Page 199 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 199

                                                                        ผู้นำ​และก​ ารจ​ ูงใจ 5-19

            1) 	บุคลิก​ผู้นำ ทฤษฎี​ของ​ฟีด​เลอ​ร์​เริ่ม​ต้น​จาก​การ​พยายาม​วัด​ความ​โน้ม​เอียง​ที่​จะ​เป็น​ผู้นำ (The
Leadership Orientation) ของ​แต่ละ​คน​โดย​ใช้​แบบ​ทดสอบ​บุคลิกภาพ​ที่​เขา​เรียก​ว่า The Least Prefered
Co-worker Scale หรือเ​รียกย​ ่อๆ ว่า LPC16 เขาไ​ดท้​ ำการท​ ดสอบก​ ับผ​ ูบ้​ ริหารใ​นห​ น่วยง​ านต​ ่างๆ ผลจ​ ากก​ ารว​ ิเคราะห​์
คำ​ตอบใ​น​แบบท​ ดสอบ​ได้พ​ บ​บุคลิก​ผู้นำท​ ี่เ​ด่น​ชัด 2 แบบ คือ17

                 ก. 	บุคลิก​ผู้นำ​แบบ​มุ่ง​ความ​สัมพันธ์ (relationship motivated) ผู้นำ​ที่​มี​บุคลิก​แบบ​นี้​จะ​พยายาม​
สร้างส​ ัมพันธอ์​ ันด​ กี​ ับผ​ ูใ้​ตบ้​ ังคับบ​ ัญชาโ​ดยพ​ ยายามเ​อาใจใ​สด่​ ูแลท​ ุกขส์​ ุข ใหส้​ วัสดิการห​ รือค​ ่าต​ อบแทนท​ ีพ่​ วกเ​ขาพ​ อใจ
สร้าง​บรรยากาศ​การ​ทำงาน​ที่อ​ บอุ่นเ​ป็นก​ ันเอง ใ​ห้ค​ วามร​ ่วม​มือ​และ​ช่วย​เหลือ​ซึ่ง​กันแ​ ละ​กัน บุคลิกแ​ บบ​นี้​อาจ​เรียก​อีก​
อย่าง​ว่า แบบม​ ุ่งค​ น

                 ข. 	บุคลิก​ผู้นำ​แบบ​เน้น​งาน (task-motivated) ผู้นำ​ที่​มีบ​ ุคลิกแ​ บบน​ ี้​จะ​เอาแต่ท​ ำงานแ​ ละค​ ำนึงถ​ ึง​
ผล​สำเร็จข​ องง​ านเ​ป็น​หลัก ไม่ค​ ่อยจ​ ะค​ ำนึง​ถึงค​ วาม​รู้สึก​หรือค​ วาม​ต้องการข​ อง​ผู้​ใต้​บังคับ​บัญชา

       	 โปรดส​ ังเกตว​ ่าบ​ ุคลิกผ​ ู้นำท​ ั้ง 2 ประเภทม​ ีล​ ักษณะใ​กล้เ​คียงก​ ับแ​ บบพ​ ฤติกรรมผ​ ู้นำข​ องก​ ลุ่มโ​อไฮโอส​ ​เตท​
และก​ ลุม่ ม​ ชิ แิ กน เพยี งแ​ ตฟ​่ ดี เ​ลอร​ เ​์ หน็ ว​ า่ ล​ กั ษณะก​ ารม​ ุง่ ง​ านแ​ ละม​ ุง่ ค​ นเ​ปน็ บ​ คุ ลกิ ข​ องผ​ ูน้ ำซ​ ึง่ เ​ปน็ ค​ ณุ ลกั ษณะภ​ ายในต​ วั ​
บุคคล ส่วนก​ ลุ่มโ​อไฮโอส​ เ​ตทแ​ ละก​ ลุ่มม​ ิชิแกนเ​ห็นว​ ่าล​ ักษณะม​ ุ่งง​ านแ​ ละม​ ุ่งค​ นเ​ป็นพ​ ฤติกรรมข​ องผ​ ู้นำท​ ี่แ​ สดงออกมา​
ซึ่ง​สามารถ​สังเกต​เห็นไ​ด้อ​ ย่างช​ ัดเจน

