Page 30 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 30

1-20 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะน�ำ และช่วยออกแบบ
กิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้า ของการเรียนรู้ของตนเองได้ 

       การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”
(21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะ
ออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอ�ำนวยความสะดวก (Facilitator) เช่น ในการ
เรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) ของนักเรียน

       แนวคดิ นสี้ อดคลอ้ งกบั ทฤษฎกี ารสรา้ งความรดู้ ว้ ยตนเอง (Constructivism) ซงึ่ เปน็ ทฤษฎที อ่ี ธบิ าย
ว่าผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง จากความสัมพันธ์ระหว่างส่ิงท่ีได้พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจท่ีมี
อยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญาของตนเอง ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของ
ผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปล่ียนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ท่ีท�ำให้เกิด
ภาวะไม่สมดุลขึ้น

       ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ส่ือการศึกษาเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นและส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียน โดยเฉพาะอย่างย่ิง
การเรียนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เนื่องจากสื่อจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้เป็นเครื่องมือใน
การค้นคว้าและสืบค้นความข้อมูลเพ่ือแก้ปัญหาและสร้างความรู้โดยผู้เรียนเอง ครูในฐานะที่เป็นผู้อ�ำนวย
ความสะดวก สนับสนุน และให้ค�ำแนะน�ำในการเรียน จึงต้องมีความสามารถในการวางแผนการใช้ส่ือ และ
เลือกใช้ส่ือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพ่ือผู้เรียนจะได้ใช้สื่อเหล่านั้นในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวางแผนการใชส้ อื่

       ในการน�ำส่ือไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์เพ่ือให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
จ�ำต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบโดยใช้แบบจ�ำลองของไฮนิก (Heinich, and Others, 1999, p. 32-59)
ท่ีเรียกว่าแอชชัวโมเดล (ASSURE Model) ซ่ึงประกอบด้วยข้ันตอนดังต่อไปนี้

       1. 	Analyze learner
       2. 	State objectives
       3. 	Select instructional methods, media, and materials
       4. 	Utilize media and materials
       5. 	Require learner participation
       6. 	Evaluation and revise

       1. 	 วเิ คราะหผ์ เู้ รยี น (Analyze learner) ขน้ั แรกในการวางแผนการใชส้ ่อื คือการวเิ คราะหผ์ ู้เรียน เพื่อ
ให้ทราบถึงลักษณะของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ฐานะทางสังคม ปัญหาด้านการเรียน ความรู้พื้นฐาน ทักษะ
ทัศนคติ ความสนใจ สภาพแวดล้อมในการเรียน เป็นต้น การทราบถึงลักษณะของผู้เรียนจะช่วยให้สามารถ
เลือกส่ือให้เหมาะสมและสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ดียิ่งข้ึน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35