Page 29 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 29
แนวคิดเก่ียวกับสื่อและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-19
1) เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยผ่านทางส่ือการสอนท่ีมี
ประสิทธิภาพและรูปแบบการเรียนการสอนท่ีน่าสนใจและเอ้ือต่อการเรียนรู้มากยิ่งข้ึน
2) พัฒนาการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ โดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
การศึกษาทางด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ
การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
3) สนับสนุนการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยให้
ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เช่น อีเลิร์นนิ่ง เอ็มเลิร์นนิ่ง หรือการเรียนการสอนบนเว็บ เป็นต้น
4) สง่ เสรมิ การศกึ ษาตลอดชวี ติ เพราะผเู้ รยี นสามารถศกึ ษาหาความรไู้ ดจ้ ากแหลง่ ขอ้ มลู และ
สารสนเทศต่าง ๆ ได้ทุกเวลาและทุกสถานท่ีท่ีต้องการ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
5) เพิ่มปฏิสัมพันธ์ในการเรียน ไม่ว่าจะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียน
กับผู้เรียนด้วยกันเอง ผ่านทางส่ือปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางส่ือสังคมออนไลน์
หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเรื่องที่ 1.1.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 1.1.2
ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 1 ตอนท่ี 1.1 เรื่องท่ี 1.1.2
เรือ่ งที่ 1.1.3 แนวทางการใช้ส่ือในการเรยี นการสอนวิทยาศาสตร์
สื่อการศึกษามีบทบาทที่ส�ำคัญอย่างย่ิงในการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างย่ิงการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาและเรียนรู้ ด้วยการพัฒนาทักษะในการสืบค้นและแก้ปัญหาด้วย
ตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนและอ�ำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่ือการ
ศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมในการเรียน จากการได้เห็น
ได้ยินและได้สัมผัส ส่ือการศึกษาเหล่าน้ี มีต้ังแต่สื่อง่าย ๆ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ หุ่นจ�ำลองที่ช่วยให้ผู้เรียน
เข้าใจเนื้อหาสาระได้ดีขึ้น ไปจนถึงส่ือท่ีต้องอาศัยวัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีท่ีทันสมัย เช่น การใช้ส่ือ
คอมพวิ เตอรจ์ ำ� ลองสถานการณ์ การทดลองในหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารเสมอื น หรอื การเรยี นผา่ นเครอื ขา่ ยอนิ เทอรเ์ นต็
ที่เป็นส่ือท่ีมีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้าและเปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังน้ัน จึงต้องมี
การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะส�ำหรับการออกไปด�ำรงชีวิตในโลกของศตวรรษท่ี 21 วิจารณ์ พานิช
(2555, น. 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพ่ือการด�ำรงชีวิตในศตวรรษท่ี 21 ไว้ว่า สาระวิชาก็มีความส�ำคัญ แต่
ไม่เพียงพอส�ำหรับการเรียนรู้เพ่ือมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content