Page 45 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 45

อาณาจักรอยธุ ยา 4-35
       จากหลกั ฐานทมี่ อี ยู่ อาณาจกั รอยธุ ยามกี ารจดั ระบบการควบคมุ กำ� ลงั คนอยา่ งงา่ ยๆ มาตงั้ แตส่ มยั
สมเดจ็ พระรามาธิบดีที่ 1 ซงึ่ กส็ อดคลอ้ งกับภาวะอำ� นาจทางการเมอื งของอาณาจักรในขณะนั้น ตอ่ มาเมื่อ
อยุธยาประสบความส�ำเร็จในการแผ่ขยายอ�ำนาจไปยังดินแดนรอบข้างอย่างกว้างขวางแล้ว ก็ได้มีการ
ปรับปรงุ จดั ระเบียบระบบไพร่ในสมยั สมเดจ็ พระรามาธิบดีท่ี 2
       หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาคร้ังที่ 1 ระบบควบคุมก�ำลังคนของอาณาจักรอยุธยาคงจะหย่อน
ประสทิ ธภิ าพลง จงึ มกี ารปรบั ปรงุ ครงั้ สำ� คญั ในสมยั สมเดจ็ พระเอกาทศรถ ระเบยี บระบบไพรท่ ปี่ รบั ปรงุ ขน้ึ
ในสองรัชกาลนี้ได้ใช้เป็นโครงสรา้ งหลกั ของระบบไพร่ในสมยั อยธุ ยามาจนถงึ พ.ศ. 2310
       การศึกษาเรื่องการควบคุมก�ำลังคนหรือระบบไพร่ในสมัยอยุธยาในเร่ืองที่ 4.2.3 น้ีจะพิจารณา
ประเดน็ ส�ำคัญ 5 ประเดน็ ดังนี้

1.	 ระบบศักดินาและการควบคุมก�ำลังคน

       ในสงั คมโบราณ กำ� ลงั คนหรอื แรงงานไพร่ในสังกัดเป็นแหลง่ ท่มี าของอำ� นาจทางการเมอื ง ความ
มง่ั คง่ั ฐานะทางสงั คม และความมหี นา้ มตี าของมลู นายผคู้ วบคมุ ดแู ล จนมคี ำ� กลา่ ววา่ “ทา้ วพระยาครองเมอื ง
ได้ก็ด้วยไพร่” ด้วยเหตุนี้ระเบียบภายในบ้านเมืองและเสถียรภาพขององค์พระมหากษัตริย์จึงข้ึนอยู่กับ
พระปรีชาสามารถของพระองค์ในการควบคุมการแจกจ่ายก�ำลังไพร่พลแก่พวกมูลนาย ซึ่งต้องควบคุม
ใหอ้ ยู่ในภาวะที่จะรักษาดุลแห่งอ�ำนาจไวไ้ ด้

       หลกั ฐานเทา่ ทม่ี ีอยู่ สงั คมอยุธยามรี ะบบควบคมุ กำ� ลงั คนท่เี ครง่ ครัดกว่าสุโขทัย และอยธุ ยาไดใ้ ช้
ระบบศกั ดินา เปน็ กลไกในการควบคมุ การแจกจา่ ยกำ� ลงั ไพรพ่ ล สนั นษิ ฐานวา่ อยธุ ยาคงจะนำ� ระบบศกั ดนิ า
มาใช้ต้ังแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พ.ศ. 1893–1912) แต่คงเป็นระบบที่ยังมีการจัดระเบียบอย่าง
ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และพฒั นาตามสภาพบ้านเมือง จนกระท่งั ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรง
วางระเบียบ กฎเกณฑ์ และเสรมิ สรา้ งระบบศกั ดินาใหม้ น่ั คงดว้ ยการออกกฎหมายเกยี่ วกบั ศกั ดินาทเี่ รยี ก
กนั ว่า “พระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือนนาทหารหัวเมือง” ใน พ.ศ. 1998 และระบบศกั ดินาท่ีไดจ้ ดั วาง
ระเบยี บใหมน่ ี้ไดใ้ ชส้ ืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสนิ ทร์

       เป็นที่เช่ือกันโดยทั่วไปว่า ระบบศักดินาน่าจะเป็นระบบในสังคมอยุธยาที่มีขึ้นเพ่ือก�ำหนดหน้าท่ี
ขอบขา่ ยความรบั ผดิ ชอบ สทิ ธิ แหลง่ อำ� นาจ และฐานะของชนทกุ ชน้ั ในสงั คมอยธุ ยา ตงั้ แตเ่ จา้ นาย ขนุ นาง
พระสงฆ์ ไพร่ และทาส เช่น พระมหาอปุ ราชศักดนิ า 100,000 พระอนุชาธิราชศักดินา 20,000 พระเจา้
ลกู เธอศกั ดนิ า 15,000 เจา้ พระยามหาเสนา (สมหุ พระกลาโหม) ศกั ดนิ า 10,000 เจา้ พระยาจกั รี (สมหุ นายก)
ศกั ดนิ า 10,000 พระยาศกั ดนิ า 1,000–10,000 พระองคเ์ จา้ ศกั ดนิ า 4,000–7,000 พระศกั ดนิ า 1,000–5,000
ขุนนางช้ันผูน้ อ้ ยมีศักดินาระหว่าง 50–400 พระภิกษศุ ักดนิ า 400–2,400 ไพร่ศักดนิ า 10–25 และทาส
ศักดินา 5 เปน็ ตน้

       สว่ นปจั จยั สำ� คญั ทใี่ ชก้ ำ� หนดศกั ดนิ าของคนในสงั คมอยธุ ยา ไดแ้ ก่ ชาตกิ �ำเนิด และต�ำแหน่งหนา้ ท่ี
ทางราชการ ปัจจัยข้อหลังนับว่ามีส่วนส�ำคัญไม่น้อยในการก�ำหนดศักดินา ดังจะเห็นได้ว่าพระองค์เจ้า
ทไ่ี มม่ ตี ำ� แหนง่ ทางราชการมศี กั ดนิ าตาํ่ กวา่ สมหุ พระกลาโหม สมหุ นายก และพระยาบางตำ� แหนง่ การทเี่ ปน็
เชน่ นเ้ี พราะหลงั การปฏริ ปู การปกครองในสมยั สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ ไดเ้ กดิ ระบบราชการซง่ึ ใชข้ นุ นาง
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50