Page 171 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 171

อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-41

                 ตารางที่ 10.5 รายการเคร่อื งเทศ สมุนไพร และเครอื่ งปรงุ ทีม่ ีโซเดียมน้อย

ใบกระวาน	     	  พริกป่น	 	       	  ใบกระเพรา โหระพา แมงลัก
ลูกกระวาน	    	  ผงกะหรี่*	       	  พริกสด
กานพลู*		     	  ขมิ้น	 	         	  ขิง กระชาย
ลูกผักชี	 	   	  มัสตาร์ด (ผง) 	  	  ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
ลูกยี่หร่า*	  	  หญ้าฝรั่น	       	  นํ้าส้มสายชูแท้
ลูกจันทน์	    	  หอม	 	           	  นํ้ามะนาว
ดอกจันทน์	    	  กระเทียม	        	  นํ้าตาลทรายขาว หรือทรายแดง
อบเชย	 	      	  ผักชีสด*		       	  นํ้าเชื่อม
พริกไทย		     	  สะระแหน่	        	  นํ้าผึ้งแท้	 	

หมายเหต:ุ 	 * เป็นรายการที่มีโพแทสเซียมค่อนข้างมาก (หากใช้เกินครึ่งช้อนชาขึ้นไป) ถ้าผู้ป่วยต้องจำ�กัดโพแทสเซียมด้วย
         ไม่ควรใช้สารปรุงแต่งดังกล่าว

            5.5.3 	รส อาหารคาวของไทยมีได้ถึง 5 รส ต่างจากอาหารต่างประเทศ ซึ่งบางอย่างมีแต่รสเค็มเท่านั้น
พอปรุงรสเค็มไม่ได้ อาหารก็ “หมดรส” ทีเดียว

            อาหารไทยอาจมีรส เค็ม เปรี้ยว หวาน เผ็ด และขม เมื่อปรุงรสเค็มไม่ได้ก็ยังมีโอกาสปรุงได้อีกถึง	
4 รส เวลากำ�หนดอาหารจึงควรเลือกรายการอาหารที่มีหลายรส อย่าเลือกอาหารที่มีแต่รสเค็มรสเดียว

            ตัวอย่างเช่น ระหว่างแกงจืดกับแกงต้มยำ�  เลือกแกงต้มยำ�จะปรุงรสได้ดีกว่าทั้งยังแต่งกลิ่นได้ด้วย
สำ�หรับแกงจืด เมื่อขาดรสเค็มก็จืดสนิททีเดียว ทำ�ให้ไม่ชวนกินเลย แกงต้มยำ�อาจปรุงให้มีรสเปรี้ยว หวาน และเผ็ด
เล็กน้อยทั้งยังแต่งกลิ่นให้หอมด้วยตะไคร้ ใบมะกรูด และใบผักชี

            แกงต้มส้ม ปกติมี 3 รส คือ เค็ม เปรี้ยว และหวาน เมื่อรสเค็มหายไปก็ยังเหลือรสเปรี้ยวและหวาน
ทั้งอาจแต่งกลิ่นด้วยหอมแดง ขิงหั่นฝอยและผักชี ทั้งอาจทำ�ให้เผ็ดเล็กน้อยด้วยพริกชี้ฟ้า

            สารที่ใช้แต่งรสเดียวกัน ก็มีหลายอย่าง ควรเลือกใช้ต่างๆ กันไป เพื่อมิให้เบื่อเช่น รสเปรี้ยว อาจเกิด
จากมะนาว มะขามเปียก มะขามสด ใบมะขามอ่อน และดอกมะขาม ลูกมะดัน และใบมะดัน มะม่วงดิบ มะปรางดิบ
ใบมะม่วง (มีมากที่จังหวัดจันทบุรี) ฯลฯ

            ตัวอย่างเช่น
                - 	 แกงต้มส้ม ใช้นํ้ามะขามเปียก
                - 	 ต้มโคล้งปลาสด ใช้ใบมะขามอ่อนและดอกมะขาม
                - 	 ยำ�ต่างๆ ใช้มะม่วงดิบ หรือมะดันดิบซอย ฯลฯ
                     1) 	รสหวาน อาจใช้นํ้าตาลทรายขาวบ้าง นํ้าตาลหม้อ หรือนํ้าตาลทรายแดงบ้าง เพื่อให้ได้

รสและกลิ่นต่างๆ กันไป (นํ้าตาลทรายแดงมีโซเดียมมากกว่านํ้าตาลทรายขาวเล็กน้อย)
                     2) 	รสเผ็ด อาจใช้พริกสด หรือพริกดอง พริกป่น หรือพริกแห้งทอด หรือพริกแห้งเผา

โขลกกับหอมเผา กระเทียมเผา ใช้แทนนํ้าพริกเผาปรุงรสต้มยำ�ได้ดี
                     3) 	รสขม อาหารรสขมช่วยให้มีความอยากอาหารมากขึ้น กินอาหารอร่อยขึ้น ถ้าผู้กินชอบ

รสขมอยู่แล้ว ก็ควรใช้ผักที่มีรสขมมาประกอบอาหารบ้าง เช่น สะเดา มะระ ใบยอ ลูกมะแว้ง เป็นต้น	

                 ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176