Page 87 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 87
การออกแบบการวิจัย 4-77
ตารางที่ 4.8 รปู แบบของการวจิ ยั แบบผสม
ลำ�ดับ ประเภท ค�ำ อธิบาย
QUAL + quan พร้อมกัน
ทำ�การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณพร้อมกัน
QUAL --->quan แบบต่อเนื่องกัน แต่เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ
QUAN + qual พร้อมกัน
ทำ�วิจัยเชิงคุณภาพก่อน
QUAN --->qual แบบต่อเนื่องกัน
ทำ�การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพร้อมกัน
แต่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ
ทำ�วิจัยเชิงปริมาณก่อน
QUAN หมายถึง การวิจัยเชิงปริมาณ qual หมายถึง การวิจัยเชิงคุณภาพ
+ หมายถึง ทำ�พร้อมกัน
---> หมายถึง ทำ�ต่อเนื่องกัน
2.3 ขั้นตอนการบูรณาการข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ การบูรณาการข้อมูลเชิงปริมาณและ
คุณภาพในงานวิจัยแบบผสม หมายถึง การรวมข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน ประเด็นที่สำ�คัญตามมา คือ
คำ�ถามว่ารวมกันในขั้นตอนใดของการทำ�วิจัย Tashakkori and Teddlie (1998) and Green, Caracelli,
and Graham (1989) อธิบายว่าข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณสามารถนำ�มารวมกันในขั้นตอน
ต่างๆ กัน ดังนี้
1) รวมกันในแบบสอบถาม กล่าวคือ มีทั้งคำ�ถามเชิงปริมาณ และคำ�ถามเชิงคุณภาพใน
แบบสอบถามให้ผู้ตอบตอบ
2) รวมกันในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น มีทั้งคำ�ถามปลายเปิด และแบบเลือกตอบใน
แบบสอบถามให้ผู้ตอบ
3) รวมกันในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ
เช่น เพศชาย = 1 หญิง = 0
4) รวมกันในขั้นตอนการแปลผล เช่น การหาข้อสรุปร่วมจากข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูล
เชิงคุณภาพ
3. ค�ำ ถามวจิ ยั แบบผสม
เหตุผลที่นักวิจัยมีความจำ�เป็นต้องตั้งคำ�ถามวิจัยที่เป็นการวิจัยแบบผสม คือ ความซับซ้อนของ
สิ่งที่ต้องการศึกษา ในบางบริบท นักวิจัยมีปัญหาวิจัยที่มีความซับซ้อนมาก ในการที่จะตอบปัญหาวิจัยที่
ซับซ้อน นักวิจัยต้องการใช้วิธีการวิจัยมากกว่า 1 วิธี เพื่อตอบคำ�ถามวิจัย นั่นคือ การวิจัยเชิงปริมาณ หรือ