Page 162 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 162
10-32 อาหารและโภชนบำ�บัด
2.2.4 การลดปรมิ าณและเปลยี่ นแปลงชนดิ ของไขมนั ในอาหาร เชน่ ลดปรมิ าณไขมนั ทัง้ หมดลงใหเ้ หลอื
เพียงร้อยละ 25-30 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากอาหาร จะช่วยให้ทั้งการใช้ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมากแทนไขมันชนิด
อิ่มตัวนั้น อาจช่วยลดความดันโลหิตของผู้ป่วยบางรายได้แม้ยังไม่มีผลสรุปที่ยืนยันได้ว่า การเปลี่ยนแปลงไขมันใน
อาหารจะช่วยในการรักษาความดันโลหิตสูงได้ผลอย่างแน่นอนก็น่าน�ำ มาปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูง
เพิม่ ขึน้ มาอกี โรคหนึง่ ยาลดความดนั โลหติ หลายชนดิ กม็ ผี ลขา้ งเคยี ง ท�ำ ใหร้ ะดบั ของโคเลสเตอรอลและไตรกลเี ซอไรด์
ในเลือดสูง การจำ�กัดและดัดแปลงชนิดของไขมันในอาหารก็นับว่ามีประโยชน์และเป็นข้อปฏิบัติที่จำ�เป็นทีเดียว
การควบคุมไขมันในอาหารทำ�ได้โดยลดปริมาณไขมันในอาหารลดปริมาณไขมันในอาหารลง จำ�กัด
ปริมาณทั้งไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล รวมทั้งเพิ่มปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่จำ�เป็น (essential fatty
acids) ด้วย และเมื่อใช้อาหารดัดแปลงงไขมันดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่า ไขมันในเลือดก็ยังสูงมากอยู่ แพทย์อาจต้อง
พิจารณาเปลี่ยนยาที่ใช้ลดความดันโลหิต
2.2.5 การจ�ำ กดั คารโ์ บไฮเดรต ซงึ่ เปน็ แหลง่ พลงั งานทสี่ ำ�คญั ทีส่ ดุ ของรา่ งกาย คนสว่ นใหญไ่ ดร้ บั พลงั งาน
จากคาร์โบไฮเดรตมากกว่าร้อยละ 50 ของพลังงานที่ได้รับในวันหนึ่ง การจำ�กัดคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดในอาหาร ควร
จะทำ�เมื่อต้องการให้ผู้ป่วยลดนํ้าหนักตัวเป็นผลดีทางอ้อมต่อการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับควรเป็นพวกแป้ง ซึ่งได้จากข้าวที่ไม่ขัดสีจนขาว ข้าวโพด พืชหัว เช่น เผือก
มัน คาร์โบไฮเดรตที่ควรจำ�กัด คือ พวกนํ้าตาลโดยเฉพาะนํ้าตาลทรายขาว เพื่อป้องกันและรักษา โรคไขมันชนิด
ไตรกลีเซอไรด์สูง (ทั้งที่เป็นมาแต่เดิม หรือที่เกิดขึ้นเพราะฤทธิ์ของยาที่ใช้ลดความดันก็ตาม) อันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ
โรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน
2.2.6 คาเฟอนี การไดร้ บั คาเฟอนี เชน่ จากกาแฟแกๆ่ มากจะท�ำ ใหค้ วามดนั โลหติ สงู ขึน้ 5-15 มลิ ลเิ มตร
ปรอทภายในเวลา 15 นาที และมักจะมีผลอยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ยังไม่พบว่า จะทำ�ให้มีผลดังกล่าวเป็นระยะเวลา
นาน เพราะร่างกายสามารถปรับตัวให้มีความ “ทนทาน” ต่อฤทธิ์คาเฟอีนได้ ถึงกระนั้นก็ควรแนะนำ�ผู้ป่วยมิให้ได้รับ
คาเฟอีนมากเกินไป โดยงดเว้นการกินกาแฟแก่ๆ และไม่ควรดื่มกาแฟเกิน 3-5 ถ้วยต่อวัน ทั้งควรงดหรือลดเครื่อง
ดื่มประเภทโคลา่ รวมทั้งเครือ่ งดื่มชนิดอื่นๆ ที่มคี าเฟอนี และนํ้าชาทีช่ งแก่ๆ ด้วย ทั้งนีเ้ พราะในนํา้ ชาดังกล่าวมีคาเฟอีน
อยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของกาแฟ ส่วนเครื่องดื่มประเภทโคล่า (1 ขวด 12 ออนซ์) มีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 2 ใน 3 ของที่
มีในกาแฟ 1 ถ้วย (ที่นิยมดื่ม คือ 5 ออนซ์) และส่วนเครื่องดื่มประเภทที่มีคาเฟอีนกับนํ้าตาลเป็นส่วนประกอบสำ�คัญ
นั้นมีคาเฟอีนมากพอๆ กับที่มีในกาแฟทีเดียว
2.2.7 การเพ่ิมใยอาหาร แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าจะมีผลในการลดความดันโลหิต แต่อย่าง
น้อยก็มีผลดีแน่ต่อสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย กล่าวคือ ช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้สะดวก ช่วยมิให้ท้องผูก (ผู้ป่วยจึง
ไม่ต้อง “เบ่ง” เวลาขับถ่าย) อีกทั้งยังพบว่า ใยอาหารบางชนิดช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วย จึงน่าจะได้ปฏิบัติ
ไปพร้อมๆ กับข้อปฏิบัติอื่นๆ
กิจกรรม 10.4.1
ข้อใดเปน็ ขอ้ ท่มี ีความหมายถูกตอ้ ง
1. ถ้าอาหารของผปู้ ว่ ยมีโพแทสเซยี มนอ้ ยกวา่ โซเดียม จะชว่ ยใหค้ วามดนั โลหติ ลดลงได้
2. การดมื่ นมสดทุกวนั จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้
3. การใช้นา้ํ มันพืชประกอบอาหารแทนไขมันสัตว์ช่วยลดความดนั โลหิตลงได้
ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช