Page 54 - การศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
P. 54
7-44 การศึกษาชมุ ชนเพอ่ื การวจิ ยั และพัฒนา
ขั้นท่สี าม ตดั ดชั นเี กา่ ออกไป หากไมพ่ บในการเกบ็ ข้อมลู จรงิ ๆ
ขั้นที่สี่ สร้าง “ค�ำจ�ำกัดความ” ที่ชัดเจนของดัชนีแต่ละตัวว่า หมายถึงอะไร ครอบคลุมแค่ไหน
และตง้ั ชอื่ ดชั นใี หแ้ นน่ อนวา่ ตอ้ งการใชค้ ำ� น้ี หรอื กลมุ่ คำ� นี้ เชน่ ใชค้ ำ� วา่ โลกาภวิ ตั น์ หมายถงึ ความเชอ่ื มโยง
สัมพนั ธ์กันทางเศรษฐกจิ การเมอื ง วฒั นธรรม อุตสาหกรรม จนกอ่ ใหเ้ กดิ ผลกระทบกบั ชุมชนขนาดเลก็
ขั้นที่ห้า ให้ลงมือเขียนค�ำดัชนีท่ีปรับปรุงแล้วลงไปในบันทึกสนาม โดยเขียนไว้ท่ีหน้าหรือหลัง
ข้อความที่บันทกึ ขน้ั ตอนนต้ี ้องท�ำไปพรอ้ มกบั การเกบ็ ข้อมูลในสนาม อยา่ รอจนเก็บข้อมลู เสร็จสน้ิ เพราะ
การวเิ คราะห์ข้อมลู ของการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ ตอ้ งท�ำไปพร้อมกบั การเกบ็ ขอ้ มูล และปรบั ดัชนไี ปดว้ ย
ขั้นตอนที่ 3 การท�ำข้อสรุปช่ัวคราว
ข้ันตอนน้ี คือ การน�ำดัชนีย่อยๆ ท้ังหมดที่นักวิจัยท�ำไว้แล้ว มาจัดหมวดหมู่ โดยน�ำดัชนีท่ี
คลา้ ยกนั มารวมกลมุ่ เดยี วกนั หรอื นำ� มาเชอ่ื มโยงกนั แลว้ เขยี นเปน็ ประโยค หรอื ยอ่ หนา้ ยาวๆ โดยหาความ
เช่อื มโยง เหตแุ ละผลซึ่งกันและกนั
ยกตวั อยา่ ง การท�ำข้อสรปุ ชัว่ คราว นักวิจยั มดี ัชนกี ล่มุ ค�ำ ดังน้ี
ชาวบ้านเปิดรบั รายการขา่ วชอ่ งเจด็
ชาวบา้ นดูละครช่องเจ็ด
วัยรุน่ จะไม่ดูโทรทัศน์
อนิ เทอรเ์ นต็ เข้ามาในหมบู่ า้ นแล้ว
ต่อมาเมื่อเก็บข้อมูลเพ่ิมขึ้น นักวิจัยสามารถเพิ่มเติมประโยคดัชนีให้ชัดเจนมากข้ึน และน�ำมา
เช่อื มโยงกันเป็น ย่อหนา้ เช่น
“ปกติชาวบ้านจะดูข่าวช่องเจ็ด เพ่ือรอดูละครหลังข่าว แต่กลุ่มวัยรุ่นไม่นิยมดูโทรทัศน์ ตั้งแต่มี
ส่ืออินเทอร์เน็ตเข้ามาถึงหมู่บ้าน”
การสร้างข้อสรุปชั่วคราวมีประโยชน์ ตรงที่นักวิจัยสามารถรู้ว่า ข้อมูลใดมีประโยชน์ต่องานวิจัย
สว่ นใดทยี่ งั ไมค่ รบถว้ น และสว่ นใดทต่ี อ้ งกำ� จดั ทง้ิ ไป เพราะการทำ� วจิ ยั เชงิ คณุ ภาพทไ่ี มท่ ำ� ขอ้ สรปุ ชว่ั คราว
เลย จะเกิดภาวะ “ขอ้ มลู ทว่ ม” แตไ่ มส่ ามารถวิเคราะหไ์ ด้ เพราะมีข้อมลู มาก แต่ไมไ่ ดถ้ กู จดั ระเบยี บ และ
เชอื่ มโยงใหเ้ กดิ ความหมาย ทำ� ใหก้ ารวเิ คราะหข์ อ้ มลู มคี วามไมล่ มุ่ ลกึ หรอื อาจจะหาคำ� ตอบตามโจทยว์ จิ ยั
ไมไ่ ด้
ข้ันตอนที่ 4 การสร้างบทสรุปและการพิสูจน์บทสรุป
ในขั้นตอนสุดท้ายน้ี นักวิจัยจะได้ข้อสรุปชั่วคราวท่ีผ่านการตรวจสอบเบ้ืองต้นมาแล้ว และก�ำจัด
ขอ้ มลู บางสว่ นออกไปแลว้ ขน้ั ตอนสดุ ทา้ ยนี้ คอื การนำ� เอาขอ้ สรปุ ชวั่ คราวดงั กลา่ ว มาเชอื่ มโยงกนั เพอ่ื ให้
เป็นบทสรุปท่ีเป็นระดับของนามธรรม หรือการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลพ้ืนฐาน ซึ่งสามารถตอบค�ำถาม
การวจิ ัยได้
เทคนิคการสร้างบทสรุประดับนามธรรมมีหลายวิธี เช่น การหาแบบแผนของเหตุการณ์ หรือ
ทัศนะต่างๆ การหาความคล้ายคลึงของข้อมูล การประมวลข้อมูลเข้าด้วยกันด้วยการใช้กรอบทฤษฎี
(สภุ างค์ จนั ทวานิช, 2546)