Page 97 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 11
P. 97
การว ิเคราะห์แ ละก ารแ ปลผลข ้อมูล 11-87
ทจี่ ะท �ำ ใหส้ ามารถป ะต ดิ ป ะต อ่ ข อ้ มลู ไดใ้ นร ะดบั ห นึง่ อยา่ งไรก ต็ ามน กั ว จิ ยั ส ามารถเขยี นข อ้ ส รปุ แ บบค วามเรยี ง
ได้โดยไม่จำ�เป็นต้องรอจนได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ เพราะข้อสรุปดังกล่าวเป็นเพียงข้อสรุปชั่วคราวที่รอการ
ตรวจส อบค วามถ ูกต้องเชื่อถ ือได้จากข้อมูลที่จะได้มาภายหลัง การเขียนข ้อสรุปช ั่วคราวร อไว้ก่อนเป็นสิ่งดี
ที่จะช่วยให้นักว ิจัยมีเรื่องร าวคร่าว ๆ ที่พร้อมจ ะปรับปรุงแก้ไขเมื่อได้ข้อมูลท ี่ค รบถ้วนส มบูรณ์
ตัวอย่างการเขียนข้อส รุปแ บบค วามเรียง
สภาพและปัญหาด้านครู
1) ครูศิลปะมีไม่เพียงพอทำ�ให้ต้องใช้ครูที่จบไม่ตรงเอกมาสอนแทน ปัญหาสำ�คัญอย่างหนึ่ง
ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ คือ การมีครูที่จบวิชาเอกศิลปะไม่เพียงพอ โรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง
มีครูศิลปะเพียงคนเดียวทำ�ให้ต้องสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูศิลปะ
ท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่โรงเรียนมีครูศิลปะไม่เพียงพอมาจากโรงเรียนไม่มีการสอบบรรจุครูในกลุ่ม
สาระการเรยี นรศู้ ลิ ปะมานานเนอื่ งจากผบู้ รหิ ารไมต่ อ้ งการท�ำ ใหค้ รกู ลมุ่ สาระนขี้ าดแคลน โดยโรงเรยี นแกป้ ญั หา
ด้วยการจัดให้ครูที่ไม่ได้จบทางศิลปะมาสอนแทน เช่น จัดให้ครูที่จบเอกประถมมาสอนศิลปะ เป็นต้น ทำ�ให้
ผูเ้ รยี นไมไ่ ดร้ บั ประโยชนอ์ ยา่ งเตม็ ที่ แตม่ บี างโรงเรยี นทีผ่ ูบ้ รหิ ารใหข้ อ้ มลู วา่ เปน็ ผูส้ อนกลุม่ สาระนีเ้ องเนือ่ งจาก
จบมาทางด้านนี้และในโรงเรียนมีครูไม่เพียงพอ
2) ครูศิลปะมีภาระงานมาก ในปัจจุบันหลังจากที่มีการปฏิรูปการศึกษาครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
มีภาระงานมากขึ้น เช่น งานประกันคุณภาพการศึกษา งานแผนตามระบบการจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงาน การพฒั นาหลกั สูตรสถานศึกษา การปอ้ นขอ้ มูลลงในฐานขอ้ มลู เพื่อการบริหาร เป็นต้น งานเหล่านี้เป็น
ภาระงานทโี่ รงเรยี นมอบหมายมาใหค้ รรู บั ผดิ ชอบเพมิ่ ขนึ้ ขณะทงี่ านธรุ การ งานพสั ดุ งานดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น
และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ครูยังต้องรับผิดชอบอยู่เช่นเดิม แต่สำ�หรับครูศิลปะจะมีภาระงานแตกต่างจากครูอื่น ๆ
เพิม่ ขึน้ เชน่ งานจดั ท�ำ ปา้ ยประชาสมั พนั ธท์ กุ งาน ทกุ กจิ กรรมของโรงเรยี น เปน็ ตน้ โดยผูบ้ รหิ ารมกั มอบหมาย
งานพิเศษอื่น ๆ ให้กับครูศิลปะมากกว่าครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นเนื่องจากเป็นความสามารถเฉพาะทาง
ประการหนึง่ และผูบ้ รหิ ารบางทา่ นมองวา่ กลุม่ สาระการเรยี นรูศ้ ลิ ปะไมใ่ ชก่ ลุม่ สาระหลกั จงึ มอบหมายงานอืน่ ๆ
ให้ทำ�ควบคู่กับงานสอน
3) ครูศิลปะมีความชำ�นาญไม่ครอบคลุมแขนงของศิลปะ เนื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ประกอบด้วย 3 แขนง คือ แขนงทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ แต่ครูศิลปะส่วนใหญ่สอนได้เฉพาะวิชาเอก
ที่ตนเรียนมาเท่านั้น โดยครูที่จบเอกดนตรีไม่สามารถสอนทัศนศิลป์ เช่น การวาดภาพได้ ครูที่จบนาฏศิลป์
ก็ไม่สามารถสอนดนตรีได้ เป็นต้น ซึ่งครูศิลปะท่านหนึ่งสะท้อนปัญหานี้ว่า “…ครูไม่จบวิชาศิลปะ นาฏศิลป์
ดนตรีโดยตรง ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้เด็ก เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง บางครั้งครู
รูท้ ฤษฎแี ตป่ ฏบิ ัตไิ มไ่ ด้ ไมส่ ามารถปฏิบตั ใิ หเ้ ดก็ เหน็ ได้ เดก็ กไ็ มม่ คี วามรูอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ เชน่ การสอนดนตรีไทย
ครทู ีไ่ มไ่ ดจ้ บดนตรไี ทยโดยตรง เลน่ เครือ่ งดนตรไี ทยไมไ่ ด้ บางทมี เี ครือ่ งดนตรไี ทย เชน่ ระนาด หรอื ขมิ ตัง้ อยู่
แต่ไม่สามารถสอนให้เด็กรู้ได้ ถึงแม้เชิญครูหรือผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน บางครั้งครูก็ไม่เข้าใจใน
สิ่งที่ครูภูมิปัญญาท่านนั้น ๆ สอน จึงไม่รู้ว่าจะสอนเด็กได้อย่างไร”