            2) ปจั จัยส​ ถานการณ์ ในท​ ฤษฎี​ของเ​ขา ฟิด​เลอร​ ์ไ​ด้​กำหนด​สถานการณ์​ที่​เป็นใจใ​ห้​ผู้นำ​สามารถ​ควบคุม​
ผู้อ​ ื่นอ​ อกเ​ป็นร​ ะดับต​ ่างๆ (degrees of favorableness of situation to a leader) ตั้งแต่ส​ ถานการณ์ท​ ี่เ​ป็นใจก​ ับผ​ ู้นำ​
มาก​ที่สุด​ไปจ​ นถึงส​ ถานการณ์ท​ ี่เ​ป็นใจ​กับผ​ ู้นำน​ ้อย​ที่สุด ดังแสดงไว้ในภาพ​ที่ 5.6

       สถานการณ์​ที่เ​ป็นใจ						 สถานการณ์​ที่​เป็นใจ
       กับ​ผู้นำม​ าก​ที่สุด							 กับผ​ ู้นำ​น้อย​ที่สุด

                       ภาพ​ที่ 5.6 ​ระดบั ​สถานการณ​ท์ เี่​ป็นใจ​ให​ผ้ ้นู ำ​สามารถค​ วบคุม​ผอ้​ู น่ื

            สถานการณท​์ เ​่ี ปน็ ใจก​ บั ผ​ นู้ ำม​ ากท​ ส่ี ดุ หมายถ​ ึง สถานการณท์​ ีเ่​อื้ออ​ ำนวยใ​หผ้​ ู้นำส​ ามารถค​ วบคุมผ​ ูอ้​ ื่นไ​ด​้
มาก​ที่สุด ซึ่ง​หมายความ​ว่าผ​ ู้นำส​ ามารถ​กำหนด​ภาระง​ าน ควบคุม​ผลง​ าน และต​ ัดสิน​ใจแ​ ทน​สมาชิก​ในห​ น่วยง​ าน​มาก​
ที่สุด สถานการณ์​ที่​ไม่​เป็นใจ​ให้​กับ​ผู้นำ​หมาย​ถึง​สถานการณ์​ที่​ผู้นำ​ไม่​สามารถ​ควบคุม​ผล​งาน​และ​ตัดสิน​ใจ​แทน​กลุ่ม​
ได้ สถานการณ์จ​ ะ​เป็นใจห​ รือไ​ม่​เป็นใจ​กับ​ผู้นำข​ ึ้นอ​ ยู่​กับ​ปัจจัย​สถานการณ์ 3 อย่าง คือ

         16 ใน​แบบสอบถาม​นี้​ต้องการ​ให้​ผู้​ตอบ​คิดถึง​บุคคล​ซึ่ง​เขา​อยาก​ทำงาน​ด้วย​น้อย​ที่สุด แล้ว​ทำการ​ประเมิน​บุคคล​นั้น​ใน​แง่​มุม​ต่างๆ 16
เรื่อง​ด้วยก​ ัน ผู้ส​ นใจร​ ายล​ ะเอียด​ของแ​ บบสอบถามน​ ี้ส​ ามารถศ​ ึกษาค​ ้นคว้า​เพิ่มเ​ติมไ​ด้จ​ าก E. Fiedler Martin M. Chemers and Linda Mahar.
Improving Leadership Effectiveness: The Leader Match Concept. New York: John Wiley, 1976, pp. 7-10.

         17 ความ​มุ่ง​หมาย​ของ​แอล​พีซี​ใน​ทฤษฎี​ของ​ฟิด​เลอ​ร์​นั้น​เป็น​เรื่อง​ที่​ถก​เถียง​กัน​มา​ตลอด​เวลา​ตั้งแต่​ทฤษฎี​เกิด​ใน​ปี ค.ศ. 1967 จนถึง​
ปัจจุบัน​ว่า​มุ่ง​วัด​บุคลิก พฤติกรรม หรือ​วัด​อะไร​กัน​แน่ แม้แต่​ตัว​ฟิด​เลอ​ร์​เอง​ก็​ยัง​ให้​ความ​หมาย​แอล​พีซี​ไว้​แตก​ต่าง​กัน​ตาม​ช่วง​ระยะ​เวลา​ที่​ศึกษา​
ค้นคว้า อย่างไร​ก็ตาม ​นัก​วิชาการ​ส่วน​ใหญ่​เห็น​ว่า​แอล​พีซี​ของ​ฟิด​เลอ​ร์​นั้น​มุ่ง​วัด​บุคลิก​ของ​บุคคล ​โปรด​ดู Arthur G. Jago. “Leadership:
Perspective in Theory and Research.” pp. 322-323, Frank E. Saal & Patrick A. Knight. Industrial/Organizational Psychology:
Science & Practice. pp. 356-359; Peter B. Smith & Mark F. Peterson. Leadership, Organizations and Culture. London: SAGE
Publications, 1988, pp. 17-19.

                              ลิขสิทธข์ิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204