Page 32 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 32
5-22 สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตลอดคาบการเรียนหรือใช้สลับกับวิธีสอนแบบอื่น ตามความเหมาะสมของเน้ือหาและลักษณะของผู้เรียน
ตลอดจนต้องค�ำนึงถึงความถนัดและความสามารถในการบรรยายของผู้สอนแต่ละคน และค�ำนึงถึงเทคนิค
การสอนที่ใช้ในการบรรยายด้วย ได้แก่
1) ควรบอกขอบเขตของเนื้อหาที่จะบรรยายเพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าก�ำลังเรียนเรื่องอะไร
2) สรุปใจความส�ำคัญของเรื่องหลังจากบรรยายจบแล้ว
3) มกี ารยกตวั อยา่ งหรอื ใชค้ ำ� ถามสลบั การบรรยายเพอื่ เรา้ ความสนใจและประเมนิ ผลการบรรยายดว้ ย
4) ใช้ส่ือการสอนประกอบการบรรยาย
5) ใช้นํ้าเสียงที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
6) สร้างบรรยากาศที่ดีโดยการแทรกอารมณ์ในขณะบรรยาย
นอกจากน้ัน สุทธิดา จ�ำรัส (2557, น. 8-45) ยังได้กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การบรรยายไว้ว่าเป็น
วิธีสอนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ ข้อเท็จจริงและความคิดต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน และสามารถน�ำมา
ใช้ได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้เน้ือหาวิชา แนวคิด เบ้ืองต้น ค�ำนิยามหลัก และการให้
ความกระจ่างชัดเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เพ่ือกระตุ้นหรือให้แนวทางท่ีจะท�ำให้ผู้เรียนเกิดความคิด หรือมีการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้สอนและผู้เขียน และยังเป็นวิธีสอนที่ใช้เพื่อประหยัดเวลาในการสอนและ
ใช้ได้กับการสอนที่มีผู้เรียนจ�ำนวนมากด้วย โดยมีข้อพึงระวังว่าไม่ควรใช้วิธีการบรรยายบอกความรู้โดยตรง
แก่ผู้เรียนโดยไม่มีการใช้ค�ำถามหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความคิดในเนื้อหาต่าง ๆ น้ัน
ในการสอนโดยการบรรยายท่ีมีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องใช้ส่ือการสอนประกอบการบรรยายด้วย
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจฟังการบรรยายตลอดเวลา โดยเฉพาะในการสอนผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ผู้สอนอาจใช้
อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาเข้ามาช่วย พร้อมกับการใช้วิธีสอนแบบอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การสาธิต หรือการ
อภิปราย จะดีกว่าการสอนโดยการบรรยายอย่างเดียว ในการใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาประกอบการบรรยาย
เช่น การฉายภาพสไลด์จากโปรแกรม การใช้ภาพยนตร์ หรือการใช้เคร่ืองฉายภาพข้ามศีรษะจะต้องค�ำนึงถึง
ความสะดวก และประสิทธิภาพของการใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา และผู้สอนต้องมีความรู้ท่ีจะใช้อุปกรณ์
นั้น ๆ ตลอดจนมีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนใช้งานด้วย นอกจากน้ันการใช้สื่อการสอน
ยังมีบทบาทส�ำคัญในการสอนโดยการบรรยาย ดังตัวอย่างต่อไปน้ี
1.1 การใช้สือ่ การสอนในการยกตัวอยา่ ง
เม่ือผู้สอนต้องการยกตัวอย่างประกอบการบรรยาย ผู้สอนสามารถใช้รูปภาพหรือกราฟรวมถึง
การเปรียบเทียบส่ิงที่ผู้เรียนรู้จักและคุ้นเคย เป็นการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของผู้เรียน เช่น
เปรียบเทียบการปล่อยลมจากลูกโป่งท�ำให้เห็นลูกโป่งเคลื่อนท่ีไปในทิศตรงข้ามกับลมที่ปล่อยออกมากับการ
เคล่ือนท่ีของจรวด สิ่งที่ใช้ประกอบการบรรยายคือภาพเคล่ือนไหวแสดงการเคลื่อนท่ีของลูกโป่งไปในทิศทาง
ตรงกันข้ามกับลมที่ปล่อยออกมาจากลูกโป่ง