Page 52 - การศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
P. 52

7-42 การศึกษาชุมชนเพือ่ การวจิ ัยและพัฒนา
            2) ตรวจสอบความครบถ้วนและคุณภาพของข้อมูล
            การตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ไม่ใช่เร่ืองที่ท�ำได้โดยง่าย

เนอื่ งจากการเกบ็ ขอ้ มลู ของการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ ไมม่ แี บบสอบถามทช่ี ดั เจนเหมอื นวธิ กี ารเชงิ ปรมิ าณ อาจ
จะมีแบบสมั ภาษณ์ที่เป็นโครงรา่ งไว้ เพื่อใหม้ ที ิศทางตามวัตถปุ ระสงคก์ ารวิจยั แต่เมือ่ ลงสนามแลว้ จะพบ
วา่ การเกบ็ ขอ้ มลู เตม็ ไปดว้ ยการพดู คยุ สนทนา การสมั ภาษณไ์ มเ่ ปน็ ทางการทบี่ นั ทกึ เทปไว้ บนั ทกึ สนาม
ท่ียังไม่ผ่านการวิเคราะห์ และเอกสารอีกจ�ำนวนหน่ึง ยิ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว เครื่องมือในการเก็บ
ข้อมูลทีแ่ ท้จรงิ คอื “ตัวนกั วจิ ยั ” เอง จึงทำ� ใหก้ ารรวบรวมข้อมูล และการวเิ คราะห์ในระหว่างท่ีอย่ใู นสนาม
เต็มไปดว้ ย “การได้หน้าลมื หลัง” (สภุ างค์ จันทวานิช, 2546) ตกหลน่ ไมค่ รบถ้วน โดยที่นกั วิจยั ไมร่ ู้ตัว
ดงั นน้ั จงึ ต้องตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมลู วา่ “เพียงพอ” หรือยัง

            เมื่อเผชิญกับอุปสรรคการท�ำวิจัย การพิจารณาว่าข้อมูลเพียงพอหรือไม่ มักจะเกิดข้ึนเม่ือ
ปจั จยั เกอื้ หนนุ ตา่ งๆ เรมิ่ มอี ปุ สรรค เชน่ งบประมาณของนกั วจิ ยั หมดลง เวลาการท�ำวจิ ยั เหลอื นอ้ ย ปญั หา
สขุ ภาพกาย สขุ ภาพจติ และปัญหากับอาจารยท์ ่ปี รกึ ษา หรือแหล่งทนุ ต่างๆ แตใ่ นทางวิชาการแลว้ การ
พจิ ารณาและตรวจสอบวา่ ขอ้ มลู ครบถว้ นเพยี งพอหรอื ไม่ ใหพ้ จิ ารณาสององคป์ ระกอบ (องอาจ นยั พฒั น,์
2551) ไดแ้ ก่

                (1) 	ความละเอยี ดของขอ้ มลู ทเ่ี กบ็ รวบรวมมาได้ จากแหลง่ สำ� คญั ทงั้ หมด (exhaustion
of sources)

                (2)		ความหมายของเนื้อหาสาระในข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมมาได้จากภาคสนาม ไม่มี
ประเด็นใดแปลกใหม่ไปจากข้อมูลเดิมท่ีมีอยู่แล้ว ภาวะเช่นนี้ เรียกว่า “การอิ่มตัวของข้อมูล” (data
saturation) โดยสงั เกตไดจ้ าก ขอ้ มลู ทเี่ กบ็ มาใหมเ่ รม่ิ มลี กั ษณะแบบแผนเหมอื นขอ้ มลู เดมิ หรอื มสี าระทบั
ซ้อนกันในประเด็นเดมิ (องอาจ นยั พฒั น,์ 2551, น. 233) ซ่งึ นักวิชาการบางท่านอธิบายด้วยค�ำวา่ การ
คน้ พบ “แบบแผน” (pattern) ทีซ่ าํ้ ๆ กนั เมื่อเวลาผา่ นไป

            สำ� หรบั การตรวจสอบ “คณุ ภาพ” ของขอ้ มลู อกี รปู แบบหนง่ึ สภุ างค์ จนั ทวานชิ (2546) ได้
เสนอแนะว่า ข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ควรจะถูกเปรียบเทียบจากหลายๆ คน หลายๆ ฝ่าย
แตต่ ้องระวงั ไม่นำ� “เรือ่ งเล่า” ของคนนึงไม่บอกอีกคนนงึ ซ่งึ ผดิ จรรยาบรรณของนกั วิจัย และเพือ่ ปกป้อง
ผู้ให้ข้อมูลมิให้เกิดความขัดแย้งกันด้วย แม้ว่าในภายหลังนักวิจัยจะพบว่า จะมีผู้ให้ข้อมูลเพียงไม่กี่คนที่
สามารถเชื่อถอื ได้ แต่กต็ อ้ งระวัง และควรใชก้ ารตรวจสอบเสมอ โดยไม่พึง่ พงิ แหลง่ ข้อมูลเพยี งแหล่งเดยี ว
หรอื คนเดียว เพราะแมว้ ่า คนนีจ้ ะเลา่ ความจรงิ และนา่ เชอ่ื ถือแต่ทุกคนก็สามารถบิดเบอื นเรื่องตา่ งๆ โดย
ไมร่ ู้ตวั ตามพื้นฐานความรู้ อารมณ์ และอคติ

            ในสว่ นขอ้ มลู ทเ่ี ปน็ ความคดิ เหน็ มมุ มอง ทศั นะตา่ งๆ นกั วจิ ยั ตอ้ งตรวจสอบอยา่ งรอบคอบ
และทบทวน โดยตงั้ ค�ำถามกบั ตวั เองเสมอวา่ ผใู้ หข้ อ้ มลู มอี ารมณอ์ ยา่ งไร คา่ นยิ มหลกั คอื อะไร ทศั นคตติ อ่
ชวี ติ และระบบตา่ งๆ และมมุ มองความรทู้ มี่ ตี อ่ เรอื่ งทใ่ี หส้ มั ภาษณเ์ ปน็ อยา่ งไร ใหร้ ะมดั ระวงั วา่ ผใู้ หส้ มั ภาษณ์
จะให้ขอ้ มูลเน่อื งจากความเกรงใจนกั วิจัย และเพอ่ื ผลประโยชน์อืน่ ๆ (สภุ างค์ จนั ทวานชิ , 2546)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57