Page 78 - ภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย
P. 78

10-68 ภาษาถ่นิ และวรรณกรรมทอ้ งถน่ิ ไทย

เรื่องที่ 10.3.1
วิถีชีวิตและความเป็นอยู่

       วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ส่วนใหญ่ท้ังมุขปาฐะและลายลักษณ์มีเน้ือหาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของ
ชาวปกั ษใ์ ต้ เพราะวรรณกรรมนน้ั เปน็ เร่ืองราวของคนที่แสดงพฤตกิ รรมหรือบทบาทโลดแลน่ ไปตามปกติ
วิสัยของความเปน็ มนุษย์ ดังนั้นเมอื่ พิจารณาเนอื้ หาของวรรณกรรมในฐานะที่เป็นเคร่ืองสำ� แดงชีวติ ความ
เปน็ อยขู่ องคนในท้องถิน่ ภาคใต้ จ�ำแนกได้ 3 ประการ คอื การแตง่ กาย การอย่กู ารกิน และการประกอบ
อาชพี มดี ังน้ี

1. 	การแต่งกาย

       การท�ำความเข้าใจลักษณะการแต่งกายของผู้คนชาวปักษ์ใต้ ขอผู้ศึกษาได้พิจารณาลักษณะ
การแตง่ กายของตัวหนังตะลุงจากภาพต่อไปนี้

                                ภาพที่ 10.14 ตัวหนังตะลุงภาคใต้

ท่ีมา: 	https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=794&tbm=isch&sa=1&ei สืบค้นเม่ือวันที่ 16 มีนาคม 2561.

       ตวั หนังตะลงุ ขา้ งตน้ เป็นภาพแทนของชายชาวบ้านภาคใต้ในสมยั โบราณ มลี ักษณะการแตง่ กาย
แบบเดียวกนั คือไม่สวมรองเทา้ ไม่สวมเสื้อ ส่วนผ้านงุ่ จะเหน็ ได้ว่ามี 2 แบบ คอื นุ่งโสร่งหรอื ผ้าถุงแบบ
ตัวหนังตะลุง “เท่ง” และ “หนูนุ้ย” นุ่ง และแบบท่ีสองคือนุ่งกางเกงขาท่อนหรือสนับเพลาตามแบบ
ตวั หนังตะลงุ “ยอดทอง” “สแี ก้ว” และ “สะหมอ้ ” ตัวหนงั ตะลุง “ยอดทอง” เหนบ็ กริชไว้ท่สี ะเอวแสดง
ใหเ้ หน็ ว่าชายชาวบา้ นภาคใต้บางคนจะเหนก็ รชิ เพอื่ วตั ถปุ ระสงคห์ ลายประการ เช่น เป็นอาวธุ หรอื ไวใ้ ช้
ประโยชน์จากคมของกริช ลักษณะการแต่งกายโดยพิเคราะห์จากตัวหนังตะลุงดังกล่าวเป็นการแต่งกาย
แบบสบายๆ ไมเ่ ปน็ ทางการ
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83