Page 158 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 158

10-28 อาหารและโภชนบำ�บัด
  แนวตอบกิจกรรม 10.3.1
         1. 	 โซเดยี มคลอไรด์
         2. 	 โซเดียมมอนอกลูตาเมต คอื ผงชรู ส
         3. 	 โซเดยี มไบคารบ์ อเนต
         4. 	 โซเดยี มเบนโซเอตหรอื ยากนั บดู
         5. 	 ต้องจำ�กัดสารทุกชนิดท่เี ปน็ สารประกอบของโซเดยี ม มใิ ช่เกลือปรงุ รสอาหารอย่างเดยี ว

เร่ืองท่ี 10.3.2
การปฏบิ ตั ติ นเพอ่ื รักษาและป้องกนั โรคความดนั โลหิตสูง

       การรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้นแพทย์มักจะใช้วิธีการหลายๆ วิธีประกอบกัน เช่น การควบคุมนํ้าหนักตัว
การพักผ่อนอย่างพอเพียง การป้องกันและผ่อนคลายความเครียด การออกกำ�ลังกายอย่างเหมาะสมและสมํ่าเสมอ	
การงดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การงดหรือลดการสูบบุหรี่ให้น้อยลง และการใช้อาหารบำ�บัดทั้งนี้อาจร่วมไป
กับการใช้ยาหรือไม่ใช้ยาลดแล้วแต่กรณี

       วิธีปฏิบตั ิตนเพ่อื รกั ษาและปอ้ งกันโรคความดันโลหติ สงู ทำ�ได้ดังนี้
       1. 	 ควบคุมน้ําหนักตัวให้เป็นปกติ ถ้านํ้าหนักตัวเกิน ควรลดนํ้าหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีประเมิน
นํ้าหนักตัวว่า อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ปกติ ให้คำ�นวณจากดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index หรือ
B.M.I) ซึ่งเท่ากับ

ดัชนีความหนาของร่างกาย  (B.M.I)  =    นํ้าหนักตัว (เป็นกิโลกรัม)
                                       (ส่วนสูงคิดเป็นเมตร)2

       ถ้า B.M.I มีค่าอยู่ในช่วง 20-24.99 ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้ามีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป ถือว่า นํ้าหนักตัวเกิน
(Over weight) ถ้ามีค่าน้อยกว่า 20 ลงมา ถือว่า นํ้าหนักตัวน้อยไป (Under weight)

       วิธีลดนํ้าหนักตัว อาจกระทำ�ได้ด้วยวิธีควบคุมอาหารคือ กินอาหารที่ให้พลังงานน้อยลง ประกอบกับใช้
พลังงาน (เช่น ทำ�งาน ออกกำ�ลังกาย เล่นกีฬา) ให้มากขึ้น วิธีลดนํ้าหนักตัวควรกระทำ�อย่างถูกหลักเกณฑ์โดยปรึกษา
แพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการออกก�ำ ลังกายและการเล่นกีฬาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรกระทำ�ด้วยความ
ระมดั ระวงั ส�ำ หรบั เรือ่ งอาหารนัน้ ขอ้ จ�ำ กดั ตา่ งๆ ในเรือ่ งการจดั อาหารใหผ้ ูป้ ว่ ยโรคความดนั โลหติ สงู จะไมเ่ ปน็ อปุ สรรค
ในการจัดอาหารให้มีความพอเพียงและสมส่วนในด้านโภชนาการแต่อย่างใดเลย ฉะนั้น อาหารที่จัดหากมิได้จำ�กัด
พลงั งานจงึ ควรมคี ณุ คา่ ครบถว้ น นอกเสยี จากจะมกี ารจ�ำ กดั พลงั งานในอาหารใหต้ ํา่ ลงมาก (เพือ่ ตอ้ งการลดนํา้ หนกั ตวั )

       2. 	 ออกกำ�ลงั กายด้วยวธิ กี ารทีเ่ หมาะสม พอเพียงและสมํ่าเสมอ (ตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ผู้รักษา)
       3. 	 พกั ผ่อน​ใหพ้ อเพียงในแต่ละวัน เช่น นอนหลับ และหย่อนใจด้วยนันทนาการต่างๆ

ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163