Page 171 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 171

การจัดองค์การ 4-43

บริษัทป​ ระกันภ​ ัย 1		 	 	                  บริษัทป​ ระกันภ​ ัย 2

			                          บริษัทต​ ัวแทน
                        	 	                  บริษัทป​ ระกันภ​ ัย 4     
	
บริษัท​ประกันภ​ ัย 3		

                   ภาพ​ท่ี 4.16 ตวั อย่าง​องคก์ ารแ​ บบ​เสมือน​จริงใ​น​ลักษณะท​ ่เี​ป็นบ​ รษิ ัท​ตัวแทน

       จาก​ภาพ​ที่ 4.16 จะ​เห็น​ว่า​ตัวอย่าง​หนึ่ง​ของ​องค์การ​เสมือน​จริง​นี้​ก็​คือ​โบรกเกอร์​หรือ​ตัวแทน​นาย​หน้า​
การ​ประกัน​ภัย ซึ่ง​ไม่มี​ธุรกิจ​ประกัน​ภัย​เป็น​ของ​ตนเอง แต่​จะ​ทำ​หน้าที่​ประสาน​ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า​กับ​บริษัท​
ประกัน​ภัย โดย​ลูกค้า​อาจ​ได้​รับ​การ​บริการ​ที่​สะดวก​รวดเร็ว และ​ราคา​ถูก​กว่า​การ​ติดต่อ​กับ​บริษัท​ประกัน​ภัย​โดยตรง
ซึ่ง​นอกจากบ​ ริษัท​ตัวแทน​ประกัน​ภัยแ​ ล้ว ยังม​ ีธ​ ุรกิจอ​ ีก​หลายป​ ระเภทท​ ี่​มี​ลักษณะ​เป็นอ​ งค์การ​เสมือน​จริง เช่น บริษัท​
ที่​ถือ​หุ้น​ใน​บริษัท​อื่น (holding company) โดย​มี​ลักษณะ​เป็น​บริษัท​ที่​ประกอบ​ธุรกิจ​ด้วย​การ​ถือ​หุ้น​ของ​บริษัท​อื่นๆ
ทั้งหมดห​ รือ​บางส​ ่วน​จน​สามารถ​ควบคุมก​ ิจการข​ อง​บริษัทน​ ั้นไ​ด้ หรือ​ธุรกิจต​ ัวแทน​การจ​ อง​โรงแรมแ​ ละท​ ่อง​เที่ยวผ​ ่าน​
ทาง​อินเทอร์เน็ต ไม่ว​ ่าจ​ ะ​เป็น Octopus, Agoda, Expedia, Asiatravel, Hotelsthailand, Atsiam เป็นต้น

3. การจ​ ดั ​องค์การแ​ บบพ​ ีระมดิ ​กลับห​ วั

       องค์การ​แบบ​พีระมิด​กลับ​หัว (Inverted Pyramid Organization) เป็นการ​จัด​องค์การ​ที่​แย้ง​กับ​แนวคิด
ก​ ารจ​ ัดอ​ งค์การแ​ บบท​ างการห​ รือแ​ บบด​ ั้งเดิมท​ ีเ่​น้นก​ ารจ​ ัดอ​ งค์การแ​ บบส​ ูงห​ รือแ​ บบพ​ ีระมิด ซึ่งจ​ ะม​ สี​ ายก​ ารบ​ ังคับบ​ ัญชา​
มาก​และ​สั่ง​การ​จาก​บน​ลง​ล่าง ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง​จึง​มี​อำนาจ​มาก​ใน​ทุก​ด้าน การ​บริหาร​และ​การ​ดำเนิน​งาน ตลอด​จน​
การใ​ห้บ​ ริการเ​พื่อต​ อบส​ นองค​ วามต​ ้องการข​ องล​ ูกค้าห​ รือผ​ ู้รับบ​ ริการจ​ ึงข​ ึ้นอ​ ยู่ก​ ับผ​ ู้บ​ ริหารร​ ะดับส​ ูงเ​ป็นส​ ำคัญ องค์การ​
แบบท​ างการห​ รือแ​ บบด​ ั้งเดิมจ​ ึงม​ กี​ ารร​ วมอ​ ำนาจไ​วท้​ ีศ่​ ูนย์กลางม​ าก ส่งผ​ ลใ​หบ้​ ุคลากรผ​ ูป้​ ฏิบัตงิ​ านม​ อี​ ำนาจต​ ัดสินใ​จต่ำ
ตลอด​จน​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​บริหาร​และ​การ​ดำเนิน​งาน​ของ​องค์การ​น้อยห​รือ​จะ​มี​ส่วน​ร่วม​ได้​ตาม​คำ​สั่ง​ของ​ผู้​บริหาร​
เท่านั้น ทำให้​การ​จัดส​ ินค้าแ​ ละ​บริการ​ต่างๆ เพื่อ​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการข​ อง​ลูกค้าห​ รือผ​ ู้รับ​บริการ​เป็น​ไป​อย่าง​ล่าช้า
และข​ าด​ประสิทธิภาพ  

