Page 42 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 42

4-32 ประวัตศิ าสตร์ไทย
       ในสมยั อยุธยาตอนปลาย ได้มกี ารปรบั ปรงุ การปกครองให้สมุหพระกลาโหมบงั คบั บัญชากจิ การ

ท้ังด้านการทหารและการพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกมีอ�ำนาจหน้าท่ีท้ังทางด้านการทหาร
และการพลเรือนเช่นเดียวกับสมุหพระกลาโหม เพียงแต่เปลี่ยนมาควบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือ ต่อมาได้มี
การมอบหมายใหพ้ ระคลงั หรอื โกษาธบิ ดเี ปน็ ผคู้ วบคมุ ดแู ลราชการทง้ั ปวงในหวั เมอื งชายทะเลภาคตะวนั ออก
ด้วย และจะเป็นรัชกาลใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรัชสมัยสมเด็จพระบรมโกศ
(พ.ศ. 2275–2301) สมหุ พระกลาโหมทำ� ความผดิ จงึ ถกู รบิ เอาหวั เมอื งทง้ั หมดทอี่ ยใู่ นความควบคมุ ดแู ลมา
ข้ึนอยู่กับพระคลัง19 พระคลังหรือโกษาธิบดีในสมัยอยุธยาตอนปลายจึงมีอ�ำนาจมาก เพราะควบคุมท้ัง
หวั เมอื งฝา่ ยใต้ หวั เมอื งชายทะเลภาคตะวนั ออก รวมทงั้ รบั ผดิ ชอบดแู ลการคา้ และการตดิ ตอ่ กบั ตา่ งประเทศ
ดว้ ย

       การปรบั ปรงุ การปกครองครงั้ นท้ี ำ� ใหก้ ารแบง่ ความรบั ผดิ ชอบเปน็ ทหารกบั พลเรอื นในสมยั อยธุ ยา
ตอนปลายกลายเป็นการแบง่ อำ� นาจบงั คับบัญชาเหนือดินแดน มใิ ช่เปน็ การแบง่ ตามหน้าท่ี ท�ำให้อำ� นาจ
ของสว่ นกลางทแ่ี ผข่ ยายไปยงั หวั เมอื งตา่ งๆ ทวมี ากขน้ึ กวา่ เดมิ ระบบราชการหวั เมอื งซง่ึ เคยมอี สิ ระพอควร
จงึ ถกู รวมเขา้ เปน็ อนั หนงึ่ อนั เดยี วกนั กบั ระบบราชการสว่ นกลาง เกดิ เปน็ ระบบราชการขนาดใหญท่ ม่ี คี วาม
ซบั ซอ้ นและมคี วามเปน็ เอกภาพมากขน้ึ

       อยา่ งไรกต็ าม มขี อ้ นา่ สงั เกตวา่ การใหอ้ ำ� นาจแกพ่ วกเจา้ นายดว้ ยการตง้ั กรมเจา้ ทำ� ใหพ้ วกเจา้ นาย
กลับมามีอ�ำนาจทางการเมืองและมีอ�ำนาจทัดเทียมกับพวกขุนนาง ด้วยเหตุน้ี ขุนนางในสมัยอยุธยา
ตอนปลายจึงมิได้มีอ�ำนาจมากเหมือนดังพวกขุนนางก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง การต่อสู้ทาง
การเมอื งระหวา่ งกลมุ่ ตา่ งๆ ในสมยั อยธุ ยาตอนปลายจงึ อยใู่ นรปู ของกลมุ่ พนั ธมติ รเจา้ นาย-ขนุ นาง ดงั จะเหน็
ได้ว่าสมุหพระกลาโหม พระคลัง และกรมหมื่นเทพพิพิธในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้
ร่วมมือกันสนับสนุนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรหรือกรมขุนพรพินิตได้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลใน พ.ศ.
2298

       นอกจากนนั้ การถว่ งดลุ อำ� นาจอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพในสมยั สมเดจ็ พระเจา้ บรมโกศทใ่ี ชน้ โยบายให้
กรมเจา้ ถว่ งดลุ อำ� นาจกรมขนุ นางและใหม้ กี ารคานอำ� นาจกนั เองในหมเู่ จา้ ทรงกรม ทำ� ใหไ้ มม่ กี ลมุ่ การเมอื งใด
ครองอ�ำนาจเหนอื กล่มุ อ่นื ๆ อย่างเด็ดขาด การแยง่ ชงิ อำ� นาจทางการเมอื งในช่วงอยุธยาตอนปลายจึงเป็น
ไปอย่างรุนแรง จนท�ำให้ระบบไพร่ซ่ึงเป็นพ้ืนฐานของการบริหารราชการอยู่ในสภาพระสํ่าระสายมาก
จนเปน็ สาเหตสุ ำ� คญั ประการหนง่ึ ทท่ี ำ� ใหอ้ าณาจกั รอยธุ ยาออ่ นแอ ตา้ นทานการรกุ รานของพมา่ ไมไ่ ด้ และ
ตอ้ งเสียกรงุ ศรีอยธุ ยาไปใน พ.ศ. 2310

         19 ในสมยั รชั กาลที่ 1 แหง่ กรงุ รตั นโกสนิ ทรไ์ ดก้ ลบั ไปใชว้ ธิ กี ารเดมิ คอื สมหุ นายกควบคมุ ดแู ลหวั เมอื งฝา่ ยเหนอื สมหุ พระ-
กลาโหมบงั คบั บัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ และพระคลงั รบั ผดิ ชอบหวั เมืองชายทะเล
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47