Page 43 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 43

แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-33

ที่แสดงแนวทางและข้ันตอนการด�ำเนินการวิจัย การก�ำหนดโครงสร้างแสดงรูปแบบ (model) ความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรในการวิจัย และการเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสมในการด�ำเนินการวิจัยแต่ละขั้นตอนให้ได้ผล
การวิจัยที่เป็นค�ำตอบที่ถูกต้องของปัญหาวิจัย (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2552, น. 45)

       การออกแบบการวิจัย ประกอบด้วย การออกแบบวิธีการวิจัย (research approach design)
การออกแบบการเลือกตัวอย่าง (sampling design) ในการวิจัยเชิงปริมาณ หรือการเลือกผู้ให้ข้อมูล
(information) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การออกแบบเคร่ืองมือและการรวบรวมข้อมูล (instrumental and
data collection design) ซ่ึงข้อมูลท่ีได้มานี้ต้องสามารถตอบปัญหาของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด
ไว้ได้อย่างถูกต้อง แม่นย�ำ เป็นปรนัย และประหยัด และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis
design)

       การออกแบบวิธีการวิจัยทางการศึกษาท่ีใช้มาก ได้แก่ แบบการวิจัยท่ีมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
แบบการวิจัยที่เก็บข้อมูลเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ และแบบการวิจัยผสมวิธี ซึ่งนักศึกษาจะได้ศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติมเก่ียวกับการออกแบบการวิจัยได้จากหน่วยที่ 4

       5.	 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การออกแบบการเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย
การก�ำหนดประชากรส�ำหรับการวิจัย การก�ำหนดขนาดและวิธีสุ่มตัวอย่างท่ีให้ได้ตัวอย่างที่มีขนาดเพียงพอ
และเป็นตัวแทนของประชากร ซ่ึงนักศึกษาจะได้ศึกษารายละเอียดเพ่ิมเติมเกี่ยวกับการออกแบบการเลือก
กลุ่มตัวอย่างได้จากหน่วยที่ 5

       6.	 การสรา้ งเครอ่ื งมอื วจิ ยั ในการวิจัยโดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจ�ำเป็นต้องใช้เคร่ืองมือเพื่อวัด
ตวั แปรทตี่ อ้ งการศกึ ษาออกมาเปน็ ขอ้ มลู เชงิ ปรมิ าณหรอื ตวั เลขเพอ่ื วเิ คราะหแ์ ละนำ� ผลการวเิ คราะหม์ าอธบิ าย
ตัวแปรน้ัน ๆ เคร่ืองมือวิจัย หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์หรือเทคนิควิธีการท่ีผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย
เคร่ืองมือวิจัยจะเป็นสะพานเชื่อมท่ีส�ำคัญระหว่างปัญหา วัตถุประสงค์ และสมมติฐานการวิจัย กับข้อมูล
ท่ีใช้เป็นหลักฐานในการตอบปัญหาวิจัย เครื่องมือวิจัยมีหลากหลาย เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
แบบสังเกต แบบทดสอบ ซ่ึงนักศึกษาจะได้ศึกษารายละเอียดเพ่ิมเติมเก่ียวกับการสร้างเคร่ืองมือแบบ
ต่าง ๆ ได้จากหน่วยที่ 6-8

       7.	 การรวบรวมข้อมูล (collect the data) ในการด�ำเนินการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่า
ในการท�ำการวิจัยนั้นจะรวบรวมข้อมูลจากประชากร หรือตัวอย่าง ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะท�ำการรวบรวมนั้นเป็น
ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

            ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลเบื้องต้น ส่วนใหญ่
จะเป็นข้อมูลท่ีเกิดจากค�ำถามในการวิจัย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจะต้องพิจารณาว่าจะใช้เคร่ืองมือ
อะไร เก็บข้อมูลโดยวิธีใด จ�ำนวนเท่าไร จะเก็บข้อมูลเมื่อไร จะบริหารการเก็บข้อมูลอย่างไรให้ได้ข้อมูลครบ
ถ้วนตามจ�ำนวนท่ีต้องการ

            ขอ้ มลู ทตุ ิยภมู ิ (secondary data) เป็นข้อมูลซ่ึงเก็บรวบรวมมาก่อนแล้วเพ่ือจุดมุ่งหมายอื่นซึ่ง
อาจจะเอามาใชป้ ระกอบในงานวจิ ยั ได้ ขอ้ มลู ทตุ ยิ ภมู อิ าจจะอยใู่ นระบบขอ้ มลู ภายในสถานศกึ ษา หรอื องคก์ ร
ทางการศึกษา เช่น รายงานผลการเรียนของนักเรียน ข้อมูลการประกันคุณภาพของสถานศึกษา คะแนนสอบ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48