       การ​จัด​องค์การ​แบบ​พีระมิด​กลับ​หัว​จึง​เป็น​แนวคิด​ที่​มุ่ง​ปรับ​องค์การ​ให้​มี​สาย​การ​บังคับ​บัญชา​แนว​ราบ​ที่​
สอด​รับ​และ​ปรับ​ตัว​ได้​ง่าย​กับ​กระแส​การ​เปลี่ยนแปลง โดย​บทบาท​ของ​ผู้​บริหาร​และ​ผู้​ปฏิบัติ​งาน​ใน​องค์การ​แบบ​นี้​
จะ​เปลี่ยนแปลง​ไป​จาก​องค์การ​แบบ​ราชการ​ดั้งเดิม เพราะ​ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง​จะ​ทำ​หน้าที่​ใน​ฐานะ​ผู้​สนับสนุน​ใน​ด้าน​
การพ​ ัฒนาแ​ ละท​ รัพยากรต​ ่างๆ และจ​ ะม​ ุ่งท​ ำห​ น้าที่เ​ป็นผ​ ู้นำท​ ี่แท้จ​ ริงท​ ี่ก​ ระจาย​อำนาจแ​ ละใ​ห้อ​ ิสระใ​นง​ านแ​ ก่ผ​ ู้ใ​ต้บ​ ังคับ​
บัญชา ตลอดจ​ นจ​ ะบ​ ริหารเ​ฉพาะง​ านส​ ำคัญร​ ะดับบ​ นเ​ท่านั้น ส่วนผ​ ูบ้​ ริหารร​ ะดับร​ องล​ งม​ าอ​ ันไ​ด้แกผ่​ ูบ้​ ริหารร​ ะดับก​ ลาง​
และ​ระดับต​ ้น​จะม​ ี​บทบาท​ใน​ฐานะ​ผู้ใ​ห้ค​ ำ​ปรึกษา สอนง​ าน สนับสนุน​และ​ช่วย​แก้ไข​ปัญหา​ต่างๆ ใน​การป​ ฏิบัติ​งาน​แก่​
ผู้​ปฏิบัติ​งาน บทบาท​สำคัญ​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ใน​การ​ปฏิบัติ​งาน​ต่างๆ ตลอด​จน​การ​สร้าง​ความ​พึง​พอใจ​และ​ตอบ​สนอง​
ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า​หรือ​ผู้รับ​บริการ​จึง​ตก​อยู่​ที่​บุคลากร​ผู้​ปฏิบัติ​งาน​ที่​ถือ​เป็น​ผู้​ที่​ใกล้​ชิด ผู้​ที่​มี​ความ​ผูกพัน และ​
ผู้ท​ ี่​รู้​ถึงค​ วามต​ ้องการ​ของล​ ูกค้า​มาก​ที่สุด

ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176