Page 51 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 51
ส่ือการจัดการเรียนรู้ท่ีใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์จ�ำแนกตามวิธีสอน 5-41
จากข้อมูลท่ีบันทึกได้ผู้สอนสามารถใช้ค�ำถามน�ำให้ผู้เรียนตอบเพ่ือสรุปเป็นความหมายของสมบัติ
บางประการของสาร คือ ความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเหนียว ของสารที่เป็นของแข็ง และความใส ความ
ข้นหนืดของสารที่เป็นของเหลวได้ ตามมโนมติที่ก�ำหนดไว้
ตวั อยา่ งที่ 6 การน�ำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน
มโนมต ิ - ก ารน�ำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน เป็นการเคลื่อนที่ของความร้อนผ่าน
ตัวกลางจากที่มีความร้อนมากไปยังท่ีที่มีความร้อนน้อยกว่า ต่างกันท่ีลักษณะ
การเคลอ่ื นทผี่ า่ นตวั กลางโดยการนำ� ความรอ้ นอนภุ าคของตวั กลางไมม่ กี ารเคลอ่ื นที่
การพาความร้อนอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนท่ีไปพร้อมกับความร้อน และ
การแผ่รังสีความร้อนเป็นการกระจายความร้อนจากแหล่งก�ำเนิดไปยังปลายทาง
โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง
สอื่ การสอน - สามารถใช้ส่ือการสอนได้หลายแบบ ได้แก่
1 . ชุดทดลองการน�ำความร้อนโดยใช้วัสดุหลายชนิด เช่น แท่งไม้ แท่งแก้ว แท่งเหล็ก
แท่งพลาสติกโดยน�ำก้อนดินนํ้ามันมาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ติดไว้ท่ีแท่งวัสดุแต่ละชนิด
เปน็ ระยะหา่ งเทา่ ๆ กนั แลว้ ใหค้ วามรอ้ นทป่ี ลายขา้ งหนงึ่ ของวสั ดแุ ตล่ ะชนดิ เพอ่ื สงั เกต
การหลอมละลายของก้อนดินนํ้ามัน เป็นการแสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของความร้อน
โดยอนุภาคของตัวกลางไม่เคลื่อนที่ และยังสามารถเปรียบเทียบความสามารถใน
การน�ำความร้อนของวัสดุต่างชนิดกันได้ด้วย ส่วนการพาความร้อนแสดงได้จากการ
ทดลองจุดธูปแล้วควํ่าลงเพ่ือสังเกตการเคล่ือนที่ของอากาศที่น�ำควันธูปเคลื่อนที่จาก
ด้านลา่ งขน้ึ มาด้านบน แสดงการเคล่อื นของอากาศที่เป็นอนุภาคของตัวกลางในการพา
ความร้อน และการแผ่รังสีความร้อนใช้การทดลองก่อกองไฟหรือจุดไฟในเตาถ่าน
ให้ผู้เรียนยืนล้อมวง และบอกความรู้สึกอบอุ่น/ร้อนเมื่ออยู่ใกล้กองไฟ จากนั้นผู้สอน
ตั้งค�ำถามให้ผู้เรียนเปรียบเทียบลักษณะการเคล่ือนที่ของความร้อนทั้งสามแบบ
2 . การอธบิ ายประกอบสอ่ื โมเดลจำ� ลอง หรอื ใหน้ กั เรยี นแสดงบทบาทสมมตเิ ปน็ อนภุ าค
ของตัวกลางและให้ลูกบอลแทนความร้อน ในการน�ำความร้อนให้นักเรียนหลายคน
ยืนอยู่ชิดกันเป็นแถวตอนแล้วให้นักเรียนที่อยู่หัวแถวส่งลูกบอลให้คนต่อมาเรื่อย ๆ
จนถึงคนสุดท้ายปลายแถว แสดงให้เห็นว่าลูกบอลสามารถเคล่ือนที่ได้โดยที่อนุภาค
ตัวกลางอยู่นิ่งไม่เคล่ือนท่ี ในการพาความร้อนให้นักเรียน 2 คน ยืนอยู่ห่างกันแล้วให้
นกั เรยี นคนที่ 1 ถอื ลกู บอลเดนิ ไปสง่ ใหน้ กั เรยี นคนที่ 2 แสดงใหเ้ หน็ วา่ ลกู บอลสามารถ
เคล่ือนที่ได้โดยเดินทางไปพร้อมกับตัวกลาง และในการแผ่รังสีความร้อนให้นักเรียน
2 คนที่ยืนอยู่ห่างกัน คนที่ 1 ถือลูกบอลไว้แล้วโยนให้นักเรียนคนท่ี 2 รับไว้แสดง
ให้เห็นว่าลูกบอลสามารถเคลื่อนที่ไปยังท่ีหมายได้โดยไม่ต้องอาศัยการเคล่ือนท่ี
ของตัวกลาง
3. ผู้สอนสามารถใช้การสืบค้นแบบจ�ำลองเสมือนหรือแอนนิเมช่ันแสดงการเคล่ือนท่ี
ของความร้อนแบบต่าง ๆ ของวัตถุจากเว็บไซต์ท่ีเกี่ยวข้องกับการสอนวิทยาศาสตร์ได้
เป็นต้น