Page 164 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 164
10-34 อาหารและโภชนบำ�บัด
3. ค�ำ สั่งจำ�กัดโซเดียม
หากความดนั โลหติ สงู เปน็ อยา่ งรนุ แรงและขนึ้ ๆ ลงๆ อาจมคี �ำ สงั่ เปลยี่ นระดบั ของการจ�ำ กดั ตามความเหมาะสม
จะขอกล่าวถึงรายละเอียดวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
3.1 คำ�สั่งจำ�กัดโซเดียมอย่างไม่เคร่งครัด “อย่ากินเค็มจัด” สำ�หรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างอ่อนๆ
มักจะจำ�กัดระดับนี้ ไม่นิยมการจำ�กัดโซเดียมอย่างเข้มงวด เพราะยากที่จะปฏิบัติแพทย์จึงมักจะสั่งจำ�กัดโซเดียมให้
ตํ่ากว่าระดับที่คนปกติได้รับเพียงเล็กน้อย (พร้อมกับสั่งยาประเภทขับปัสสาวะช่วยขับโซเดียมส่วนเกินออกมาทาง
ปัสสาวะ) ด้วยคำ�สั่งเพียงว่า “อย่ากินเค็มจัด ปรุงอาหารให้อ่อนเค็ม” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอันแท้จริงที่จะให้ผู้ป่วยปฏิบัติ
ดังนี้คือ
3.1.1 ปรงุ รสอาหารดว้ ยเครื่องปรงุ ทมี่ ีเกลือให้รสเค็มอ่อนๆ เทา่ นัน้ และเมื่อพบว่า อาหารที่ปรุงสำ�เร็จ
แลว้ มานัน้ ออ่ นเคม็ กไ็ มเ่ ตมิ เกลอื หรอื เครือ่ งปรงุ รสทีม่ เี กลอื เชน่ นํา้ ปลา ซอสถัว่ เหลอื ง ซอสหอยนางรม ฯลฯ คอื ควร
ปรับปรุงนิสัยการกินอาหารให้เป็นคน “คอจืด” ควรใช้เครื่องปรุงรสที่ไม่มีเกลือ เช่น เครื่องปรุงที่ให้รสเปรี้ยว หวาน
เผ็ด ปรุงรสอาหารเพื่อช่วยให้อาหารอ่อนเค็มนั้นชวนกิน
เมื่อพบว่าอาหารที่ปรุงสำ�เร็จมาแล้วมีรสเค็มจัดต้องไม่กิน ตัวอย่างเช่น พบว่าก๋วยเตี๋ยวที่ปรุงมาให้มี
รสเค็มจัด เช่น ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยวนํ้าควรรินนํ้าในชามนั้นทิ้งไปทั้งหมด หรือรินออกครึ่งหรือค่อนส่วน แล้วเติมนํ้าซุบที่
ยังมิได้ปรุงหรือนํ้าเปล่าร้อนๆ ลงไป ชิมดูให้อ่อนเค็ม
ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยวแห้ง เอานํ้าซุปเติมลงในชามแล้วรินทิ้งไปและปรุงรสใหม่ให้อ่อนเค็ม มิใช่เอานํ้าซุป
เติมลง (รสเค็มย่อมจะจางลง) กลายเป็นก๋วยเตี๋ยวนํ้าแล้วกินนํ้าซุปนั้นจนหมด หากทำ�เช่นนั้นก็ได้กินเกลือมากเท่าที่
มีอยู่เดิมนั่นเอง
3.1.2 งดอาหารท่ีใสเ่ กลอื มาก เช่น ปลาเค็ม กะปิ ไตปลา เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ฯลฯ
3.1.3 งดใช้และหลกี เลยี่ งอาหารท่ีใส่ผงชูรส
3.1.4 กินอาหารหลัก เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว ผัก ผลไม้ และไขมันที่มิได้ดองเกลือให้พอเพียง แก่ความ
ต้องการของร่างกายของคนปกติ
การจำ�กัดระดับนี้ไม่ถึงกับต้องชั่ง ตวงอาหารที่กิน และไม่ต้องตวงเกลือหรือนํ้าปลาที่ใช้ปรุงรส
สำ�หรับผู้ป่วยโรคอื่นๆ เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ฯลฯ ถ้าต้องการจำ�กัดเพียงเล็กน้อย เช่นเดียว
กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แพทย์อาจใช้คำ�สั่งเช่นเดียวกันคือ “อย่ากินเค็ม” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอันแท้จริงที่จะให้ผู้
ป่วยปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติที่กล่าวมาข้างต้น
3.2 คำ�สงั่ จำ�กดั โซเดยี มอยา่ งเครง่ ครดั เมือ่ ตอ้ งการควบคมุ ปรมิ าณโซเดยี มทีผ่ ูป้ ว่ ยไดร้ บั อยา่ งเครง่ ครดั กลา่ ว
คือ ตอ้ งการให้ผู้ป่วยไดร้ ับโซเดยี มในปรมิ าณที่กำ�หนดไวอ้ ยา่ งไม่คลาดเคลื่อน ดงั เชน่ ในกรณผี ูป้ ว่ ยไตวายเรื้อรงั หรอื
ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง แพทย์จะต้องกำ�หนดปริมาณโซเดียมเป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq) หรือมิลลิกรัม เช่น
วันละ 65 มิลลิอิควิวาเลนต์ หรือ 1,500 มิลลิกรัม
ถ้าสั่งเพียงว่า “อาหารมีโซเดยี มต่าํ ” นักกำ�หนดอาหารจะไม่รู้ว่าควรจัดอาหารมีโซเดียมตํ่าสักแค่ไหน
เนื่องจากปริมาณโซเดียมที่คนปกติควรได้รับคือ ประมาณ 1-3 กรัมต่อวัน เมื่อจำ�กัดระดับตํ่ากว่า 1 กรัม ต่อ
วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับตํ่ามากคือ 250 มิลลิกรัม (11-22 mEq) ต่อวันดังเช่น ในโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ย่อมเสี่ยงต่อการขาดโซเดียมควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ลขิ สทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช