Page 159 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 159
อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-29
4. ป้องกันและขจดั ความเครยี ด
5. งดหรอื ลดการสูบบหุ รใ่ี ห้นอ้ ยลง
6. งดหรอื ลดเคร่ืองดืม่ ท่ีมคี าเฟอีนมาก เช่น กาแฟ และชาที่ชงแก่ๆ ให้น้อยลง (ดื่มกาแฟวันละไม่เกิน 3-4
ถ้วยแก้ว) เครื่องดื่มประเภทโคล่า (มีคาเฟอีน) เครื่องดื่มบรรจุขวดปิดสนิทประเภทที่มีคาเฟอีน นํ้าตาล และอื่นๆ
(ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อว่า “ชูกำ�ลัง”)
7. ลดหรอื งดเคร่อื งดมื่ ท่มี ีแอลกอฮอลท์ ุกชนิด เช่น เบียร์และเหล้าชนิดต่างๆ
8. ยา ถ้าแพทย์สั่งยาเพื่อการรักษาโรคดังกล่าว ควรกินตามแพทย์สั่งอย่างสมํ่าเสมอ และไม่กินยาที่แพทย์
มิได้สั่ง
9. ปฏบิ ตั ติ นเรอื่ งอาหารตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ หรอื นักกำ�หนดอาหารอยา่ งถกู ตอ้ งโดยสมํ่าเสมอ อาทิเชน่
- กินอาหารจำ�กัดโซเดียมตามระดับที่แพทย์แนะนำ�
- กินอาหารจำ�พวกผักและผลไม้สด (มิได้หมักดอง) ให้มากขึ้น จะได้ผลทั้งทำ�ให้สัดส่วนของ
โพแทสเซียม: โซเดียมในอาหารมีค่าสูงขึ้น ทั้งทำ�ให้ได้รับใยอาหารมากขึ้น
- กินอาหารที่มีเกลือแคลเซียมให้มากพอ เช่น ดื่มนมชนิดขาดไขมัน กินปลาเล็กปลาน้อย กินผักใบ
เขียวให้มาก
- กินอาหารไขมันน้อยลงและดัดแปลงชนิดของไขมันที่กิน เช่น ใช้นํ้ามันพืชคือนํ้ามันถั่วเหลืองใน
การทำ�อาหาร เช่น ทอด ผัด ทำ�นํ้าสลัด ลดปริมาณ กะทินํ้ามันมะพร้าว และไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มี
โคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ตับ ไต หรือกินแต่น้อย
- กินนํ้าตาลให้น้อยลง (หรือไม่กินก็ได้) ด้วยการงดเครื่องดื่มประเภทนํ้าหวาน นํ้าอัดลม ดื่มนมสด
โดยไม่เติมนํ้าตาล งดขนมที่หวานจัด หรือทั้งหวานและมัน เพียงแต่งดหรือลดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ (ที่เติม
นํ้าตาลหรือนมข้นหวาน ก็อาจช่วยลดปริมาณนํ้าตาลที่กินในแต่ละวันได้มากทีเดียว)
กิจกรรม 10.3.2
ทำ�ไมแพทย์จงึ แนะนำ�ผูป้ ว่ ยเปน็ โรคความดนั โลหิตสงู ไมใ่ ห้กนิ อาหารรสเค็มจดั มาก
แนวตอบกจิ กรรม 10.3.2
เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า ระดับความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเกลือโซเดียมท่ี
บริโภค ผู้ป่วยที่เปน็ โรคความดนั โลหติ สูงนัน้ การลดเกลอื ในอาหารทำ�ให้ความดนั โลหติ ลดลงไดด้ ้วย
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช