Page 43 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
P. 43
วิวัฒนาการข องก ารปฐมวัยศึกษา 1-33
เรื่องท่ี 1.2.3 การปฐมวัยศกึ ษาของตา่ งประเทศในป จั จบุ นั
การปฐมวัยศึกษาของต่างประเทศในปัจจุบันที่จะกล่าวถึงในเรื่องนี้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื่องจากเป็นประเทศใหญ่ที่ประกอบด้วย 50 มลรัฐ ประชาชนที่อาศัยอยู่มีความหลากหลายทั้งทางด้าน
ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ทำ�ให้มีรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาหลายคนที่สนใจศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแนวคิดและทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อ
การจ ัดการป ฐมวัยศ ึกษาซ ึ่งห ลายป ระเทศได้น ำ�ไปป ระยุกตใ์ช้ ทำ�ใหก้ ารจ ัดการศ ึกษาป ฐมวัยได้ร ับก ารพ ัฒนา
มาเป็นลำ�ดับ
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสมาคม องค์การ หน่วยงานท ั้งภ าครัฐแ ละเอกชน รวมท ั้งส ถาบันก ารศึกษา
ต่างๆ เข้ามาม ีบ ทบาทเป็นผู้นำ�สำ�คัญท างการปฐมวัยศ ึกษา รวมทั้งม ีก ารรณรงค์เกี่ยวก ับป ระเด็นสำ�คัญต่างๆ
เพื่อยกระดับคุณภาพของการศึกษาปฐมวัย เช่น สมาคมการปฐมวัยศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีชื่อย่อว่า NAEYC
(The National Association for the Education of Young Children) สมาคมการปฐมวัยศึกษาแห่ง
นานาชาติ ซึ่งมีชื่อย่อว่า ACEI (The Association for Childhood Education International) ซึ่งมี
สมาชิกเป็นน ักการศ ึกษาป ฐมวัย และค รูป ฐมวัยอ ยู่ในป ระเทศต ่างๆ ทั่วโลก ได้พ ยายามร ณรงค์เพื่อย กร ะดับ
คุณภาพข องก ารจ ัดการป ฐมวัยศ ึกษาใหผ้ ูเ้กี่ยวข้องท ุกฝ ่ายไดต้ ระหนักถ ึงค วามส ำ�คัญข องเด็กแ ละก ารจ ัดการ
ศึกษาระดับนี้ รวมทั้งมีการพิมพ์หนังสือและบทความต่างๆ เกี่ยวกับการปฐมวัยศึกษาเป็นจำ�นวนมากออก
เผยแพร่ไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น สมาคมการปฐมวัยศึกษาแห่งชาติได้พิมพ์หนังสือแนะนำ�การจัด
โปรแกรมปฐมวัยศ ึกษาที่เหมาะส มก ับระดับพ ัฒนาการเด็กต ั้งแต่แ รกเกิด ถึง 8 ขวบ ชื่อ Developmentally
Appropriate Practice in Early Childhood Programs ออกจำ�หน่ายจนได้รับความสนใจอย่างก ว้างขวาง
และถ ือว่ามีค ุณค่าต่อการจ ัดการปฐมวัยศ ึกษาเป็นอ ย่างมาก
ปัจจุบันมีนักการศึกษาหลายคนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปฐมวัยศึกษาของอเมริกา ได้เสนอแนว
ความคิดและกลายเป็นผู้นำ�ในองค์การ หน่วยงาน สมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปฐมวัยศึกษา
บ้างก็ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เพื่อช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย ตัวอย่าง
บุคคลที่มีแนวคิดเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับโดยมีการนำ�แนวคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดการปฐมวัย
ศึกษาในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย (พัชรี ผลโยธิน ม.ป.ป. อ้างถึงใน สมร ทองดี และสุกัญญา
กาญจนกิจ 2552: 38-40) มีดังนี้
คาม ิ (Kamii) ได้ศ ึกษาเล่าเรียนก ับพ ีอ าเจต์ และน ำ�เอาท ฤษฎีท างส ติป ัญญาข องพ ีอ าเจต์ม าป ระยุกต์
ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะก ารสอนเกี่ยวก ับคณิตศาสตร์ งานที่สำ�คัญของคามิ คือ แนวคิดเรื่อง
การเป็นตัวของตัวเองที่ควรจะถูกนำ�มาใช้เป็นเป้าหมายทางการศึกษา (Brewer, 1992) ดังนั้น คามิจึงมี
ความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ไม่ควรบอกคำ�ตอบที่ถูกต้องให้กับเด็กอยู่เสมอ แต่ควรให้เด็กเข้าใจสิ่งที่กระทำ�ด้วย
ตนเอง