Page 36 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 36

5-26 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

       3) 	การสาธิตเพ่ือประกอบการอธิบายปรากฏการณ์ ซึ่งโดยส่วนมากผู้สอนจะใช้แบบจ�ำลอง
ในการสาธิต สื่อท่ีใช้จึงเป็นแบบจ�ำลองเร่ืองต่าง ๆ เช่น การสาธิตปรากฏการณ์ข้างข้ึนข้างแรม แบบจ�ำลอง
โครงสร้างอะตอม แบบจ�ำลองโครงสร้างโมเลกุลแบบต่าง ๆ ของสารประกอบโคเวเลนต์

       จากสถานการณ์การใช้ส่ือการสอนในการสาธิตผู้สอนต้องมีการเตรียมตัวอย่างดีโดยการฝึกซ้อม
การใช้ส่ือต่าง ๆ นั้นเป็นอย่างดีเพ่ือให้แสดงการสาธิตได้โดยไม่ติดขัด ตลอดจนการตรวจสอบความพร้อม
ของเคร่ืองมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดีใช้งานได้ดี และขณะสาธิตต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนได้เห็น
การสาธิตอย่างชัดเจน ถ้าผู้เรียนมีจ�ำนวนมากอาจต้องหาอุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้การถ่ายภาพโทรทัศน์จอใหญ่
เป็นสื่อเสริม และการใช้อุปกรณ์ขยายเสียง ปัจจุบันมีไมโครโฟนขนาดเล็กและติดตั้งไว้ใกล้ปากท�ำให้ไม่ต้อง
ใช้มือจับในขณะบรรยายประกอบการสาธิต จะช่วยให้ผู้สอนแสดงการสาธิตได้อย่างคล่องตัวและเป็น
ธรรมชาติมากข้ึน ผู้สอนจ�ำเป็นต้องฝึกฝนการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวด้วย

              หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 5.1.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 5.1.2
                      ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 5 ตอนที่ 5.1 เรื่องที่ 5.1.2

เรอ่ื งที่ 5.1.3 	สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์ท่ีเนน้ บรบิ ท

       การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นบริบทเป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีต้องการเช่ือมโยงวิทยาศาสตร์
ในต�ำราเรียนเข้ากับวิทยาศาสตร์ในชีวิตจริงของผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาค�ำกล่าวที่ว่าวิทยาศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง
กับชีวิตที่จะกล่าวถึงในเร่ืองนี้มี 2 วิธีคือ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสังคมและการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยการไปศึกษานอกสถานท่ี โดยจะกล่าวถึง
สื่อการสอนที่ใช้ในแต่ละข้ันของวิธีการสอนแต่ละวิธี ดังน้ี

1. 	สื่อการจดั การเรียนการสอนวิทยาศาสตรต์ ามแนวคดิ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยแี ละสงั คม

       การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม หรือ STS
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนโดยใช้ประเด็นปัญหาสังคมเป็นแกนของเรื่องน�ำเข้า
สูบ่ ทเรียนและนำ� ทางใหผ้ ้เู รยี นได้เรยี นรู้ เน้อื หาของวิทยาศาสตร์ผา่ นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ท่ีแทรกอยู่
ในข้ันตอนของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด STS ผู้เรียนจะได้ความรู้วิทยาศาสตร์จากการตอบ
ข้อสงสัยของตนเอง และยังได้สร้างจิตส�ำนึกสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย ส่ือการสอนที่
ใช้ต้องเชื่อมโยงปัญหาเทคโนโลยีและสังคมกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ท่ีต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41