Page 89 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 11
P. 89
การวิเคราะห์แ ละก ารแ ปลผ ลข ้อมูล 11-79
2. การวิเคราะหข์ อ้ มลู
ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำ�คัญและยากที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพ เนื่องจาก
ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความเป็นนามธรรมสูงทำ�ให้ข้อมูลอยู่ในลักษณะข้อความและคำ�บรรยายสภาพการณ์
ต่าง ๆ การว ิเคราะห์ต้องใช้สมองมนุษย์วิเคราะห์ แม้ป ัจจุบันจ ะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำ�หรับการว ิเคราะห์
ข้อมูลล ักษณะเช่นน ี้ แต่ก ็ยังจำ�กัดอยู่ในเรื่องของก ารช ่วยจัดร ะบบข้อมูล ช่วยค้นหาข ้อความห รือค ำ�ที่อยู่ใน
ชุดความห มายเดียวกันต ามท ี่เราส ั่ง ซึ่งเป็นการอ ำ�นวยค วามส ะดวกแ ก่น ักว ิจัย แต่เรื่องข องก ารว ิเคราะห์เพื่อ
เปรียบเทียบ เชื่อมโยง และส รุปผ ลก ารว ิจัย ยังคงเป็นง านของนักวิจัยอยู่
สิ่งห นึ่งที่จ ะทำ�ให้น ักวิจัยส ามารถว ิเคราะห์ข้อมูลได้ด ี คือ ความเป็นค นร อบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ หรือ
ที่เรียกว่าม ีค วามเป็น “สหว ิทยาการ” เนื่องจากงานวิจัยเชิงค ุณภาพไม่ส ามารถจำ�กัดศ าสตร์ที่เข้าม าเกี่ยวข้อง
กับข้อมูลที่เราพบได้ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยเชิงคุณภาพจึงต้องเสาะแสวงหาความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอยู่
ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจและต ีความข้อมูลได้อย่างถ ูกต ้อง
การวิเคราะห์ข้อมูลม ีข ั้นต อนสำ�คัญ ๆ 3 ขั้นต อน คือ การต รวจสอบข้อมูล การทำ�ดัชนีข้อมูล และ
การจัดทำ�ข้อสรุปชั่วคราว ดังร ายล ะเอียดต่อไปน ี้
2.1 การตรวจสอบข้อมูล สิ่งจำ�เป็นอีกประการหนึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การ
ตรวจสอบข้อมูล แต่การตรวจสอบข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพแตกต่างจากการตรวจสอบข้อมูลเพื่อ
การว ิจัยเชิงป ริมาณ เพราะโดยท ั่วไปก ารว ิจัยเชิงป ริมาณเน้นก ารต รวจส อบข ้อมูลก ่อนก ารว ิเคราะห์ว ่าข ้อมูลม ี
ความส มบูรณ์ ถูกต ้อง และเพียงพอห รือไม่ แต่การต รวจสอบข ้อมูลเชิงคุณภาพมีจุดมุ่งห มายเพื่อตรวจสอบ
ความถูกต้องของข้อมูลหรือดูความตรงภายใน (internal validity) เป็นหลักและจะต้องกระทำ�ตลอดเวลา
ของการวิจัย เนื่องจากม ีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นร ายวัน เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบข ้อมูลม ีห ลายว ิธี แต่วิธี
ที่น ิยมมากท ี่สุด คือ การตรวจส อบแบบสามเส้า (triangulation)
2.1.1 การตรวจส อบแบบส ามเส้า เป็นเทคนิคในการผสมผสานวิธีก ารห ลาย ๆ วิธีเพื่อให้ได้
ความจริงจากการศึกษาปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยทั่วไปใช้การตรวจสอบสามเส้า 4 ประเภท
คือ
1) การต รวจส อบด ้วยท ฤษฎีท ี่ต ่างก ัน (triangulation of theories) คือ การใช้ท ฤษฎี
หลายทฤษฎีส ำ�หรับก ารตีความหมายของข้อมูล หรือเป็นกร อบแ นวคิดเบื้องต้นในก ารเก็บร วบรวมข้อมูล
2) การใช้วิธีการร วบรวมข้อมูลห ลายว ิธี (data triangulation) เช่น ใช้ท ั้งก ารส ังเกต
สัมภาษณ์ และใช้เอกสาร ในก ารเก็บรวบรวมข ้อมูลเรื่องใดเรื่องห นึ่ง
3) การใช้ผู้เก็บข้อมูลที่ต่างกัน (Triangulation by investigators) เช่น ใช้ผู้เก็บ
ข้อมูลหลายคนในป รากฏการณ์เดียวกัน หรือใช้ผู้ประเมินหลายคนในข้อมูลช ุดเดียวกัน
4) การใช้วิธีการหลายวิธี (methodological triangulation) เช่น เก็บข้อมูลเรื่อง
เดียวกันจากแ หล่งข ้อมูลห ลายแหล่ง ตัวอย่างเช่น ต้องการทราบเรื่องวิธีก ารจ ัดการเรียนก ารส อนในโรงเรียน
นักวิจัยอาจสัมภาษณ์จ ากทั้งผู้บ ริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เป็นต้น