Page 44 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 44
2-42 องค์การและการจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์
เรือ่ งท ี่ 2.3.3
แนวคิดเชงิ ระบบ
แนวคิดเชิงร ะบบน ั้น แมเ้ พิง่ จ ะไดร้ บั ค วามน ิยมน ำม าใชใ้นก ารจ ัดการอ งค์การในร าวป ระมาณท ศวรรษท ี่ 1960
เป็นต้นม า แตค่ วามจ ริงแ นวคิดน ีเ้กิดข ึน้ ม าน านแ ล้วในส าขาท างว ิทยาศาสตร์ชีวภาพแ ละก ายภาพ ผูท้ ีไ่ดร้ บั ก ารย อมรับ
ว่าเป็นผ ู้บุกเบิกค นสำคัญของแ นวคิดเชิงร ะบบ คือ ลูดวิค โฟน เบอร์ท าล ันฟ 4ี 7 (Ludwig Von Bertalanffy) ซึ่งใน
ผลง านเขียนข องเขาได้แ สดงค วามค ิดเห็นว ่า วิธีก ารเชิงว ิทยาศาสตร์ข องย ุคค ลาสส ิกไม่เพียงพ อที่จ ะน ำม าใช้แ ก้ป ัญหา
เชิงท ฤษฎีของศาสตร์ต ่างๆ ได้ และได้เสนอให้ม ีก ารย อมรับก ารแ ก้ปัญหาโดยมองปัญหาในลักษณะเชิงภ าพร วมห รือ
องคร์ วม (wholeness) หลังจ ากน ั้นไดม้ นี ักว ิชาการแ ละน ักท ฤษฎจี ำนวนม าก ไดน้ ำแ นวคิดเชิงร ะบบน ีม้ าใชใ้นด ้านก าร
จัดการองค์การ ในบรรดาผู้ท ี่มีชื่อเสียงในการเสนอแนวคิดเชิงระบบ เช่น เคนเน็ต โลบ์ดิง (Kenneth Boulding)48
จอห์นส ัน แคสท์ และโรเซนวิก (Johnson, Kast and Rosenzweig)49 และเชอร์ชแมน (C. West Churchman)50
ซึ่งผลงานเขียนของท่านเหล่านี้เป็นการขยายขอบเขตการยอมรับของแนวความคิดเชิงระบบในการจัดการองค์การให้
เป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางขึ้น อย่างไรก็ดีในที่นี้จะได้นำแนวคิดอันเป็นแก่นของแนวคิดเชิงระบบซึ่งได้ประมวลจาก
ผลงานของนักทฤษฎีเหล่านี้มาเสนอในลักษณะรวมๆ เท่านั้น โดยจะไม่แยกกล่าวในผลงานอันเป็นรายละเอียดของ
แต่ละคน
แก่นความคิดของแนวคิดเชิงระบบคือ การมองสิ่งหนึ่งสิ่งใดในลักษณะซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ซึ่งมี
ความสัมพันธ์ต่อกันและไม่เป็นอิสระจากกัน และนั้นการวิเคราะห์ส่วนต่างๆ ในลักษณะองค์รวมไม่แยกจากกัน ซึ่ง
จะเป็นผลทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมของสิ่งนั้นได้ดีกว่าการวิเคราะห์โดยแยกส่วนต่างๆ จากกันแล้วค่อยนำมา
รวมกันทีหลัง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในลักษณะองค์รวมจะให้ผลที่
มากกว่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาของสิ่งนั้นโดยแยกส่วน (The whole is greater than the sum of its
parts) ลักษณะของแนวคิดเชิงระบบอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การมองระบบว่ามีขอบเขตและมีสภาวะแวดล้อม
คือ ระบบท ี่เป็นระบบเปิดจะมีป ฏิสัมพันธ์กับส ิ่งแ วดล้อม แต่ระบบป ิดนั้นจ ะไม่เปิดร ับสิ่งใดๆ นำเข้าม าในระบบ จาก
แนวคิดเชิงระบบข้างต้นพ อจ ะกล่าวในเชิงระบบเกี่ยวกับองค์การได้ว ่า องค์การคือระบบซึ่งประกอบไปด ้วยส่วนต่างๆ
หรือระบบย่อยต่างๆ (subsystems) เช่น หน่วยงานการผลิต หน่วยงานการตลาด หน่วยงานการบัญชี เป็นต้น ใน
ขณะเดียวกันก อ็ าจจ ะก ล่าวไดด้ ้วยว ่าอ งค์การเองเป็นร ะบบย ่อยในร ะบบท ีใ่หญก่ ว่า (supersystem) เช่น มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรร มาธิราช เป็นระบบย ่อยของร ะบบที่ใหญ่กว่า คือ กระทรวงศ ึกษาธิการ และกระทรวงศ ึกษาธิการเป็นระบบ
ย่อยของระบบที่ใหญ่กว่า คือ สังคม ดังนั้น การดำเนินการใดๆ ตามแนวคิดเชิงระบบนี้ก็จำเป็นจะต้องพิจารณา
ส่วนต่างๆ อันเป็นสภาวะแวดล้อมขององค์การทั้งภายนอกและภายในมิใช่จะพิจารณาแต่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งใน
ระบบขององค์การ หรือพิจารณาแต่เฉพาะระบบองค์การโดยไม่พิจารณาสภาวะแวดล้อมภายนอกขององค์การด้วย
เพราะส ิ่งของต ่างๆ ถ้าจ ะพ ิจารณาแ ล้วม ีค วามเกี่ยวเนื่องก ันเป็นร ะบบในร ่างกายม นุษย์ก ็ป ระกอบไปด ้วยร ะบบอ วัยวะ
ต่างๆ อันเป็นระบบย่อยของมนุษย์ซึ่งเป็นระบบใหญ่ ขณะเดียวกันมนุษย์เองก็เป็นระบบย่อยขององค์การ องค์การ
เป็นระบบย่อยของสังคม สังคมเป็นระบบย่อยของระบบประเทศ ประเทศเป็นระบบย่อยของโลก และโลกเป็นระบบ
ย่อยของสุริยจักรวาล เช่นนี้ไปเรื่อยๆ การกระทำใดต่อส่วนหนึ่งจะมีผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของระบบด้วย เช่น ถ้า
ระบบห ัวใจในร่างกายมนุษย์ล ้มเหลวระบบอวัยวะอื่นๆ ก็จะไม่ส ามารถทำห น้าที่อยู่ได้ ดังนั้น การมองส ิ่งหนึ่งสิ่งใดจึง
ไม่อ าจแยกมองเฉพาะส่วนได้
ลขิ สิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช