Page 46 - การศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
P. 46

3-36 การศึกษาชมุ ชนเพื่อการวจิ ัยและพฒั นา

เร่ืองท่ี 3.2.3
เทคนิคการวิเคราะห์ชุมชน

       นอกจากเครอื่ งมอื ทจี่ ะใชใ้ นการไดข้ อ้ มลู ชมุ ชนแลว้ ยงั มเี ทคนคิ ในการวเิ คราะหช์ มุ ชนอกี หลากหลาย
ซงึ่ กต็ อ้ งอาศยั เครอื่ งมอื ในหวั ขอ้ ทผ่ี า่ นมามาใชใ้ นการวเิ คราะหช์ มุ ชน สำ� หรบั ในทน่ี จ้ี ะหยบิ ยกเฉพาะเทคนคิ
ทใี่ ช้กนั แพร่หลาย ดังนี้

1. 	 การประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วนและการประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม

       การประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (Rapid Rural Appraisal: RRA) เป็นเทคนิคที่ใช้
แพรห่ ลายในหมนู่ กั วชิ าการ นกั พฒั นา ทเ่ี นน้ การประเมนิ ผลดว้ ยการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพแบบใหม่ เพราะทำ� ให้
เข้าใจชุมชนในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าการวิจัยแบบเดิมแบบนักมานุษยวิทยาท่ีฝังตัวในชุมชนท่ีใช้เวลา
อันยาวนาน

       ทวศี ักด์ิ นพเกษร (2554, น. 37) ระบุว่า เทคนคิ น้ีพฒั นาขึน้ เพือ่ การประเมนิ ชุมชน โดยพฒั นา
จากการวิจยั ท่ีท�ำงานเป็นทีม และท�ำงานในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1-6 สปั ดาห์ ธีระภทั รา เอกผาชัย
สวสั ด์ิ (2554, น. 334) เสรมิ วา่ เปน็ การวจิ ยั ทเี่ นน้ ทางสายกลางจากในอดตี ทก่ี วา่ จะประเมนิ ชมุ ชนไดต้ อ้ ง
ใช้เวลาอันยาวนานดังนักมานุษยวิทยาท่ีต้องฝังตัวกับชุมชนกับการศึกษาเชิงส�ำรวจท่ีรู้ผลเร็วแต่อาจได้
ข้อมูลท่ีไม่ลึก จึงเกิดเทคนิคที่ค้นหาแนวทางเชิงคุณภาพท่ีจะท�ำให้ท้ังรวดเร็วและได้ข้อมูลท่ีถูกต้องเป็น
ระบบ และเน้นการทำ� งานเป็นทีม

       ด้วยเหตุนี้ หลักการส�ำคัญคือ การท�ำงานเป็นทีมนักวิจัย โดยอาจใช้นักวิจัยจากหลายสาขาวิชา
ในลกั ษณะสหวทิ ยาการ ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั สภาพชมุ ชนทม่ี คี วามสลบั ซบั ซอ้ น เมอ่ื ไดน้ กั วจิ ยั แลว้ กจ็ ะเรม่ิ ตน้
จากการวางแผนการออกแบบโครงสร้างการวจิ ัยรว่ มกนั การออกแบบค�ำถามร่วมกนั ใชเ้ ครือ่ งมอื ท่ีหลาก
หลายทง้ั การสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลมุ่ และนำ� มาตรวจสอบในลกั ษณะสามมติ ิ (triangulation) หรือ
สามเสา้ เพื่อให้ขอ้ มลู ทไ่ี ดม้ คี วามแมน่ ย�ำ นอกจากน้นั ระหว่างการวจิ ยั จะต้องนำ� ข้อมลู มาแลกเปลย่ี นกนั
ตลอดเวลา เพอ่ื เปน็ การตรวจสอบขอ้ คน้ พบ และในทา้ ยทส่ี ดุ ทมี วจิ ยั กร็ ว่ มกนั รา่ งงานวจิ ยั รว่ มกนั ตรวจสอบ
ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกันสรุปงานวิจัย (ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์, 2554 และทวีศักด์ิ นพเกษร,
2554)

       ธรี ะภทั รา เอกผาชยั สวัสดิ์ (2554, น. 338-339) เสนอวา่ ข้อดขี องการวจิ ัยการประเมินสภาวะ
ชนบทอยา่ งเรง่ ดว่ นชว่ ยใหป้ ระหยดั รวดเรว็ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจประเดน็ ไดล้ กึ มากขน้ึ เพราะทำ� งานเปน็ ทมี ตรวจ
สอบข้อมูล แต่ก็มีข้อจ�ำกัด คือ แม้จะเร็วแต่ก็ยังได้ข้อมูลไม่ลึกเท่ากับการฝังตัวในชุมชนแบบนัก
มานุษยวทิ ยา ใชส้ ถติ ิทดสอบไมไ่ ด้ ผู้วจิ ยั ต้องมปี ระสบการณใ์ นการท�ำวิจยั อย่างดพี อ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51