Page 27 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 27
แนวคิดเก่ียวกับส่ือและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-17
การศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาก็มีมาต้ังแต่ยุคโบราณแล้ว เช่น การสอนแบบบรรยายของกลุ่มโซฟิสต์
(Sophists) ซงึ่ เรม่ิ มาตง้ั แตป่ ระมาณ 500 ปกี อ่ นครสิ ตกาล หรอื การสอนแบบถามตอบของโซเครทสิ (ประมาณ
400 ปีก่อนคริสตกาล)
ภาพท่ี 1.5 พฒั นาการของเทคโนโลยีการศึกษา
ท่มี า: https://cargill-edt600.wikispaces.com/History
หากจะพิจารณาต้งั แต่เรมิ่ มกี ารนำ� เอาสือ่ โสตทศั น์มาใชใ้ นการศกึ ษาอย่างจรงิ จงั เปน็ ระบบ ก็อาจแบ่ง
พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาออกเป็นช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- ชว่ งปี ค.ศ. 1900-1910 เริ่มมีการบันทึกว่ามีการนำ� สื่อการศกึ ษาเข้ามาใช้เป็นคร้ังแรก ในช่วง
ระยะเวลานี้สื่อท่ีน�ำมาใช้ได้แก่ ภาพยนตร์ สไลด์ ภาพนิ่ง และแผ่นภาพ เป็นต้น และในช่วงนี้เองที่มีการเริ่ม
น�ำเอาค�ำว่า “ทัศนศึกษา” (Visual education/Visual instruction) เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก
- ช่วงปี ค.ศ. 1920-1930 ในช่วงน้ีส่ือเสียงเร่ิมเข้ามามีบทบาททางการเรียนการสอนมากขึ้น
และการเริ่มน�ำเอาค�ำว่า “โสตทัศนศึกษา” (Audiovisual instruction) เข้ามาใช้
- ช่วงปี ค.ศ. 1940-1950 ในช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพของ
สหรัฐอเมริกามีความต้องการฝึกอบรมทหารใหม่ท่ีจะส่งไปออกรบในสงคราม รวมท้ังต้องการแรงงานฝีมือ
เป็นจ�ำนวนมากเพื่อส่งเข้าท�ำงานในโรงงานต่าง ๆ ที่ผลิตยุทโธปกรณ์ จึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องท�ำ
การฝึกอบรมคนเหล่าน้ีให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว กองทัพอเมริกันจึงได้พัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค และวิธีการ
ต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพ่ือจะน�ำมาใช้ในการฝึกอบรมให้ประสบผลได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลาอันจ�ำกัด
จึงท�ำให้มีการพัฒนาวิธีการฝึกอบรมที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เช่น การน�ำภาพยนตร์มาใช้ใน
การฝึกอบรม การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐาน และการท�ำคู่มือประกอบสื่อการศึกษา เป็นต้น
กลา่ วไดว้ า่ เทคโนโลยกี ารศกึ ษาเรม่ิ ขนึ้ อยา่ งจรงิ จงั ภายหลงั สงครามโลกครงั้ ทส่ี องสนิ้ สดุ ลง เนอื่ งจาก
หลงั สงครามโลกครัง้ ทสี่ องสิน้ สุดลงโรงเรยี นตา่ ง ๆ กไ็ ด้น�ำเอาเทคโนโลยีการศกึ ษาท่ีกองทัพใชม้ าประยกุ ต์ใช้
ในการเรียนการสอน โดยมีการน�ำโสตทัศนูปกรณ์มาใช้ประกอบในการเรียนการสอนมากขึ้น มีการพัฒนา
หลักสูตร เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ ในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น การน�ำภาพยนตร์มาใช้ในการศึกษา
การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการเรียนการสอน และการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมเหล่าน้ี เป็นต้น
ในชว่ งนสี้ อื่ โทรทศั นเ์ พอื่ การศกึ ษาเปน็ สอื่ ทไ่ี ดร้ บั ความนยิ มเปน็ อยา่ งมาก คณะกรรมการกลางกำ� กบั
ดูแลกิจการส่ือสาร (Federal Communications Commission: FCC) ของสหรัฐอเมริกาได้ก�ำหนดช่อง
รายการโทรทัศน์ไว้ถึง 242 ช่องเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา