Page 15 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 15
ทฤษฎีองค์การแ ละก ารจัดการ 2-13
เร่ืองที่ 2.1.2
แนวคดิ การจดั การเชิงกระบวนการ
แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งได้กล่าวในเรื่องที่ 2.1.1 นั้นในทรรศนะของนักทฤษฎีองค์การเป็น
แนวคิดที่แคบ กล่าวคือ ไม่ได้เสนอแนวคิดและวิธีการที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาหลักอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับการ
ออกแบบโครงสร้างข องอ งค์การได้ ดังจะเห็นได้ว่านอกเหนือจ าก เรื่องของการว างแผนแ ละการอ ำนวยการแ ล้ว หน้าที่
ทางการจัดการด้านอื่น เช่น การจัดองค์การ การควบคุมและการจัดคนเข้าทำงานไม่ได้รับการให้ความสำคัญและ
นำม าศ ึกษาว ิเคราะห์ก ัน ดังเช่น ส่วนท ี่ข าดน ี้จ ึงเป็นเรื่องท ีน่ ักท ฤษฎีส มัยห ลังได้น ำม าว ิเคราะห์ซ ึ่งผ ลง านข องน ักท ฤษฎี
องคก์ ารต ามแ นวค ดิ ก ารจ ัดการในยุคคลาสส ิกท ีจ่ ะน ำม าเสนอในเรือ่ งน ีจ้ ะเปน็ ผ ลง านข อง อองร ิ ฟาโยล์ (Henri Fayol)
ลูเธอร์ กูลิค และลินดอลล์ เออร์วิค (Luther Gulick and Lyndall Urwick) เจมส์ มูนี และแ อลเล็น เรลล ี (James
Mooney and Allen Reilly) และแ ม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
ผลง านข อง อองร ิ ฟาโยล์ (1841-1825)
ผลงานของฟาโยล์นั้นได้รับการพิจารณายอมรับว่าเป็นงานที่เข้ามาเสริมแนวคิดของเทย์เลอร์ให้สมบูรณ์ขึ้น
กล่าวคือ แนวคิดของเทย์เลอร์นั้นให้ความสำคัญกับการจัดการในระดับปฏิบัติการ ส่วนของฟาโยล์นั้นเน้นการ
จัดการในร ะดับสูง โดยฟ าโยล์ซ ึ่งเป็นผู้บ ุกเบิกเกี่ยวกับก ารก ำหนดห ลักก ารทางการจ ัดการเชิงบ ริหาร (Principles of
Administrative Management) ได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาในยุโรปเป็นภาษาฝรั่งเศส และได้รับการแปลเป็นภาษา
อังกฤษในช ื่อ General and Industrial Management ในป ี 1929 ผลง านโดยสรุปของฟ าโยล์นั้นพอจะน ำมาก ล่าว
ที่ส ำคัญๆ ได้ดังนี้
เกี่ยวก ับกิจกรรมข องการจ ัดการในอ ุตสาหกรรม ฟาโยล์ม องว่าป ระกอบไปด ้วยกิจกรรมต ่างๆ ซึ่งจำแนกได้
เป็น 6 ประเภท คือ9
1. กิจกรรมด้านเทคนิค (ด้านการผลิต)
2. กิจกรรมด้านก ารค ้า (ด้านก ารซื้อขายและแลกเปลี่ยน)
3. กิจกรรมด้านการเงิน (ด้านก ารหาแ หล่งทุนและใช้ประโยชน์สูงสุดจากท ุน)
4. กิจกรรมด้านความมั่นคง (ด้านก ารป้องกันทรัพย์สินและบุคคล)
5. กิจกรรมด้านบัญชี (ด้านการจ ัดค ุมสินค้า การจัดทำง บดุล ต้นทุนแ ละสถิติ)
6. กิจกรรมด้านการจัดการ (ด้านการวางแผน การจัดการองค์การ การสั่งการ การประสานงาน และการ
ควบคุม)
จากก ิจกรรมต ่างๆ ข้างต ้นน ีฟ้ าโยลเ์ห็นว ่าก ิจกรรมด ้านก ารจ ัดการเป็นก ิจกรรมท ีต่ ้องใหค้ วามส ำคัญม ากท ี่สุด
ดังน ั้น จึงได้เน้นผ ลง านในห นังสือท ี่เขาเขียนโดยให้ค วามส ำคัญก ับห น้าที่ด ้านก ารจ ัดการเป็นพ ิเศษ โดยได้แ ยกศ ึกษา
เป็น 2 ประเด็น ประเด็นแรกเป็นเรื่องเกี่ยวก ับห ลักการของก ารจัดการ (principle of management) และป ระเด็น
ที่สองเกี่ยวกับองค์ป ระกอบข องห น้าที่ก ารจัดการ (element of management) ในก ารเน้นศึกษาป ระเด็นหลังนี้เป็น
บ่อเกิดข องแ นวคิดของก ารจ ัดการเชิงกระบวนการ (functional or process school) ต่อมา
ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักการจัดการนั้น ฟาโยล์ได้เสนอไว้เป็น 14 หลักการด้วยกันซึ่งจะขอนำเสนอแต่เพียง
โดยสรุป ดังน1ี้ 0
ลิขสิทธขิ์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช