Page 63 - ภาษาอังกฤษสำหรับครูสอนภาษา
P. 63
การศกึ ษาเร่อื งความหมาย 8-53
10. ผู้เรียนมกั จะฝังใจว่าในภาษาองั กฤษนั้น คำ� วา่ Yes คือการตอบรับ No คอื การปฏิเสธ
ในภาษาพูดค�ำท้ังสองอาจมีความหมายได้ต่างๆ กัน แล้วแต่ระดับเสียงและลีลาการพูด Yes อาจ
เป็นการตอบรบั หรอื รับอยา่ งไม่เตม็ ใจ ไมแ่ น่ใจ แสดงความไม่เชื่อถือ ประหลาดใด เป็นตน้ ในขณะ
ท่ี No นอกจากเปน็ การปฏเิ สธโดยตรงแลว้ ยงั อาจใชแ้ สดงความตน่ื เตน้ ยนิ ดี ความตกใจ ความเศรา้
สลดใจก็ได้ ความหมายเหล่าน้จี ะเห็นได้ชดั จากการอา่ นบทสนทนาหรอื บทละคร ถ้าผ้อู ่านไมเ่ ข้าใจ
สถานการณ์ของขอ้ ความทก่ี ำ� ลังอ่านอยอู่ ยา่ งแทจ้ ริง กจ็ ะไม่สามารถอ่านค�ำวา่ Yes หรอื No ที่อยู่
ในประโยคดว้ ยระดบั เสียง (intonation) ทใ่ี ห้อารมณส์ ่อื ความหมายตามท่ีเจ้าของบทละครตอ้ งการ
หรอื ในบางครัง้ แม้วา่ ผู้อ่านจะเข้าใจสถานการณ์ แต่เน่ืองจากไม่ใชเ่ จ้าของภาษา กอ็ าจใชร้ ะดบั เสยี ง
ไมถ่ ูกต้อง ท�ำใหค้ วามหมายเปลี่ยนแปลงไปโดยสนิ้ เชงิ
ลักษณะท่ัวไปของภาษาเขียน (Written Language)
1. ประโยคที่ใช้ในภาษาเขียนจะยาวกว่าประโยคในภาษาพูด เนื่องจากการสื่อความหมาย
จะไมม่ รี ะดบั เสียงหรือกริ ยิ าท่าทางเป็นเครื่องชว่ ย ประโยคจงึ ต้องมใี จความสมบูรณ์ ชดั เจน เพอื่ ให้
ได้ความหมายตามท่ีผเู้ ขียนตอ้ งการ
2. มกั มกี ารใชค้ ำ� ขยายจำ� พวกคณุ ศพั ท์ กรยิ าวเิ ศษณ์ วลตี า่ งๆ ตลอดจนถงึ ขอ้ ความเปรยี บ
เทยี บในเชิงอปุ มาอปุ ไมย เพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจดขี นึ้ หรือมองเหน็ ภาพคลอ้ ยตามผเู้ ขยี น
3. มักมีการใช้ค�ำเช่ือมประเภทต่างๆ เพ่ือให้ใจความต่อเน่ืองกันและเพ่ือให้ผู้อ่านติดตาม
แนวความคดิ ของผเู้ ขียนได้
4. การใช้เคร่ืองหมายวรรคตอนส�ำคัญมากในภาษาเขียน นอกจากเป็นข้อบังคับทาง
ไวยากรณแ์ ลว้ เครื่องหมายวรรคตอนอาจท�ำหน้าที่ส่อื ความหมายด้วยในตัว ดงั ท่ีได้ศกึ ษามาแลว้
5. รูปประโยคที่ใช้ในภาษาเขียนจะมลี ักษณะซับซ้อนกวา่ รูปประโยคในภาษาพูด มักมีการ
ใช้ compound sentence และ complex sentence โดยเฉพาะการใช้ clause ประเภทตา่ งๆ
6. การใช้ถ้อยค�ำส�ำนวนในภาษาเขียนจะพิถีพิถันกว่าภาษาพูด เช่น ในภาษาพูดอาจใช้
ประโยค
He got stuck in the traffic jam.
ถา้ เปน็ ภาษาเขยี น แทนทจ่ี ะใช้สำ� นวน “get stuck” ผู้เขยี นอาจเล่ียงไปวา่
He was delayed by the traffic.
การเขา้ ใจความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน จะเปน็ เครื่องแสดงว่าบคุ คลนัน้ ๆ
เขา้ ใจภาษาตา่ งประเทศไดด้ เี พยี งใด มตี วั อยา่ งใหเ้ หน็ ไดม้ ากจากสถานศกึ ษาระดบั ตา่ งๆ ทท่ี งั้ ผสู้ อน
และผู้เรียนใช้ส�ำนวนภาษาปะปนกัน โดยน�ำเอาภาษาเขียนมาใช้เป็นภาษาพูด หรือน�ำเอาส�ำนวน
ภาษาทเ่ี จา้ ของภาษาถอื วา่ ลา้ สมยั หรอื มที ใ่ี ชน้ อ้ ยมากมาใชใ้ นการเรยี นพดู เปน็ ตน้ ในสว่ นทเี่ กย่ี วกบั
การอ่านนั้น ผอู้ ่านควรตระหนกั ว่า ในบางครงั้ ผู้เขยี นจงใจใช้ส�ำนวนภาษาปะปนกันเพ่ือจุดประสงค์
บางอย่าง เช่น ต้องการให้ดูขบขัน ต้องการล้อเลียน ประชดประชัน เป็นต้น ถ้าผู้อ่านไม่สามารถ