Page 66 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 66
5-56 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ส่ือที่ใช้ในการสอน คือ วัสดุที่อ�ำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เขียนผังกราฟิกแบบการวางแผน
ด้วยตนเอง หลังจากได้ผ่านการเรียนรู้ และฝึกฝนการท�ำงานอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว จนสามารถประมวล
และเรียบเรียงความคิดและการท�ำงานของตัวเองได้แล้ว
4. ส่ือประกอบการจัดการเรียนการสอนเพอื่ พัฒนาความคดิ สรา้ งสรรคท์ างวทิ ยาศาสตร์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดแบบอเนกนัย (divergent thinking)
ซ่ึงประกอบด้วยความสามารถย่อย ๆ ในการคิด 4 ประเภท คือ ความคิดคล่อง (fluency) ความคิดยืดหยุ่น
(flexibility) ความคิดริเริ่ม (originality) และความคิดละเอียดลออ (elaborative) โดยมีการใช้จินตนาการ
เป็นตัวช่วย การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดริเริ่ม คิดละเอียดลออ และใช้จินตนาการบ่อยคร้ัง
จะท�ำให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง
วิทยาศาสตร์ สามารถท�ำได้ 2 แนวทาง หลัก ๆ คือ การแทรกค�ำถามหรือค�ำสั่งให้ผู้เรียนได้ท�ำ/แสดงการคิด
ที่เป็นองค์ประกอบท้ัง 4 รวมท้ังการใช้จินตนาการในกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาในขั้นตอนของวิธีสอนต่าง ๆ
ท่ีเลือกใช้ หรือสร้างเป็นชุดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะโดยใช้ข้อมูล/บริบทท่ีเป็น
เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไปท่ีไม่ใช่เน้ือหาท่ีสอนตามหลักสูตรปกติในโรงเรียน แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการ
ตามแนวทางใดก็ต้องใช้สื่อการสอนเป็นตัวช่วยเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปน้ี
4.1 ตัวอย่างการใช้สื่อการสอนในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยการแทรกลงใน
กิจกรรมการเรียนการสอนเน้ือหาตามหลักสูตรปกติ
ตวั อยา่ งที่ 1 ผสู้ อนตอ้ งการสอนใหผ้ เู้ รยี นเรยี นรกู้ ารแยกสารดว้ ยวธิ ตี า่ ง ๆ ไดแ้ ก่ การกรอง การกลนั่
การสกัดด้วยตัวท�ำละลาย โดยการสอนให้เข้าใจหลักการของแต่ละวิธีก่อนประกอบการสาธิตโดยใช้อุปกรณ์
ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการหรือให้ดูวีดิทัศน์จากส่ือออนไลน์ แล้วสั่งงานให้ผู้เรียนเลือกสารในชีวิตประจ�ำวันที่
หาได้ในท้องถ่ินมาแยกโดยให้ออกแบบการน�ำวัสดุของใช้ในชีวิตประจ�ำวันมาท�ำเป็นเครื่องมือแทนการใช้
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ในกิจกรรมน้ีผู้เรียนจะได้ฝึกความคิดยืดหยุ่นคือการใช้วัสดุอุปกรณ์บางอย่างท่ี
เป็นของใช้ในชีวิตประจ�ำวันที่เคยใช้ในงานอย่างหน่ึง เอามาใช้ในงานอย่างอื่นได้ด้วย เช่น ขวดนํ้าท่ี
เอาไว้ใส่น้ําดื่มแต่น�ำมาท�ำเป็นท่ีกรองน้ําโดยการบรรจุวัสดุช่วยกรองหลายชนิดเป็นช้ัน ๆ ในขวดน้ํา และได้
ฝึกความคิดริเริ่มท�ำสิ่งที่ไม่เหมือนใคร หรือส่ิงท่ีตัวเองไม่ได้คิดมาก่อน
สื่อการสอนท่ีใช้คืออุปกรณ์สาธิตการปฏิบัติการ หรือวีดิทัศน์จากสื่อออนไลน์ และ
วัสดุของใช้ในชีวิตประจ�ำวันท่ีผู้เรียนเลือกจัดหามาใช้ผลิตผลงานตามกิจกรรมที่มีผู้สอนก�ำหนด
ตวั อยา่ งท่ี 2 ในการสอนเรอ่ื งแหลง่ กำ� เนดิ แสงตามเนอื้ หาคอื แหลง่ กำ� เนดิ แสง แบง่ ไดเ้ ปน็ แหลง่ กำ� เนดิ
แสงตามธรรมชาติและแหล่งก�ำเนิดแสงท่ีมนุษย์สร้างขึ้น ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันคิดและบอกช่ือส่ิงท่ีให้แสง
สว่างได้ที่ผู้เรียนรู้จักมาให้ได้มากท่ีสุดภายในเวลาจ�ำกัดที่ก�ำหนดให้ เม่ือผู้เรียนบอกชื่อ ผู้สอนบันทึกทุกชื่อ
บนกระดาน เม่ือหมดเวลาท่ีก�ำหนด ผู้สอนให้ผู้เรียนคิดจัดกลุ่มข้อมูลที่บันทึกไว้บนกระดาน พร้อมตั้งช่ือ
กลุ่มท่ีจัดข้ึน ในกิจกรรมน้ีผู้เรียนจะได้ฝึกคิดคล่อง คือคิดชื่อสิ่งท่ีให้แสงสว่างได้ท่ีผู้เรียนรู้จักมาให้ได้มาก
ท่ีสุด ส่ือการสอนพ้ืนฐานท่ีใช้คือวัสดุและอุปกรณ์ท่ีใช้ช่วยบันทึกข้อมูลและน�ำเสนอให้ผู้เรียนได้เห็นข้อมูล