Page 25 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 25
สุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์ 1-15
เรื่องที่ 1.1.3
สุนทรียศาสตร์และศิลปะ
สนุ ทรียศาสตรต์ ามแบบแผนในศตวรรษท่ี 18 และ 19 นน้ั ถูกครอบง�ำด้วยแนวคิดท่ีวา่ “ศิลปะ
คือการเลียนแบบธรรมชาติ” ดังน้ันทั้งผู้ประพันธ์นวนิยายและผู้ประพันธ์บทละครในอังกฤษ อิตาลี และ
ฝรั่งเศสต่างก็นิยมน�ำเสนอเร่ืองราวแนวเหมือนจริงเก่ียวกับชีวิตของชนช้ันกลาง ซ่ึงรวมไปถึงจิตรกรใน
ยุคคลาสสิกใหม่ (neoclassical) จิตรกรกลุ่มจินตนิยม (romantic) และจิตรกรกลุ่มสัจนิยม (realist)
ต่างกแ็ สดงออกทางความคดิ ของตนเอง โดยใหค้ วามสนใจถึงรายละเอยี ดทีเ่ หมอื นจริงมาก
คำ� ถามทเี่ กดิ ขนึ้ เกยี่ วกบั สนุ ทรยี ศาสตรแ์ บบประเพณนี ยิ มเสนอวา่ “ศลิ ปวตั ถุ คอื สงิ่ ทม่ี ปี ระโยชน์
หรอื มแี ตค่ วามงาม” “จติ รกรรมสามารถจะทำ� ใหเ้ กดิ การระลกึ ถงึ เหตกุ ารณใ์ นประวตั ศิ าสตรห์ รอื วา่ กระตนุ้
ใหเ้ กดิ ความถกู ตอ้ งตามทำ� นองคลองธรรม” “ดนตรสี ามารถจะปลกุ ความเลอื่ มใสศรทั ธา หรอื วา่ ปลกุ เรา้ ให้
เกดิ ความรกั ประเทศชาต”ิ “บทละครทเี่ ขยี นโดยผปู้ ระพนั ธบ์ างคน โดยเฉพาะบทละครของ ดมู สั (Dumas)
และเฮนริค อบิ เสน (Henrik Ibsen) ชาวนอรเ์ วย์ สามารถจะรับใชส้ งั คมโดยการวจิ ารณ์ และน�ำไปสู่การ
ปฏริ ปู ทางสงั คมไดห้ รอื ไม”่ แตจ่ ะดว้ ยคำ� ตอบหรอื วธิ กี ารใดกต็ ามทน่ี ำ� มาใช้ มโนคตหิ รอื ความคดิ กา้ วหนา้
เก่ียวกับสุนทรยี ศาสตรใ์ นศตวรรษที่ 19 เริม่ เป็นสงิ่ ท่เี ขา้ มาท้าทายกบั มุมมองแบบดงั้ เดมิ แล้ว จดุ เปล่ียนท่ี
สงั เกตเหน็ ไดช้ ดั คอื ภาพวาดของจติ รกรกลมุ่ ลทั ธอิ มิ เพรสชนั นสิ มแ์ บบฝรงั่ เศส (French Expressionism)2
เชน่ โคลด โมเนต์ (Claude Monet) คอื ศลิ ปนิ คนหนง่ึ ทไี่ ดป้ ระกาศยกเลกิ วธิ กี ารเขยี นภาพตามหลกั วชิ า
ท่ีมีแต่ด้ังเดิม แล้วหันมาวาดภาพตามที่เขาคิดว่า “อะไรคือสิ่งที่ควรจะมองเห็นในภาพ” มากกว่าการ
วาดภาพจากสิ่งท่ีเห็นจริง สิ่งท่ีควรมองเห็นในภาพวาดเหล่าน้ัน ได้แก่ สีสัน รูปคล่ืนของแสงและเงาที่
ถูกทำ� ให้บิดเบือนไป เหมอื นกับการเคลอื่ นท่ขี องแสงจากดวงอาทิตย์
ชว่ งหลงั ศตวรรษท่ี 19 จติ รกรลทั ธหิ ลงั อมิ เพรสชนั นสิ ม์ (post-impressionism) อกี หลายคน รวมทง้ั
วนิ เซนต์ ฟาน โกะ (Vincent Van Gogh) ไดใ้ ห้ความสนใจเกยี่ วกบั โครงสรา้ งของการวาดภาพและการ
แสดงออกทางจติ ใจมากกวา่ การใหเ้ ปน็ ภาพตวั แทนของวตั ถทุ ม่ี อี ยใู่ นโลกธรรมชาติ กระทงั่ กอ่ นศตวรรษที่
20 ความสนใจเก่ียวกับโครงสร้างของการวาดภาพนี้ได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยจิตรกรลัทธิคิวบิสม์
(Cubism) ชาวสเปน ชอื่ ปาโบล ปกิ าสโซ (Pablo Picasso) และจติ รกรลทั ธเิ อก็ เพรสชนั นสิ ม์ (Expres-
sionism) ชาวเยอรมัน ช่ือ แอนส์ ลุดวิก เคียชเนอร์ (Ernst Ludwig Kirchner) ภาพวาดของ
เหลา่ จติ รกรลทั ธหิ ลงั อมิ เพรสชนั นสิ มน์ ้ี เปน็ งานทดี่ ไู ดง้ า่ ยขนึ้ เพราะไดล้ ะทงิ้ สว่ นทเ่ี ปน็ รายละเอยี ดออกไปแลว้
2 หลกั สนุ ทรยี ภาพของลทั ธอิ มิ เพรสชนั นสิ ม์ คอื การเนน้ รปู ทรงดว้ ยสี แสง และเงา รวมทงั้ แสงทส่ี ะทอ้ นและเงาทตี่ กทอด
ใช้หลักการสร้างภาพลวงตาท�ำให้ภาพดูลึกและต้ืน ใกล้และไกล ด้วยเส้นน�ำสายตา ต่อมาใช้สีและแสงเข้ามาช่วยให้ภาพเกิดความ
กระจ่างใส