Page 190 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 190
5-10 องค์การและการจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ช่วยให้ผ ู้ร ่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดขวัญกำลังใจ ไม่ท้อแท้เบื่อหน่าย เห็นความสำคัญของต นเองแ ละงานที่ท ำ
เกิดพลังและความตั้งใจที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่อไป ท้ายที่สุดจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้สำเร็จสมตาม
ความม ุ่งห มายที่ผ ู้นำค าดหวังไว้
3.4 ทักษะด ้านก ารตดิ ต่อส อื่ สาร ทักษะในการติดต่อส ื่อสารเป็นความสามารถพ ื้นฐานท ี่ผ ู้นำจ ะต้องม ีอยู่ก่อน
จึงจะเกิดทักษะอื่นๆ ได้ เพราะในการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นสิ่งแรกๆ ที่มักจะต้องทำก่อนที่จะจูงใจหรือสร้าง
ความศรัทธาให้เกิดขึ้นได้คือการสื่อสารให้ผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจในหลักการความคิดเป้าหมายและ
ความต้องการของต ัวผู้น ำเอง จุดน ี้เป็นจ ุดเริ่มต ้นที่ส ำคัญ เพราะอุดมการณ์ ความคิด และน โยบายข องผ ู้นำม ักจ ะเป็น
ปัจจัยห นึ่งที่ด ึงดูดให้ผู้ต ามเกิดก ารย อมรับและให้การสนับสนุนในเวลาต่อมา ดังนั้น หากผ ู้นำไม่ส ามารถส ื่อความคิด
และอุดมการณ์ของตนไปยังผู้ตามได้แล้วก็เป็นการยากที่จะได้รับความร่วมมือจากผู้อื่นในเวลาที่ต้องการ ทักษะใน
การติดต่อสื่อสารอาจแ สดงออกมาในรูปข องค วามสามารถในการใช้ถ ้อยคำ การเปรียบเทียบน ้ำเสียงแ ละกิริยาท ่าทาง
นอกจากนั้นยังอาจรวมถึงความสามารถในการแสวงหาและการกรองข่าวสารอีกด้วย โดยสรุปแล้วผู้นำควรจะเก่งทั้ง
ในการห าข ่าว ก ารกรองข่าวและการกระจายข่าว
3.5 ทกั ษะด ้านก ารต ัดสินใจ ทักษะด ้านน ี้หมายถ ึง ความส ามารถในการว ิเคราะห์ป ัญหา สืบค้นหาส าเหตุแ ละ
แนวทางแก้ไข พร้อมทั้งตัดสินใจแก้ปัญหาโดยเลือกแนวทางที่ให้ประโยชน์แก่องค์การมากที่สุด ทักษะทางด้านนี้จึง
ต้องอ าศัยท ั้งส ติป ัญญาค วามร ู้ และก ารฝ ึกฝนจ ากป ระสบการณ์จ นเกิดค วามช ำนาญ เนื่องจากผ ู้นำม ีหน้าท ี่ส ำคัญที่จ ะ
ต้องเข้ามาโอบอ ุ้มหรือช ่วยแก้ปัญหาให้แก่องค์การ เมื่อองค์การประสบภ าวะคับขัน ดังนั้นทักษะในการต ัดสินใจและ
แก้ป ัญหาจึงเป็นทักษะส ำคัญข องผู้นำท ี่จ ะช่วยนำพาให้องค์การอยู่รอดและดำเนินงานต่อไปได้
3.6 ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะด้านนี้หมายถึง ความสามารถในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์
ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของหน่วยงาน เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเป็นเรื่องของการแข่งขันในเรื่องเวลา
ประสิทธิภาพก ารท ำงานแ ละค วามร วดเร็วข องข ้อมูล ข่าวสาร ดังน ั้นผ ู้นำจ ึงค วรร ู้จักช ่วงช ิงค วามไดเ้ปรียบก ารป ระยุกต์
ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณของงาน รวมถึงรายได้ของบริษัท รวมทั้งผู้นำต้องรู้จักเฝ้า
ติดตามการเปลี่ยนแปลงข องเทคโนโลยีและนำมาประยุกต์ใช้ได้เหมาะส มก ับหน่วยงาน9
3.7 ทักษะในการเจรจาต่อรอง ทักษะนี้หมายถึง ความสามารถในการต่อรองไกล่เกลี่ย และจัดสรรผล
ประโยชน์ร ะหว่างบ ุคคลแ ละห น่วยง านต ่างๆ เนื่องจากต ำแหน่งแ ละง บป ระมาณต ่างๆ ทั้งภ ายในห น่วยง านแ ละร ะหว่าง
หน่วยง านม ักม ีน ้อยก ว่าค วามต ้องการ บุคคลบ างค นห รือห น่วยง านบ างแ ห่งจ ึงใช้ว ิธีก ารต ่างๆ เพื่อแ ข่งขันแ ละแ สวงหา
ผลประโยชน์ให้ตกอยู่กับตนหรือฝ่ายของตนให้มากที่สุด ผู้นำองค์การในปัจจุบันจึงมีภาระที่จะต้องคอยต่อรอง
ไกลเ่กลี่ยแ ละแ บง่ ส รรผ ลป ระโยชนเ์พือ่ ใหฝ้ ่ายต า่ งๆ พอใจห รอื ผ ิดห วงั น ้อยท ีส่ ดุ ทกั ษะในก ารเจรจาต อ่ ร องจ งึ เป็นเรือ่ ง
สำคัญที่ก ระทบถ ึงข วัญและกำลังใจของผ ู้ปฏิบัติงาน
9 ในเรื่องทักษะและหน้าที่ของผู้นำในหัวเรื่องนี้ผู้เขียนนำมากล่าวไว้เพียงบางส่วนเพื่อประกอบการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น ผู้นำยังมี
ทักษะแ ละห น้าที่อ ื่นๆ อีกห ลายอย่าง นักศึกษาที่ส นใจส ามารถศ ึกษาเพิ่มเติมได้จาก Chad T. Lewis. Joseph E. Garcia and Sarah M. Jols.
Managerial Skills in Organizations. Massachusetts: Allym and Bacon, Inc., 1990.
ลิขสิทธิข์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช