์ เป็นต้น
การจ�ำแนกหลักฐานเช่นนี้ เพื่อประเมินความน่าเช่ือถือของหลักฐาน แต่หลักฐานช้ันรอง
แม้วา่ ไดร้ ับการเชื่อถือน้อยกวา่ หลกั ฐานช้นั ตน้ แต่มปี ระโยชน์ในการศึกษาค้นควา้ เพราะเปน็ การปูพน้ื ฐาน
ความรู้ ความเขา้ ใจกอ่ นทจ่ี ะศกึ ษาเอกสารชนั้ ตน้ โดยตรง การอา่ นหลกั ฐานชนั้ รองทำ� ใหเ้ ขา้ ใจเรอื่ งราวทจี่ ะ
ทำ� การศึกษาในภาพรวม นอกจากนี้ยังอาจนำ� ไปสกู่ ารสบื คน้ หลักฐานชั้นตน้ ไดด้ ว้ ย
นักประวัติศาสตร์บางคนได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์เป็นหลักฐานชั้นสามหรือตติยภูมิ
(Tertiary Sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมข้ึน จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อ
ประโยชนใ์ นการศกึ ษาอ้างองิ เชน่ สารานกุ รม หนงั สือแบบเรียน และบทความทางประวัตศิ าสตรต์ ่างๆ
2.2 หลักฐานที่จ�ำแนกตามลักษณะอักษร แบ่งเปน็ 2 ประเภท คือ
2.2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Sources) หมายถงึ หลกั ฐานทีม่ ีการ
บนั ทกึ เปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษรบอกเลา่ เรอ่ื งราวตา่ งๆ โดยการจารกึ ไวบ้ นแผน่ ไม้ แผน่ ศลิ า แผน่ โลหะ ใบลาน
และกระดาษ เปน็ ต้น หลกั ฐานที่เป็นลายลักษณอ์ ักษรบางชนิดยงั จารกึ ไวท้ ี่โบราณวัตถุ หรอื โบราณสถาน
เชน่ ฐานพระพุทธรูป ฐานเจดยี ์ ผนงั โบสถ์ และแผนทีพ่ ร้อมคำ� อธิบาย เป็นต้น
2.2.2 หลักฐานท่ีไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Sources) หลกั ฐานประเภทน้ี มี
ทงั้ หลกั ฐานยคุ กอ่ นประวตั ศิ าสตร์ และยคุ ประวตั ศิ าสตร์ ซงึ่ ผศู้ กึ ษาประวตั ศิ าสตรอ์ าจนำ� มาวเิ คราะหไ์ ดด้ ว้ ย
ตนเอง หรืออาศยั การตคี วามจากนกั วิชาการอนื่ ๆ เชน่ นักมนษุ ยวิทยา นกั โบราณคดี และนักภมู ิศาสตร์
เป็นต้น