Page 44 - การศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
P. 44
3-34 การศึกษาชมุ ชนเพื่อการวจิ ัยและพฒั นา
เมอื่ ผวู้ จิ ยั เมอื่ ไดพ้ บเอกสารแลว้ ลำ� ดบั แรก คอื การพจิ ารณาเอกสารและบนั ทกึ วา่ มลี กั ษณะเชน่ ไร
นบั ตั้งแต่ ใครคือผเู้ ขียน เขยี นเพราะอะไร เขียนในยคุ ใด หลังจากนั้น จงึ จดั ระบบเอกสารและบันทกึ เช่น
เป็นเรื่องเล่า ตำ� นาน ขอ้ เทจ็ จรงิ หรือเป็นประเดน็ ในดา้ นใด
และน�ำไปสู่ข้ันตอนสุดท้าย คือ การตีความข้อมูลท่ีได้ ส่วนใหญ่แล้วการตีความมักจะได้มาจาก
แนวคดิ ทฤษฎที เ่ี กย่ี วข้อง ดงั นนั้ จงึ จำ� เปน็ ต้องสรา้ งกรอบการวจิ ยั ไวก้ อ่ น เพือ่ จะสามารถตคี วามหมายใน
เอกสารและบันทึกตา่ งๆ นัน้
ปัญหาท่จี ะพบในการใช้เอกสารก็คือ บางครง้ั อาจมขี อ้ มูลจำ� นวนมาก กระจดั กระจาย ตอ้ งมกี าร
จัดระบบ ข้อมูลอาจมีความขัดแย้งกันท้ังตัวเอกสารเอง และการสัมภาษณ์และสังเกต จึงอาจต้องมีการ
ตคี วามหรอื การระบใุ ห้ชัดเจนวา่ มขี อ้ คน้ พบในด้านใดบา้ ง (ด�ำรงศักดิ์ แก้วเพง็ , 2555, น. 140)
8. การท�ำเวทีชุมชนและการสนทนากลุ่ม
การท�ำเวทีชุมชน (หรืออาจเรียกว่าประชาคม การเสวนาหมู่บ้าน) และการสนทนากลุ่ม (focus
group) เป็นเคร่ืองมือท่ีมักจะใช้ในการแสวงหาความรู้จากชุมชน ด้วยการเปิดเวทีหรือพ้ืนท่ีให้เกิดการ
สนทนาหรอื อภิปรายกันในกลุ่ม โดยมงุ่ เน้นประเด็นเฉพาะที่ต้งั เอาไว้ ทัง้ นี้ การสนทนามกั จะตอ้ งมกี ารจัด
ระบบทงั้ ตวั เนอื้ หา และกลมุ่ ทถี่ กู เลอื กมากอ่ นแลว้ และเปดิ โอกาสใหเ้ กดิ การแลกเปลย่ี นพดู คยุ ตอบโตก้ นั
มใิ ช่เป็นการตอบคำ� ถามจากผ้วู จิ ัย (วชิ ติ นันทสวุ รรณ, 2545 และชาย โพธิสติ า, 2547)
อย่างไรก็ดี จดุ ที่แตกตา่ งกันของวิธีการทง้ั สองคอื การท�ำเวทชี ุมชน มกั จะเปน็ เครือ่ งมอื การวจิ ัย
ของนกั พฒั นาเพอื่ มงุ่ เนน้ ใหช้ มุ ชนตระหนกั ปญั หา วางอยบู่ นความคดิ ของการเปดิ พนื้ ทสี่ าธารณะใหค้ นใน
ชมุ ชนไดม้ สี ทิ ธเิ สนอและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื มงุ่ เปา้ ไปสกู่ ารขยบั เขยอื้ นการแกไ้ ขปญั หาในชมุ ชนรว่ มกนั
ดังแนวคดิ ของเจอรเ์ ก็น ฮาร์เบอร์มสั (Jurgen Habermas) และการสร้างการมีส่วนร่วมของเปาโล แฟร์
(Paulo Freire) ซ่ึงมักจะลงเอยด้วยการมองไปในทศิ ทางการแก้ไขปญั หาเดียวกันในลกั ษณะระดมสมอง
เช่น การทำ� เวทีชุมชนเพอ่ื หาทางแกไ้ ขปัญหาน�้ำแล้งในชุมชน
วชิ ติ นนั ทสุวรรณ (2545, น. 231-234) ขยายความเพ่ิมเติมว่า ในการจดั เวทชี มุ ชน มกั จะเชิญ
กลุ่มบุคคลเข้าร่วมสามกลุ่มหลัก คือ (1) ผู้น�ำชุมชน ทั้งเป็นทางการ ได้แก่ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก
องค์การบริหารส่วนตำ� บล (2) ผนู้ �ำองค์กรชมุ ชนหรอื กลมุ่ กจิ กรรมต่างๆ ไดแ้ ก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มออม
ทรัพย์ กล่มุ แมบ่ ้าน กล่มุ เยาวชน กลมุ่ สาธาณสุข กลุ่มลกู คา้ ธกส. และ (3) ผูน้ �ำธรรมชาติของชมุ ชน ซึ่ง
กห็ มายถงึ ผู้ที่มีความรอบรภู้ ูมปิ ัญญา ไดแ้ ก่ หมอพ้นื บา้ น ศลิ ปนิ ผ้นู ำ� ศาสนา การเนน้ เฉพาะกลมุ่ ผ้นู ำ� ก็
เนือ่ งจากมที ักษะการเรียนรจู้ ากขอ้ มูล การเสวนา การวิเคราะห์ แตห่ ากนำ� คนทกุ คนเขา้ มาที่อาจมีทักษะ
ด้านการปฏิบัติอยา่ งเดียวกอ็ าจสรา้ งการถกเถียงไปในคนละดา้ น และยากตอ่ การด�ำเนินการท�ำเวที
ประเด็นเนื้อหาในเวทีชุมชน มักจะเน้นประวัติศาสตร์ ข้อมูลชุมชน ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ข้อมูล
ปญั หาชุมชนในอดีตและวิธกี ารแกไ้ ข ข้อมูลศกั ยภาพของชมุ ชน ทั้งทเี่ ปน็ คน ความรู้ ทรัพยากร รายงาน
ผลการศกึ ษาชมุ ชนตน้ แบบมลี กั ษณะการดำ� เนนิ การอยา่ งไร และกรณกี ารศกึ ษาชมุ ชนตน้ แบบนพน้ื ทตี่ นเอง
เพอื่ ให้เหน็ การบรหิ ารจัดการองค์ความร้ขู องตน (วชิ ิต นนั ทสรุ รณ, 2545, น. 234-235) ท้ังหมดน้ีจะนำ�
ไปสูก่ ารใช้เป็นข้อมลู ถกเถยี งเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชนรว่ มกนั