Page 69 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 69
ส่ือการจัดการเรียนรู้ท่ีใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์จ�ำแนกตามวิธีสอน 5-59
ผงชูรสได้หลายประเด็น ซึ่งจะเป็นต้นทางให้ผู้เรียนได้สืบค้นเพ่ือหาค�ำตอบเกี่ยวกับการบริโภคผงชูรส
อย่างถูกต้องได้ต่อไป
ข้อควรระวังของการใช้สื่อในการกระตุ้นให้เกิดปัญหาต้องไม่มีการสรุปหรือเฉลยค�ำตอบของสิ่งท่ี
น่าสงสัย เพราะต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดปัญหา และต้องได้ค้นพบค�ำตอบด้วยตนเอง
ตวั อยา่ งที่ 2 ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการผลิตน้ําประปา และการใช้ประโยชน์จาก นํ้า
ประปาโดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยว่าน้ําประปาดื่มจากก๊อกได้จริงหรือไม่ สามารถใช้
หุงข้าวได้โดยตรงหรือไม่ คลอรีนในนํ้าประปามีอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งมีส่ือใน You Tube จ�ำนวน
มากที่น�ำเสนอผลจากการใช้นํ้าประปาในแง่มุมต่าง ๆ ถ้าได้น�ำเสนอให้กับผู้เรียนทั้งข้อมูลท่ีเสนอตามกันและ
ข้อมูลที่ขัดแย้งกันจะท�ำให้เกิดประเด็นปัญหาและน�ำไปสู่การสืบค้นหาค�ำตอบและค้นพบความรู้ได้ในที่สุด
ซึ่งในข้ันตอนของการสืบค้นข้อมูล ผู้สอนก็สามารถใช้สื่อใน YouTube ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ควรเลือกแหล่ง
ข้อมูลท่ีน่าเช่ือถือ เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์ของการประปานครหลวงได้โดยตรง
นอกจากส่ือการสอนที่ใช้กระตุ้นให้เกิดการต้ังประเด็นปัญหา และส่ือที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลใน
การสืบค้นหาค�ำตอบแล้วยังมีส่ือที่ใช้ในขั้นตอนอื่น ๆ ของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานตามข้ันตอนใน
ตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เร่ือง มลพิษทางอากาศตามข้ันตอนการสอนแบบใช้ปัญหา
เปน็ ฐานแนวคดิ /สาระส�ำคญั
ปัญหาส่ิงแวดล้อมท่ีมนุษย์ก�ำลังประสบอยู่ในปัจจุบันท่ีส�ำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของ
ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่ส�ำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อย ๆ
หลายปัญหา เช่น มลพิษทางนํ้า มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหา
เหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของส่ิงมีชีวิตได้ ซ่ึงการป้องกันแก้ไขปัญหา
ส่ิงแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนท่ีจะต้องช่วยกัน
จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
เม่ือเรียนเรื่องส่ิงแวดล้อมและมลพิษแล้ว นักเรียนสามารถ
1. อธิบายสาเหตุการเกิดมลพิษทางอากาศได้
2. บอกผลกระทบของมลพิษในอากาศได้
3. ยกตัวอย่างวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปราศจากมลพิษได้
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ก�ำหนดปัญหา ผู้สอนให้สถานการณ์ปัญหา (scenario) จากคลิปวิดีโอท่ีมีสาระตามที่เสนอ
ในกรอบข้างล่างนี้ให้ผู้เรียนดู โดยแบ่งผู้เรียนเป็น กลุ่มกลุ่มละ 8-10 คน