Page 34 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 34

5-24 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

       1.3 	การใช้สื่อการสอนประกอบการตง้ั คำ� ถาม
       ในขณะบรรยายควรมกี ารตง้ั คำ� ถามประกอบดว้ ยเพอ่ื เปน็ การเรา้ ความสนใจและชว่ ยเชอ่ื มโยงความคดิ
ของผู้เรียน ส่ือการสอนประเภทรูปภาพ หรือภาพยนตร์ส้ัน ๆ ที่น�ำเสนอเรื่องราวท่ีชัดเจนและน่าสนใจเป็นส่ิง
กระตุ้นให้เกิดประเด็นค�ำถามได้ ทั้งค�ำถามที่มาจากผู้สอนและผู้เรียน น�ำไปใช้เชื่อมโยงกับเนื้อหาท่ีใช้ในการ
บรรยายได้ ค�ำถามท่ีใช้ควรเป็นค�ำถามปลายเปิดท่ีต้องตอบโดยการอธิบาย ไม่ใช่ค�ำถามปลายปิดที่ตอบว่าใช่
หรือไม่ใช่เท่าน้ัน ค�ำถามแบบนี้ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด
       1.4 	การใช้สอื่ การสอนเพอื่ ช่วยการสรปุ ความรู้
       ในช่วงท้ายของการบรรยายเมื่อผู้สอนต้องการสรุปบทเรียน สามารถใช้ส่ือประเภทสัญลักษณ์ เช่น
การเขียนสูตรหรือสมการเคมีแสดงผลของการเกิดปฏิกิริยาเคมี หรือการเสนอแผนผังแสดงการจัดหมวดหมู่
ของข้อมูลความรู้ หรือเสนอภาพวงจรแสดงการเกิดวัฏจักรของสิ่งต่าง ๆ หลังจากได้บรรยายข้อมูลต่าง ๆ
นั้นไปแล้ว
       1.5 	การใช้ส่ือการสอนโดยการบรรยายเพอื่ การสอนซอ่ มเสรมิ
       ในการสอนซ่อมเสริมส�ำหรับผู้เรียนที่ต้องการเรียนซํ้าและผู้เรียนที่ต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติม
ผู้สอนสามารถสร้างส่ือการบรรยายเป็นเทปเสียงบรรยายความรู้เรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเปิดฟังซ้ําได้เท่าท่ี
ต้องการจะฟังเป็นการทบทวนความรู้ หรือใช้การบันทึกเสียงเพ่ือบรรยายความรู้เกี่ยวกับส่ิงต่าง ๆ ท่ีต้องการ
สอนโดยไม่ต้องบรรยายด้วยตัวเอง เช่น ผู้สอนได้จัดท�ำสวนพฤษศาสตร์ข้ึนในโรงเรียน ภายในสวนประกอบ
ด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ จ�ำนวนมากและจัดให้มีข้อมูลรายละเอียดที่เป็นความรู้เกี่ยวกับต้นไม้แต่ละต้น ผู้สอน
จะได้จัดการบันทึกเสียงบรรยายข้อมูลน้ัน ๆ ติดต้ังไว้ตรงบริเวณต้นไม้แต่ละต้น เม่ือผู้เรียนต้องการความรู้
เกี่ยวกับต้นไม้ชนิดใดก็กดปุ่มเสียงให้เปิดจะได้ฟังข้อมูลดังกล่าวตามต้องการ หรือใช้ส่ือที่เชื่อมโยงกับแหล่ง
ข้อมูลในเว็บไซต์ของอินเทอร์เน็ตโดยใช้การสร้าง QR code ร่วมกับการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้เรียน
ด้วยวิธีการและสื่อการสอนน้ีผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาชีววิทยาจากการสอนโดยใช้การบรรยายของครู
นอกชั้นเรียนได้ทุกเวลาท่ีต้องการ

2. 	สอ่ื การจดั การเรียนรูว้ ิทยาศาสตร์โดยการอภปิ ราย

       การอภิปราย เป็นกิจกรรมส�ำคัญในการจัดการเรียการสอนวิทยาศาสตร์ ใช้เม่ือต้องการให้ผู้เรียน
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพ่ือส�ำรวจหรือตรวจสอบเร่ืองราวหรือประเด็นปัญหาท่ีต้องการค�ำตอบ อาจเป็น
ส่วนหนึ่งของข้ันตอนการสอนหลาย ๆ วิธี เช่น ในข้ันตอนการสอนโดยการสืบเสาะหาความรู้ เมื่อผู้เรียน
ได้ท�ำกิจกรรมส�ำรวจตรวจสอบแล้วได้ข้อมูลท่ีจะไปสรุปเพื่อให้ได้ค�ำตอบของปัญหาท่ีสงสัย ผู้สอนจะใช้การ
อภิปรายเป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนน�ำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเป็นข้อสรุปในข้ันตอนการสอน อธิบายและลง
ข้อสรุปได้ นอกจากน้ันยังใช้การอภิปรายในกิจกรรมการสร้างความสนใจ โดยการน�ำเสนอข้อมูลหรือสร้าง
เหตุการณ์ที่น�ำไปสู่การสร้างประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงหรือโต้แย้ง เพื่อน�ำทางไปสู่การต้ังประเด็นค�ำตอบ
และการหาค�ำตอบหรือในอีกมุมมองหน่ึง ผู้สอนอาจใช้การอภิปรายเป็นเคร่ืองมือให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้
อย่างเป็นทางการโดยการจัดประชุมซึ่งมีวิธีการจัดได้หลายรูปแบบ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39