Page 43 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 43
การวัดด้านทักษะพิสัย 7-33
1.1 ความตรงเชิงเนื้อหา เป็นคุณสมบัติของแบบสังเกตที่มีเน้ือหาครอบคลุมครบถ้วนตาม
วัตถุประสงค์ของการวัด ส�ำหรับการวัดด้านทักษะพิสัยมุ่งตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของเนื้อหาที่วัด
กระบวนการปฏิบัติหรือผลงานท่ีได้จากการปฏิบัติหรือครอบคลุมท้ังสองส่วนตามที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ การ
ตรวจสอบความตรงเชิงเนอ้ื หานิยมใช้การตดั สินของผูเ้ ช่ียวชาญในสาขาทใี่ หผ้ ู้เรยี นปฏบิ ัติ กระบวนการตรวจ
สอบความตรงเชิงเน้ือหามีข้ันตอนที่ส�ำคัญ ดังน้ี
1.1.1 ส�ำรวจแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้เช่ียวชาญและก�ำหนดจ�ำนวนผู้เชี่ยวชาญ ปกติจะใช้
ผู้เช่ียวชาญ 3-5 คน
1.1.2 เตรยี มแบบสงั เกตพรอ้ มเอกสารทเี่ กย่ี วขอ้ งใหผ้ เู้ ชย่ี วชาญตรวจสอบ เชน่ วตั ถปุ ระสงค์
ของหลักสูตร คุณลักษณะของงานท่ีให้ปฏิบัติ สัดส่วนของน้ําหนักความส�ำคัญของคุณลักษณะต่าง ๆ
แบบฟอร์มส�ำหรับให้ผู้เช่ียวชาญแต่ละท่านแสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
1.1.3 รวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา
(รายการปฏบิ ัตงิ าน) กับวัตถปุ ระสงค์เป็นรายขอ้ ซึ่งรายละเอยี ดเก่ยี วกบั การวิเคราะห์ศกึ ษาได้จากหน่วยท่ี 5
1.2 ความตรงเชงิ เกณฑส์ มั พนั ธ์ เป็นคุณสมบัติของแบบสังเกตที่วัดได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
และให้ผลสอดคล้องกับการวัดโดยใช้เคร่ืองมืออื่นหรือข้อมูลอื่นท่ีเชื่อถือได้ซึ่งน�ำมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ
กระบวนการในการตรวจสอบความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์มีขั้นตอน ดังน้ี
1.2.1 น�ำแบบสังเกตที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่ม
ตัวอย่างแล้วบันทึกข้อมูลไว้
1.2.2 น�ำเครื่องมืออ่ืนที่เช่ือถือได้วัดคุณลักษณะเดียวกันกับแบบสังเกตที่สร้างข้ึนไปทดสอบ
กับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มเดิมในข้อ 1.2.1 แล้วบันทึกข้อมูลไว้
1.2.3 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของข้อมูลในข้อ 1.2.1 และ 1.2.2 โดย
เลือกใช้สูตรค�ำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับระดับการวัดของข้อมูล เช่น สูตรสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน เป็นต้น ซ่ึงศึกษารายละเอียดใน
การวิเคราะห์ได้จากหน่วยที่เกี่ยวข้อง
1.3 ความตรงเชิงโครงสรา้ ง เป็นคุณสมบัติของแบบสังเกตท่ีมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าแบบสังเกต
วัดความสามารถด้านทักษะพิสัยของผู้เรียนได้สอดคล้องกับโครงสร้างของทักษะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างมีข้ันตอน ดังนี้
1.3.1 หาวิธีการที่เช่ือถือได้มาจ�ำแนกความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้เรียนกลุ่มที่มี
ลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง โดยปกติจะให้ผู้สอนซึ่งคุ้นเคยและท�ำการสอนกลุ่มผู้เรียนมาเป็นเวลา
นานจนสามารถจ�ำแนกทักษะในการปฏิบัติงานของผู้เรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดีเป็นผู้ให้ข้อมูล แบ่งผู้เรียน
เป็นกลุ่มที่มีทักษะปฏิบัติสูงและกลุ่มที่มีทักษะปฏิบัติตํ่า บันทึกข้อมูลส่วนน้ีไว้
1.3.2 น�ำแบบสังเกตท่ีสร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้เรียนในข้อ 1.3.1 แล้วบันทึกข้อมูลไว้
1.3.3 วิเคราะห์ข้อมูลซ่ึงท�ำได้โดยการค�ำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของ
กลุ่มท่ีมีทักษะปฏิบัติสูงและกลุ่มที่มีทักษะปฏิบัติต่ํา โดยใช้สูตรสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน หาก