Page 51 - อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
P. 51
จริยธรรมในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ 3-41
ด้วยตัวเอง ตลอดท้ังท�ำความเข้าใจกับแนวทางปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพิ่มบทบาท
ในการด�ำเนินการและสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากข้ึน
1.2 สว่ นทอ้ งถน่ิ
1.2.1 น�ำแผนชุมชนมาประกอบการจัดสรรงบประมาณการพัฒนาท้องถิ่นและผลักดันการ
ดำ� เนินงานภายใต้แผนชมุ ชนใหบ้ ังเกดิ ผลเปน็ รูปธรรม โดยการระดมทรพั ยากรภายในพนื้ ทรี่ ับผดิ ชอบท้ังจาก
ภาครัฐ เอกชน พัฒนาเอกชน และชุมชน เพ่ือสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของท่ีน�ำไปสู่การพัฒนา
ชุมชน โดยชุมชน เพ่ือชุมชน
1.2.2 จัดบริการทางเศรษฐกิจและสังคมข้ันพ้ืนฐานให้ชุมชนอย่างท่ัวถึงและมีประสิทธิภาพ
คนในชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน การศึกษา สาธารณสุข และการคุ้มครองทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน
1.2.3 ประสานความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ในทุกระดับตั้งแต่ชุมชน จังหวัด
กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ ในการด�ำเนินโครงการและกิจกรรมการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
ชุมชนอย่างกว้างขวางในหลายมิติ พร้อมท้ังสนับสนุนให้มีมาตรการทางสังคมเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบ
บริการต่าง ๆ ให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม โดยมีมาตรการคุ้มครองผู้ที่ท�ำประโยชน์เพื่อชุมชน/สังคม
1.2.4 พัฒนาฐานข้อมูลท้องถิ่น ให้เป็นระบบและปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งข้อมูลครัวเรือน
ข้อมูลศักยภาพท้องถ่ินในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การรวมกลุ่มและการจัดกิจกรรมของชุมชน ทุนทางเศรษฐกิจ
ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนภูมิปัญญาท้องถ่ินและปราชญ์หรือผู้น�ำตามธรรมชาติในชุมชน สนับสนุน
การจัดการองค์ความรู้ในชุมชน ประสานสถาบันการศึกษาในพ้ืนท่ี และเปิดเวทีให้ภาคประชาสังคมมีบทบาท
ในการร่วมพัฒนาและเป็นแกนในการจัดการองค์ความรู้
1.2.5 พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลของชุมชน และจัดท�ำตัวช้ีวัดความเข้มแข็งของ
ชุมชนในมิติต่าง ๆ เช่น ตัวชี้วัดความสุขของชุมชน ทั้งความสุขภายในจิตใจ เช่น การเข้าถึงหลักศาสนา
ความภาคภูมิใจในท้องถ่ิน เป็นต้น และความสุขภายนอก เช่น การมีครอบครัวอบอุ่น การมีปัจจัยส่ีพอเพียง
การมีหลักประกันในชีวิต เป็นต้น
2. ภาคเอกชน
ภาคเอกชนในรปู แบบของสมาคมผปู้ ระกอบการอาหารและโภชนาการในแตล่ ะกลมุ่ ผลติ ภณั ฑอ์ าหาร
2.1 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพ่ือสร้างองค์ความรู้ และยกระดับภูมิปัญญาท้องถ่ิน ท�ำวิจัย
ร่วมกับชุมชน เป็นหุ้นส่วนของชุมชนในการต่อยอดภูมิปัญญา ประสานและสร้างความสมดุลระหว่าง
ภาคเศรษฐกิจและชุมชน
2.2 สนับสนุนทรัพยากร วิทยากร สร้างอาชีพในชุมชน และร่วมรับผิดชอบต่อชุมชนรอบ
สถานประกอบการ ให้มีกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสังคม รวมท้ังมีการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดีงามของชุมชน
2.3 สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน การบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน การสร้างผู้ประกอบการใหม่ ร่วมสร้าง
ผลิตภัณฑ์ของชุมชนจากความหลากหลายทรัพยากรและศักยภาพของชุมชน สนับสนุนทั้งในรูปเงินลงทุน
โอกาสทางการตลาด องค์ความรู้ โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม