Page 25 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 25
สื่อการจัดการเรียนรู้ท่ีใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์จ�ำแนกตามวิธีสอน 5-15
นอกจากการใช้ส่ือที่มีลักษณะเปรียบเทียบสองตัวอย่างนี้แล้วผู้สอนยังสามารถคิดหาสื่อที่มีลักษณะ
เปรียบเทียบกับความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์เรื่องอ่ืน ๆ ได้อีก ตามความเหมาะสมและการใช้ความคิด
สร้างสรรค์ของผู้สอน
3. ข้ันอธิบายและลงขอ้ สรปุ (Explain)
ในขั้นตอนการสอนน้ีผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนน�ำค�ำตอบที่เป็นข้อมูลจากการท�ำงานในขั้นส�ำรวจและ
คน้ หามาประมวล/สงั เคราะหเ์ พอื่ ตอบคำ� ถามสง่ิ ทสี่ นใจ/สงสยั ทตี่ งั้ ประเดน็ ไวใ้ นขน้ั สรา้ งความสนใจ สอ่ื การสอน
ท่ีใช้ในขั้นตอนน้ีคือ การแสดงข้อมูลท่ีบันทึกไว้จากการท�ำงานในขั้นส�ำรวจและค้นหา และชุดของค�ำถาม/
ค�ำส่ังที่ผู้สอนใช้ช่วยน�ำทาง ให้ผู้เรียนเช่ือมโยงเป็นค�ำอธิบายและข้อสรุป สิ่งท่ีผู้เรียนค้นพบและน�ำมาตอบ
คำ� ถามสง่ิ ทส่ี งสยั ลกั ษณะของสอ่ื อาจแสดงดว้ ยขอ้ มลู ในตารางบนั ทกึ ผล และอาจเปลยี่ นมาเปน็ กราฟทแี่ สดง
ให้เห็นการเปล่ียนแปลงได้ง่ายข้ึนหรือการแสดงข้อมูลผลการทดลองของผู้เรียนแต่ละกลุ่มบนกระดาน หรือ
ถ้าข้อมูลมีจ�ำนวนมากหลายกลุ่มผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อมูลของตนเองในกระดาษแผ่นใหญ่
แล้วน�ำมาติดไว้ในบริเวณห้องเรียนก็ได้ และควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงการอธิบายและลงข้อสรุปของ
ตนเองอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยอาจใช้สื่อวัสดุต่าง ๆ ให้ผู้เรียนใช้ประกอบค�ำอธิบาย เช่น การให้เขียน
แผนผังความคิดสรุปวิธีการแยกสารที่มีลักษณะต่าง ๆ การจัดจ�ำแนกสารเคมีในชีวิตประจ�ำวัน การประมวล
ความรู้เรื่องผลของสารเคมีที่มีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม การสรุปความหมายของดอกสมบูรณ์และ
ดอกไม่สมบูรณ์ และการสรุปได้ว่าการท�ำให้วัตถุ/สารมีขนาดเล็กลงท�ำให้สารมีพ้ืนที่ผิวมากข้ึนท�ำให้เกิดการ
ท�ำปฏิกิริยาได้มากข้ึนส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพ่ิมขึ้น ตามตัวอย่างท่ีได้เสนอไว้ข้างต้น
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นลักษณะของการจัดการเรียนการสอนและใช้ส่ือเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้
ผู้เรียนได้น�ำเสนอค�ำอธิบายค�ำตอบที่ตนเองค้นพบจากข้ันตอนของการส�ำรวจและค้นหาเป็นการเน้นย้ํา
การท�ำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายของผู้เรียนให้ชัดเจนมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด
เชื่อมโยงส่ิงท่ีค้นพบจากการส�ำรวจและค้นหามาสร้างอธิบายของตนเองได้อย่างชัดเจน และผู้สอนยังสามารถ
ติดตามดูการเปล่ียนแปลงความคิดของผู้เรียนได้ ตลอดจนการได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความคิด
ของตนเองกับผู้อื่นในการเรียนรู้เร่ืองเดียวกัน และมีโอกาสได้ปรับแต่งแนวคิดของตนผ่านการพูดคุยและ
การเขียน ซ่ึงผู้สอนสามารถใช้ส่ือการสอนท่ีช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นข้อมูลความคิดของตนเองและผู้อื่นปรากฏ
ข้ึนอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ส่ือการสอนช่วยแสดงข้อมูลเหล่านั้น เช่น การเขียนข้อความนั้นบนกระดาน หรือ
SMART board ซึ่งผู้เรียนสามารถติดตามความคิดของตนเองและผู้สอนสามารถตรวจสอบความคิดของ
ผู้เรียนได้ทุกระยะ ส่ือการสอนจึงเป็นเคร่ืองมือช่วยให้ความคิดในสมองของผู้เรียนซ่ึงเป็นนามธรรมให้
กลายเป็นส่ิงที่เป็นรูปธรรมได้
เมื่อผู้สอนด�ำเนินการจัดการเรียนการสอนครบท้ัง 3 ขั้นตอน คือ 1) เร้าความสนใจ 2) ส�ำรวจและ
คน้ หา และ 3) อธบิ ายและลงขอ้ สรปุ แลว้ ถอื วา่ ครบรอบของการสบื เสาะหาความรู้ แตย่ งั มมี โนมตอิ นื่ ทตี่ อ้ งการ
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพ่ิมเติมเป็นมโนมติท่ีเช่ือมโยงต่อได้กับมโนมติที่ค้นพบและสร้างค�ำอธิบายไปแล้ว จึงเกิด
ขั้นตอนการสอนข้ันต่อไปคือขั้นขยายความรู้อาจเป็นการต้ังวงจรของการสืบเสาะหาความรู้วงจรใหม่เพิ่มข้ึน