Page 16 - ภาษาและทักษะเพื่อการสื่อสาร
P. 16
15-6 ภาษาและทกั ษะเพื่อการสอ่ื สาร
เรื่องที่ 15.1.1
ความหมายและขอบเขตของการแปล
1. ความหมายของการแปล
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของค�ำว่า “แปล” ซึ่งเป็น
คำ� กรยิ าไว้ ดงั น้ี
แปล (กริยา): “ถา่ ยความหมาย จากภาษาหน่งึ มาเป็นอีกภาษาหนงึ่ ทำ� ใหเ้ ข้าใจความหมาย”
พจนานุกรมนิวเว็บสเตอร์ (The New Webster Dictionary) ไดใ้ หค้ วามหมายเกยี่ วกบั การแปล
ในเรื่องของภาษาไว้ดังน้ี
คำ� translate: “to render into another language; to interpret; to explain by using other
words; to express in other terms”
ค�ำแปล คำ� translate “ถ่ายทอดจากภาษาหน่ึงไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ตีความหมาย อธิบายโดยใช้
ค�ำอย่างอ่ืน แสดงออกโดยใช้ถ้อยค�ำอย่างอ่ืน”
เมอ่ื เปรียบเทียบความหมายจากพจนานุกรมไทยและองั กฤษแลว้ กอ็ าจจะสรุปได้ว่า
“แปล (กริยา) คือ ถ่ายทอดความหมายจากภาษาหน่ึงไปยังอีกภาษาหนึ่ง”
ท่ีกล่าวมาแล้วน้ีเป็นความหมายของค�ำว่า “แปล” ซ่ึงเป็นค�ำกริยา ดังน้ัน “การแปล” ซ่ึงเป็น
ค�ำนาม จงึ อาจจะสรปุ ความหมาย ได้ดังน้ี
“การแปล คือ การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึง่ ไปยังอกี ภาษาหนง่ึ การตคี วามหมายหรือการ
ท�ำให้เข้าใจความหมาย การอธิบายโดยใช้ถ้อยค�ำส�ำนวนอย่างอ่ืน”
นักปราชญ์ด้านการแปลตา่ งให้ความหมายของการแปลดงั นี้
จอหน์ วายคลฟิ (John Wycliffe, 1330-1384) นกั ปราชญช์ าวองั กฤษกลา่ ววา่ การแปลคอื การ
แปลประโยคให้ไดค้ วามชัดเจนโดยใชภ้ าษาของคนสามัญ
มารต์ นิ ลเู ธอร์ (Martin Luther) นกั ปราชญช์ าวเยอรมนั ซง่ึ มชี วี ติ อยใู่ นระหวา่ ง ค.ศ. 1483-1546
กล่าวว่า การแปล คือการสามารถถ่ายทอดวิญญาณของต้นฉบับออกมาให้ได้และให้สามัญชนสามารถ
เขา้ ใจได้
เจ.พ.ี วเิ นย์ และ เจ. แดนเบเนท (J.P.Vinay and J. Danbenet, 1960) กลา่ ววา่ การแปลเปน็ การ
วเิ คราะห์ ความหมายของภาษาโดยพจิ ารณาจากหนา้ ทข่ี องคำ� และความหมายของคำ� ตามแนวภาษาศาสตร์
(ทงั้ นเี้ ป็นการริเริม่ แนวคดิ ทวี่ า่ การแปลเป็นศาสตร์ หรอื วิทยาการแปล Science of Translation)
ยูจีน เอ. ไนดา (Eugene A. Nida, 1964) ผู้เช่ียวชาญทฤษฎีการแปลชาวอเมริกันกล่าวว่า
การแปลมใิ ช่การถ่ายทอดความหมายของขอ้ ความจากภาษาหนงึ่ ไปยงั อีกภาษาหนึ่งเท่านน้ั แต่ตอ้ งรกั ษา
รปู แบบของขอ้ ความไว้ใหด้ ตี รงตามตน้ ฉบับ