Page 21 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 21

ส่ือการจัดการเรียนรู้ท่ีใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์จ�ำแนกตามวิธีสอน 5-11

ท่ีมีอยู่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต ในรูปของคลิปวิดีโอ หรือการทดลองเสมือนจริงหรือแอนนิเมชั่น
ที่มีผู้ท�ำและเผยแพร่ไว้ โดยส่ือที่ต้องใช้เพิ่มเติมคือโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนท่ีสามารถติดต้ัง
แอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นช่องทางให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นอย่างรวดเร็ว หรือผู้สอนอาจจัดหาส่ือท่ี
เป็นสิ่งของท่ีต้องการให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล โดยจัดสร้าง QR code ที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ท่ีแสดงข้อมูลท่ี
ต้องการน�ำมาติดไว้ท่ีส่ิงของดังกล่าว ให้ผู้เรียนน�ำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือ เช่น น�ำไปติดไว้ท่ีรูปของ
นักวิทยาศาสตร์ เช่น ชาส์ล ดาวิน เมื่อน�ำสมาร์ทโฟนไปสัมผัสก็จะมีการเช่ือมต่อกับเว็บไซต์ท่ีแสดงข้อมูล
ประวัตแิ ละผลงานของชาส์ล ดาวิน ออกมาให้ผเู้ รยี นไดส้ ืบค้นเพอ่ื ตอบค�ำถามขอ้ สงสยั และเนอ่ื งจากลักษณะ
ของสอ่ื ทนี่ ำ� มาใชเ้ ปน็ แหลง่ ขอ้ มลู ใหผ้ เู้ รยี นสบื คน้ มคี วามหลากหลายจงึ จะไดน้ ำ� เสนอใหเ้ หน็ ในตวั อยา่ งตอ่ ไปนี้

       ตัวอย่างที่ 2.1 ในกรณีท่ีผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนค้นพบว่าวิธีการแยกสารหลายชนิดที่ผสมกันอยู่
ออกจากกันโดยมีขอบเขตของการแยกสาร ประกอบด้วย 1) การแยกสารเน้ือผสมที่เป็นของแข็งปนอยู่กับ
ของเหลว 2) การแยกสารท่ีเป็นของแข็งสองชนิดท่ีมีมวลต่างกันออกจากกัน 3) การแยกสารท่ีเป็นของแข็ง
สองชนิดท่ีมีความสามารถในการละลายในตัวท�ำละลายต่างกันออกจากกัน 4) การแยกสารท่ีเป็นของแข็งและ
ของเหลวรวมกันอยู่ในลักษณะของสารละลายออกจากกัน ผู้สอนจึงใช้ส่ือการสอนเป็นชุดทดลอง 4 ชุด ให้
ผู้เรียนได้ท�ำการทดลองโดยแบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม ให้ท�ำการทดลองดังนี้

            กลุ่มที่ 1	 – 	ชุดทดลองแยกนํ้าผสมเศษผงลักษณะแขวนลอย
            กลุ่มที่ 2 	– 	ชุดทดลองแยกเม็ดทรายและกรวดที่ปนกันอยู่ออกจากกัน
            กลุ่มท่ี 3 	– 	ชุดทดลองแยกผงถ่านกับผงเกลือแกง
            กลุ่มที่ 4 	–	 ชุดทดลองแยกเกลือออกจากนํ้าเกลือ
       สื่อการสอนที่ใช้คือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองรวมถึงใบงานและแบบบันทึกผลการทดลองที่
ผู้สอนจัดเตรียมให้ หรืออาจเป็นส่ือคลิปวิดีโอแสดงการแยกสารลักษณะเดียวกับหัวข้อท่ีน�ำเสนอ หรือเป็น
ภาพเสมือนหรือแอนนิเมชั่นแสดงการแยกสารดังกล่าวให้ผู้เรียนได้ดูอย่างชัดเจน ท้ังน้ี มีข้อสังเกตว่าการใช้
สื่อเสมือนดังกล่าวอาจมีผลให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องมือการทดลองวิทยาศาสตร์
ดังน้ัน จึงควรกระจายการใช้สื่ออย่างหลากหลายจะท�ำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
       ตวั อยา่ งท่ี 2.2 ในกรณีท่ีผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนค้นพบความรู้เรื่องสารในชีวิตประจ�ำวันโดยก�ำหนด
ขอบเขตไว้เป็นสาร 4 กลุ่ม คือ 1) สารปรุงรสอาหาร 2) สารแต่งสีอาหาร 3) สารท�ำความสะอาด และ 4) สาร
ก�ำจัดแมลงศัตรูพืช โดยรวบรวมข้อมูลเป็นความรู้ 4 เรื่อง ดังนี้
            1)	 สารปรุงรสอาหาร ครอบคลุมเน้ือหา ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างของสารปรุงรส
อาหาร
            2)	 สารแต่งอาหาร ครอบคลุมเน้ือหา ความหมาย ประโยชน์ และการแบ่งประเภทตามท่ีมา
เป็นประเภทธรรมชาติและสังเคราะห์
            3)	 สารท�ำความสะอาด ครอบคลุมเนื้อหา ความหมาย ส่วนประกอบ ประโยชน์ และการแบ่ง
ประเภทตามการใช้งานกับร่างกายและเส้ือผ้าของใช้
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26