Page 31 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 31

แนวคิดเก่ียวกับส่ือและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-21

       2. 	 ก�ำหนดวัตถุประสงค์ (State objectives) เม่ือวิเคราะห์ผู้เรียนแล้ว ต่อมาก็จะเป็นการก�ำหนด
วัตถุประสงค์ ซึ่งกค็ อื ผลทต่ี ้องการจากการเรยี น การกำ� หนดวัตถุประสงค์ตอ้ งเปน็ วตั ถุประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม
ซึ่งจะประกอบด้วยหลัก ABCD ของการเขียนวัตถุประสงค์คือ

            Audience 	 ผู้เรียนเป็นใคร
            Behavior 	 พฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนแสดงออกมา
            Condition 	 เง่ือนไขภายใต้การแสดงออกของพฤติกรรม
            Degree 	 ระดับของการแสดงพฤติกรรมที่จะต้องท�ำได้
       เช่น นักศึกษาชั้นปีที่หน่ึงในคณะวิทยาศาสตร์ (Audience) จะสามารถเขียนชื่อทางวิทยาศาสตร์
ของพืชเมืองร้อน (Behavior) ได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 10 ชื่อ (Degree) เม่ือศึกษาจากบทเรียน
อีเลิร์นนิ่ง (Condition)
       3. 	 เลือกวธิ กี ารสอน สื่อ และวสั ดปุ ระกอบการเรียน (Select instructional methods, media, and
materials) เม่ือก�ำหนดวัตถุประสงค์ได้แล้วขั้นต่อมาก็คือการ
            3.1 	เลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์นั้นเน้นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ กระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ไป
พร้อม ๆ กัน ดังนั้น กระบวนการเรียนการสอนท่ีใช้ในการเรียนวิทยาศาสตร์จึงประกอบด้วย

                1) 	กระบวนการสบื เสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนท่ีมุ่ง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซ่ึงผู้เรียนจะต้อง
เสาะแสวงหาความรู้ คิด และแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ จน
เกิดความเข้าใจ และเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของ
นักเรียนเอง โดยมีครูเป็นผู้อ�ำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือแนะน�ำเท่าท่ีจ�ำเป็น การสอนแบบ
สืบเสาะหาความรู้ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด รู้จักเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง ท�ำให้สามารถเรียนรู้
หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้เร็วข้ึน ส่งผลให้เป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

                2) 	กระบวนการแกป้ ญั หา (Problem solving process) การเรยี นรแู้ บบแกป้ ัญหานจ้ี ะช่วย
พัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์
และสรุปความ ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีข้ันตอน มีเหตุผล ฝึกการท�ำงานร่วมกันและ
แลกเปล่ียนความคิดเห็นประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นการคิดแก้ปัญหาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
(Scientific method) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาท่ีมีขั้นตอน มีเหตุผล มีการรวบรวมข้อมูล มีการทดลอง
วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

                3) 	กิจกรรมการคิดและปฏิบัติ (Hand-on Mind-on activities) เป็นกระบวนการเรียน
การสอนท่ีผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิด และลงมือปฏิบัติ เม่ือผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ หรือได้ท�ำ
การทดลองต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์และได้สังเกตผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ก็จะเกิดความคิดและค�ำถามที่
หลากหลาย อันจะน�ำไปสู่การถามค�ำถาม การอธิบาย การอภิปราย หาข้อสรุป และการศึกษาต่อไป กิจกรรม
ในลักษณะน้ีจึงส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกคิด และต้ังค�ำถาม อันจะน�ำมาสู่การสร้างความรู้
ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ และเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36