Page 48 - ความเป็นครู
P. 48
14-38 ความเป็นครู
จรรยาบรรณและประพฤติผิดจรรยาบรรณ ซ่ึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องพยายามพัฒนาครูใน
ส่วนหลังนี้ และท�ำให้วิชาชีพมีปัญหาจรรยาบรรณน้อยท่ีสุด
เร่ืองที่ 14.2.4 แนวทางการพฒั นาจรรยาบรรณของครู
แนวทางการพัฒนาจรรยาบรรณของครูอาจกระท�ำได้ท้ังการใช้หลักวิชาการทางด้านจิตวิทยาใน
การก�ำหนดและพัฒนาจรรยาบรรณ การพัฒนาคุณสมบัติของบุคคลในวิชาชีพ และการพัฒนาบทบาทของ
หน่วยงาน ดังน้ี
1. การใชแ้ นวคดิ อิทธิพลสังคมในการพฒั นาจรรยาบรรณ
แนวคิดอิทธิพลสังคมเป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งเน้นความส�ำคัญของสังคม
ในการสร้างลักษณะทางจริยธรรมให้แก่สมาชิกในสังคม และกลุ่มทฤษฎีสังคมวิเคราะห์ที่เช่ือว่าจริยธรรม
เกิดข้ึนและพัฒนามาพร้อม ๆ กับสังคมและเผ่าพันธุ์ ดังท่ีพบว่าสังคมระดับต่าง ๆ เช่น ครอบครัว กลุ่มเพ่ือน
ชุมชน มีอิทธิพลในการพัฒนาให้คนเป็นผู้มีจริยธรรมหรือไร้จริยธรรม (โกศล มีคุณ, 2539, น. 121) การน�ำ
แนวคดิ นมี้ าใชใ้ นการพฒั นาจรรยาบรรณครสู ามารถกระทำ� ทงั้ ในการกำ� หนดกฎขอ้ บงั คบั และกรอบจรรยาบรรณ
ที่มุ่งให้สังคมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาจรรยาบรรณของครูแต่ละคน และน�ำมาใช้ในการปฏิบัติงานใน
หน่วยงานของครู โดยหน่วยงานต้องสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมและตัวแบบท่ีจะช่วยพัฒนาจรรยาบรรณ
ของครู
2. การพฒั นาคุณสมบัติของผู้มจี รรยาบรรณ
คุณสมบัติของผู้ท่ีอาจถือได้ว่าเป็นผู้มีจรรยาบรรณคือผู้ท่ีปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการตามทฤษฎี
จรรยาบรรณ คือ (ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, 2548, น. 15-16)
2.1 ผู้ทีย่ ึดผลลัพธห์ รอื อรรถประโยชน์ หมายถึง การเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยยึดผลลัพธ์ของงานหรือ
ประโยชน์สูงสุดท่ีจะเกิดขึ้น ซ่ึงต้องเป็นผลลัพธ์หรือประโยชน์ท่ีดีท้ังต่อตนและส่วนรวม ท้ังนี้ผลของงานต้อง
เน้นท่ีคุณภาพเป็นส�ำคัญ
2.2 เป็นผู้ยึดหลักความสัมพันธ์ หมายถึง เป็นบุคคลที่ต้องการเป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีต่อผู้อ่ืน
ไม่ว่าจะเป็นระดับเดียวกัน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะกับผู้รับบริการและประชาชน รู้จัก
การเคารพซ่ึงกันและกัน ให้ความช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน มีความสามัคคี รู้จักการท�ำงานเป็นทีม
2.3 เปน็ ผปู้ ฏิบัติตามกฎ ระเบยี บ หมายถึง เป็นบุคคลที่ยึดถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่มีอยู่ และ
ค�ำม่ันสัญญาที่ให้ไว้กับผู้อ่ืนโดยไม่หลบเลี่ยง