Page 59 - การศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
P. 59
การวเิ คราะห์ขอ้ มลู การวจิ ยั การส่ือสารชุมชน 7-49
ต่อมาเมื่อเก็บข้อมูลเพ่ิมขึ้น นักวิจัยสามารถเพ่ิมเติมประโยคดัชนีให้ชัดเจนมากขึ้น เข้าใจ
ปรากฏการณต์ า่ งๆ มากขนึ้ และสามารถน�ำดัชนมี าเชอ่ื มโยงกันเปน็ ยอ่ หนา้ เช่น
“ชาวประมงหาปลาไมไ่ ดเ้ ลย ตัง้ แต่การทา่ เรอื ฯ มาสรา้ งท่าเรอื แหลมฉบงั ชาวบา้ นเคยเปิดเจรจา
กับการท่าเรือฯ ไปหลายคร้ัง แต่ไม่ส�ำเร็จ แกนน�ำจึงพยายามติดต่อหาสื่อมาช่วย มีแกนน�ำติดต่อนักข่าว
ให้มาท�ำข่าว แล้วรณรงค์ด้วยส่ืออื่น ๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ “ไม่เอาท่าเรือ” ทั่วหมู่บ้าน ซ่ึงเป็นส่ือสัญลักษณ์
อย่างหน่ึงในการต่อต้านคัดค้านการเจริญเติบโตภายนอกท่ีกระทบต่อชุมชน”
ดงั ทีก่ ลา่ วไว้แล้วว่า การสรา้ งข้อสรุปชั่วคราวมีประโยชน์หลายประการ คือ ชว่ ยนกั วิจยั สามารถรู้
ว่า ข้อมูลใดมีประโยชน์ตอ่ งานวิจัย สว่ นใดที่ยังไม่ครบถว้ น ตอ้ งเก็บข้อมลู เพ่ิม (เน่อื งจากไมเ่ พียงพอที่จะ
น�ำมาวิเคราะห์ หรือเชื่อมโยงหาเหตุผลไม่ได้) และส่วนใดที่ต้องก�ำจัดท้ิงไปเพราะไม่เกี่ยวกับ โจทย์การ
วจิ ัย
การท�ำวิจัยเชิงคุณภาพที่ไม่ท�ำข้อสรุปชั่วคราวเลย จะเกิดภาวะ “ข้อมูลท่วม” แต่ไม่สามารถน�ำ
ข้อมลู ทมี่ ีจำ� นวนมากนนั้ มาวิเคราะห์ได้ เพราะข้อมูลจ�ำนวนมาก ไม่ไดถ้ ูกจดั ระเบียบ ไมไ่ ด้ถูกวเิ คราะห์
ดว้ ยกรอบแนวคดิ ทฤษฎี และเชอื่ มโยงใหเ้ กดิ ความหมาย ทำ� ใหก้ ารวเิ คราะขอ้ มลู มคี วามไมล่ มุ่ ลกึ หรอื อาจ
จะหาคำ� ตอบตามโจทยว์ จิ ยั ไมไ่ ด้
ในการด�ำเนนิ การวจิ ัยการสื่อสารชุมชน การท�ำดชั นีตา่ งๆ ควรขอความรว่ มมือจากนักวิจยั คนใน
หรอื คนในชมุ ชนหลายๆ ชว่ ยกนั คดิ ชว่ ยกนั มอง มบี างกรณที ส่ี ามารถเรยี กประชมุ กลมุ่ ทเี่ กยี่ วขอ้ ง ซงึ่ เปน็
คนใน ใหม้ าชว่ ยระดมความคดิ หรอื จดั ประชมุ เพอื่ ใหม้ กี าร สะทอ้ น ตดั ทอน เพม่ิ เตมิ มมุ มองใหมๆ่ เขา้ มา
อยา่ งไรกต็ าม วธิ กี ารประชมุ ตอ้ งมผี นู้ �ำการประชมุ ทเ่ี กง่ และควบคมุ ทศิ ทางของงานวจิ ยั ไดอ้ ยา่ ง
แม่นยำ�
ขั้นตอนท่ี 4 การสร้างข้อสรุป และพิสูจน์บทสรุป
ข้นั ตอนสดุ ทา้ ย คือ ข้นั ตอนที่นักวิจยั ตอ้ งหา “บทสรุป” เพื่อตอบคำ� ถามวิจยั หรอื โจทยว์ จิ ยั ให้
ได้ด้วยความลมุ่ ลกึ และมคี ุณค่า น่าสนใจ เป็นขนั้ ตอนท่นี ำ� เอา ขอ้ สรปุ ยอ่ ยๆ ชั่วคราวในขัน้ ตอนท่ี 3 มา
เชอื่ มโยงกนั ดว้ ยวธิ ตี า่ งๆ เพอื่ ใหเ้ ปน็ บทสรปุ ทเ่ี ปน็ นามธรรม หรอื สามารถสรา้ งทฤษฎขี น้ึ จากขอ้ มลู ในพน้ื ที่
ได้ ซ่งึ เปน็ แนวทางที่สามารถตอบค�ำถามการวิจัย หรือโจทยก์ ารวิจัยได้
ในขนั้ ตอนนี้ นกั วจิ ยั มกั จะมปี ญั หาสองประการ หากนกั วจิ ยั ไมไ่ ดก้ ระทำ� ดงั ขอ้ ตกลงในชว่ งแรกคอื
หากนักวิจัยไม่ได้ศึกษาบริบทชุมชนอย่างละเอียด จนเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยและสถาบันต่างๆ ว่า
เกยี่ วขอ้ งกบั “การสอื่ สารในชมุ ชน” อยา่ งไร และหากนกั วจิ ยั ไมไ่ ดอ้ า่ นหรอื ศกึ ษาแนวคดิ ทฤษฎที เ่ี กยี่ วขอ้ ง
มามากพอ การสรา้ งบทสรปุ จะมขี ้อจ�ำกดั หรืออยใู่ นวงแคบและไมล่ ่มุ ลึก
ดงั นน้ั เทคนคิ วธิ ที ก่ี ลา่ วมาแลว้ (สนใจบรบิ ทของชมุ ชนอยา่ งจรงิ จงั และบนั ทกึ เปน็ ระบบ) เมอ่ื มา
ผสมผสานกับความท่มุ เทศึกษาแนวคิดทฤษฎีอยา่ งหลากหลาย กวา้ งขวาง จนอาจกล่าวไดว้ ่ามคี วามรใู้ น
เชิงสหวทิ ยาการ จะยงิ่ ทำ� ใหก้ ารสรา้ งบทสรุปมีความน่าสนใจ คมคาย และลมุ่ ลกึ